พฤติกรรมผู้บริโภคที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการที่พักแบบโฮสเทลในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • สุนทรีย์ ศิริจันทร์
  • กมลทิพย์ คำใจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

บทคัดย่อ

การค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อศึกษาลักษณะประชากรศาสตร์ของนักท่องเที่ยวที่ใช้บริการที่พักแบบโฮสเทลในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเลือกใช้บริการที่พักแบบโฮสเทลของนักท่องเที่ยว ในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างลักษณะประชากรศาสตร์ พฤติกรรม กับส่วนประสมการตลาดบริการในการเลือกใช้บริการที่พักแบบโฮสเทลของนักท่องเที่ยว ในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ กลุ่มนักท่องเที่ยวที่เลือกใช้บริการที่พักแบบโฮสเทล ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการศึกษา คือ สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานประกอบด้วยการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่าง 2 กลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน (Independent Samples: t-test) และการทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way ANOVA: F-test)ผลการศึกษาพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีภูมิลำเนาอยู่ในทวีปยุโรป มีสัญชาติฝรั่งเศส อายุระหว่าง 21-30 ปี สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี ส่วนใหญ่เป็น นักศึกษา มีสถานะภาพโสด มีรายได้ต่อเดือน 2,001-3,000ดอลลาร์สหรัฐช่วงเวลาในการท่องเที่ยว คือ  ช่วงฤดูหนาว และช่วงฤดูร้อน ใช้ระยะเวลาในการเข้าพักประมาณ 2 สัปดาห์ มีค่าใช้จ่ายในการเช้าพัก 10 - 12ดอลลาร์สหรัฐส่วนใหญ่ใช้วิธีการเข้ามาจองด้วยตนเองและการจองผ่านเว็บไซต์ มักจะเดินทางมาพักเพียงคนเดียว มีจุดประสงค์ในการเข้าพัก คือ การได้พบปะกับเพื่อนใหม่และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการท่องเที่ยว มีระดับความสำคัญของส่วนประสมการตลาดบริการมากที่สุด คือ ด้านราคา รองลงมาคือ ด้านพนักงานให้บริการและด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพการทดสอบสมมติฐานพบว่า ลักษณะประชากรศาสตร์ด้านเพศ ภูมิลำเนา อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ ที่แตกต่างกันมีการเลือกใช้บริการที่พักแบบโอสเทล แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในส่วนของพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวด้านระยะเวลาในการเข้าพัก และวัตถุประสงค์ในการเข้าพัก ที่แตกต่างกันมีการเลือกใช้บริการที่พักแบบโฮสเทล แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กรมการท่องเที่ยว. (2558). สรุปสถานการณ์พักแรมจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือน ปี 2559. ค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2561 จากhttp://tourism2.tourism.go.th/home/details/11/221/25801.
การะเกด แก้วมรกต. (2554). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการโรงแรม ของนักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดกระบี่. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
กฤษฏากร ชูเลม็ด. (2557). พฤติกรรมการใช้สื่ออินเทอร์เน็ตและความพึงพอใจต่อการใช้สื่ออินเทอร์เน็ตเพื่อการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ในอำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฏร์ธานี. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบันฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
จิตมณี นิธิปรีชา. (2558). โครงการจัดตั้งกรีน แคปซูลโฮสเทล เพื่อรักษาวิถีชุมชน.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ชัยณรงค์ พิพิธวีรนันท์. (2560). ปัจจัยส่วนผสมทางการตลาดและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เลือกใช้บริการที่พักประเภทโฮสเทล ในเขตจังหวัดประจวบคีรีขันธ์.การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.
กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา. (2559).ดันเที่ยวไทย. คมชัดลึกออนไลน์.ค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2561 จากhttp://www.komchadluek.net/news/economic/22747
ประภาพร ยศไกร. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้บริการโรงแรมในเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรีของนักท่องเที่ยวชาวจีน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
วีซ่า(Visa Global Travel Intentions Study). (2558). ผลสำรวจฉบับล่าสุดเกี่ยวกับแผนการท่องเที่ยวระดับโลกของวีซ่าประจำปี 2558. ค้นเมื่อ 8 เมษายน 2561 จากhttps://www.brandbuffet.in.th/2015/07/thai-traveller-spending-2015/
ศูนย์วิจัยกสิกร.(2560). ต่างชาติเที่ยวไทยปี 2560 คาดมีจำนวน 33.50-34.15 ล้านคน ขับเคลื่อนด้วยตลาดใหม่กระจายเม็ดเงินลงสู่ธุรกิจไทยเพิ่มขึ้น. กระแสทรรศน์.
สถิติทางการประเทศไทย. (2559). สถานการณ์ แนวโน้ม และยุทศาสตร์ที่สำคัญของจังหวัดด้านเศรษฐกิจจังหวัดเชียงใหม่. ค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2561 จากhttp://osthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/files/SR1_un1.rar
สุรางคณา แก้วตา. (2557). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกใช้บริการธุรกิจที่พักของนักท่องเที่ยวชาวจีนในจังหวัดภูเก็ต.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
โสภา จำนงรัศมี, ชไท กีรติพงศ์ไพบูลย์, กัลย์ธีรา ชุมปัญญา. (2558). ท่องเที่ยวทั่วไทย สร้างรายได้ทั่วถึง. วารสารเศรษฐกิจและสังคม.52(1): 8-16.
หทัยชนก นิรันดรไชย. (2554).พฤติกรรมการเลือกใช้บริการธุรกิจโรงแรมระดับสามดาวในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ของนักท่องเที่ยวชาวไทย. ปัญหาพิเศษบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
อรุณี ล้อมเศรษฐี. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในการเลือกใช้บริการที่พักในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
อัคร์กฤษฎิ์ เหลือโกศ. (2559). ส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการที่พักแรมขนาดเล็กของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในเขตเมืองเก่าของจังหวัดเชียงใหม่. วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2) : 2
Cochran, W.G. (1963). Sampling Techniques. New York: London
Kotler, Philip. (2003). Marketing Management. Englewood Cliffs: Prentice Hall.

เผยแพร่แล้ว

05-02-2018