การจัดการความรู้เรื่องกฎหมายยาเสพติดและการถ่ายทอด แบบมีส่วนร่วมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันการเสพยาของกลุ่มเยาวชน ในอำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • จิรเดช ประเสริฐศรี

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสาเหตุหรือเหตุผลต่างๆ ที่ทำให้เด็กและเยาวชนเสพยาเสพติดให้โทษ เพื่อศึกษากระบวนการจัดการความรู้ เรื่อง กฎหมายยาเสพติดให้แก่กลุ่มเยาวชน และเพื่อศึกษาแนวทางในการป้องกันการเสพยาเสพติดของกลุ่มเยาวชนจากการจัดการความรู้ กลุ่มตัวอย่าง มีอยู่ 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 เด็กและเยาวชนอายุระหว่าง 15-20 ปี ที่อาศัยอยู่ในอำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวนทั้งหมด 400 คน โดยการสุ่มแบบง่าย (Simple Sampling) กลุ่มที่ 2 กลุ่มครู จำนวน  20 คน โดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ เป็นแบบสอบถามเชิงสำรวจ แบบสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า สาเหตุหรือเหตุผลต่างๆ ที่ทำให้เด็กและเยาวชนหันไปเสพยาเสพติดให้โทษ ด้านที่จัดอยู่ในระดับ มากที่สุด ได้แก่  พฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดยาเสพติด และอิทธิพลจากสื่อสิ่งพิมพ์ โดยรายละเอียดที่ต้องใส่ใจคือ การคบเพื่อนโดยไม่สนใจว่าเขาจะติดยาหรือไม่ และเว็บไซด์ที่ไม่พึงประสงค์ ส่วนกระบวนการจัดการความรู้ที่มีประสิทธิภาพได้แก่ การจัดกระบวนการการมีส่วนร่วมของเยาวชนในการศึกษากฎหมายแล้วแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ส่วนการป้องกันในการเสพยาเสพติดนั้น ได้แก่ การสร้างความตระหนักและปลูกจิตสำนึกให้เห็นถึงโทษของยาเสพติดและสร้างสโลแกนที่ในระดับวัยรุ่นเพื่อไม่หลงผิด    

References

กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2540). การวิเคราะห์ ผลการสำรวจเพื่อประเมินผล
การดำเนินงานป้องคัน และแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา
สังกัดกรมสามัญศึกษา. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.
ชวลิต กงเพชร. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้สารเสพติดของกลุ่มนักเรียนหญิงในจังหวัด
กาฬสินธุ์. ปริญญาดุษฎีนิพนธ์ สาขาการพัฒนาสุขภาพชุมชน คณะแพทย์ศาสตร์. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
บุญชม ศรีสะอาด. (2542). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาสน.
บุญศรี พรหมมาพันธุ์. (2542). การศึกษาปัญหาสารเสพติดในกลุ่มผู้ใช้แรงงานก่อสร้าง. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เผยแพร่แล้ว

07-06-2018