การพัฒนากรอบการประเมินสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้และการรู้วิชา เฉพาะด้านของนักศึกษาครูภาษาอังกฤษ
คำสำคัญ:
การประเมินสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้, การรู้วิชาเฉพาะด้านภาษาอังกฤษ ดัชนีความสอดคล้องของการประเมิน, และการทดลองสอนแบบจุลภาคบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างกรอบการประเมินสมรรถนะ 2) สร้างแบบประเมินสมรรถนะ และ 3) หาดัชนีความสอดคล้องของกรอบการประเมินสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ และศึกษาผลสัมฤทธิ์ด้านการเรียนรู้เฉพาะด้านของนักศึกษาครูภาษาอังกฤษ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาได้มาจากการเลือกสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จำนวน 30 คน จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 61 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ กรอบการประเมินสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ 5 ด้าน และแบบทดสอบวัดการรู้วิชาเฉพาะด้านของนักศึกษาครูภาษาอังกฤษ สถิติที่ใช้ในงานวิจัยได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. กรอบการประเมินสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ มี 5 พฤติกรรมที่บ่งชี้คือ 1) การวางแผนสำหรับการจัดการเรียนรู้ (ก่อนการสอน) 2) การจัดบรรยากาศในการเรียนรู้และการบริหารจัดการห้องเรียน 3) กลยุทธ์กระตุ้นผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ 4) ผลย้อนกลับและการประเมินผลผู้เรียน และ 5) สะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ (หลังการสอน) และกรอบการประเมินสมรรถนะด้านการรู้วิชาเฉพาะด้านภาษาอังกฤษ ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องของผู้ประเมิน 2. แบบประเมินสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้หลังกิจกรรมการทดลองสอนแบบจุลภาค โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องทั้ง 5 ด้าน เรียงลำดับความสอดคล้องสูงสุดถึงต่ำสุดได้แก่ ด้านผลย้อนกลับและการประเมินผลผู้เรียน (RAI = 0.985) การจัดบรรยากาศในการเรียนรู้และการบริหารจัดการห้องเรียน (RAI = 0.970) การวางแผนสำหรับการจัดการเรียนรู้ (หลังการสอน) (RAI = 0.963) กลยุทธ์กระตุ้นผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (RAI = 0.945) และลำดับสุดท้ายด้านการวางแผนสำหรับการจัดการเรียนรู้ (ก่อนการสอน) ให้สอดคล้องกับหลังสอน (RAI = 0.926) และแบบประเมินสมรรถนะด้านการรู้วิชาเฉพาะด้านเป็นแบบทดสอบวัดการรู้วิชาเฉพาะด้านของนักศึกษาครูภาษาอังกฤษ เป็นข้อสอบแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 100 ข้อสอบมีค่าความยาก 0.26-0.78 ค่าอำนาจจำแนก 0.22-0.56 และความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ (Lovett Reliability) 0.814 และ 3. จากการวิเคราะห์ค่าดัชนีความสอดคล้องของผู้ประเมินตามกรอบการประเมินสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ พบว่าคะแนนสอบการรู้วิชาเฉพาะด้านภาษาอังกฤษของผู้เรียนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนตามเกณฑ์ที่กำหนด (ร้อยละ 70) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2556). “การพัฒนาสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21” เอกสารประกอบการอบรมสัมมนาครูและ
บุคลากรทางการศึกษาในสังกัด สพป.แพร่เขต 1-2. ณ โรงแรมนครแพร่ทาวเวอร์ วันที่ 22-23 เมษายน
2556. (โครงการความร่วมมือระหว่างเขตพื้นที่กับมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง)
Baxter, J. A., & Lederman, N. G. 1999. Assessment and measurement of pedagogical
content knowledge. In J.Gess-Newsome & N. G. Lederman (Eds.), “Examining pedagogical
content knowledge” (pp. 147-161). Dordrecht, The Netherlands: Kluwer Academic
Publisher.
Bell, J., Veal, W. R., & Tippins, D. J.1998. “The evolution of pedagogical content
knowledge in prospective secondary physics teachers”. Paper presented at the annual
meeting of the National Association for Research in Science Teaching, San Diego, CA.
Burry-Stock, Judith A. and other. (1996). Ratrt Agreement Indexes for Performance
Assessment. Educational and Psychological Measurement, 56 (2), 251-265.
Eick, C. J. 2000. “Inquiry, nature of science, and evolution: The need for a more
complex pedagogical content knowledge in science teaching”. Electric Journal of Science
Education. 4 (3). Available: http://unr.edu/homepage/ crowther/ejse/eick.html
Halim, L., & Meerah, S. M. 2002. “Science trainee teachers’ pedagogi-cal content
knowledge and its influence on physics teaching”. Research in Science and Technological
Education. 20 (2): 215-225.
Kinach, B. M. 2002. “A cognitive strategy for developing pedagogical content
knowledge in the secondary mathematics”. Teaching and Teacher Education. 18: 51-71.
Lederman, N.G.; & J. Gess-Newsome.(1999). Reconceptualizing secondary science
Teacher education. In J. Gess-Newsome and N.G. Lederman (Eds.), Examining
pedagogical content knowledge: The construct and its implications for science education (pp.199–
213).Dordrecht: Kluwer.
Tuan, H. L. 1996. “Investigating the nature and development of pre-service
chemistry teachers’ content knowledge, pedagogical knowledge and pedagogical con
tent knowledge”. Proceeding of the National Science Council Part D: Mathematics, Sci-
ence and Technology education. 6 (2): 101-112.
Tuan, H. L. & Kaou, R. C. 1997.“Development of a grade eight Taiwanese physical
science teachers’pedagogical content knowledge development”. Proceeding of the Na
tional Science Council Part D: Mathematics, Science and Technology education. 7 (3):
135-154.
Van Driel, J. H., Beijaard, D., & Verloop, N. 2001. “Professional development of
reform in science education: The role of teachers’ practical knowledge”. Journal of Re
search in Science Teaching. 38 (2): 137-158.
Veal, W. R. 1998. “The evolution of pedagogical content knowledge in prospective
secondary chemistry teachers”. Paper presented at the annual meeting of the National
Association for Research in Science Teaching, San Diego, CA.
Zembal-Saul, C. A., Starr, M. L., & Krajcik, J. S. 1999. Constructing a framework for elementary
science teaching using pedagogical content knowledge. In J. Gess-Newsome
& N. G. Lederman (Eds.), “Examin-ing pedagogical content knowledge” (pp. 237-256).
Dordrecht, The Netherlands: Kluwer Academic Publisher.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์ ในการตีพิมพ์บทความ
จะโชว์ตอนที่ ผู้ส่งบทความ ตีพิมพ์ ต้องกด accept