การพัฒนาองค์ประกอบและตัวชี้วัดความสุขมวลรวม ของการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน

ผู้แต่ง

  • รุ่งรัตน์ หัตถกรรม
  • ราเมศร์ พรหมชาติ
  • นรินทร์ เจตธำรง
  • วีรากร รัตกูล
  • กนกเกล้า แกล้วกล้า

บทคัดย่อ

การท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นอย่างมากและที่เห็นอย่างชัดเจน ได้แก่ การขยายตัวของ GDP ซึ่งรวมทั้งปี 2559 สาขาโรงแรมและภัตตาคารขยายตัวร้อยละ 10.3 รายรับจากการท่องเที่ยว 2,510.8 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.1 รายรับจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ 1,641.3 พันล้านบาท รายรับจากนักท่องเที่ยวไทย 869.5 พันล้านบาทอัตราเข้าพักเฉลี่ยอยู่ที่ 66.6(สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2560) เกิดการสร้างงานโดยเฉพาะความต้องการของตลาดแรงงานภาคการท่องเที่ยวและงานโรงแรมเป็น 1 ใน 10 อันดับแรกที่เป็นที่ต้องการของแรงงานมากถึง 8.29% (ประชาชาติธุรกิจออนไลน์, 2559) เพิ่มมูลค่าการส่งออกและมูลค่าภาษี รวมทั้งการกระตุ้นการลงทุน การพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ และการใช้จ่ายเงินของภาครัฐ (จิรา, 2557) ทั้งนี้ปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจเดินทางมาเที่ยวยังประเทศไทยของนักท่องเที่ยวเป็นเพราะความสวยงามของแหล่งท่องเที่ยว อาหารไทย ความคุ้มค่าเงิน วัฒนธรรมและศาสนา และความหลากหลายของกิจกรรมต่างๆ กระนั้นก็ตามแม้การทองเที่ยวจะสร้างรายไดและสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่อีกด้านหนึ่งการทองเที่ยวกลับก่อให้เกิดผลกระทบต่อความยั่งยืนของระบบนิเวศ สังคมและวิถีชีวิตของคนในชุมชนด้วย เช่น การที่นักท่องเที่ยวจำนวนมากเข้ามาท่องเที่ยวในพื้นที่มากกว่าที่สิ่งแวดล้อมจะรองรับได้จนเกิดปัญหาขยะ น้ำเสีย จนสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมในที่สุด เกิดปัญหาขัดแย้งกับคนในชุมชน เช่น ปริมาณน้ำไม่พอใช้ ปัญหาบุกรุกที่ดิน วัฒนธรรมในชุมชนเปลี่ยนแปลงไป (สุดถนอม, 2559) ทั้งนี้กระบวนการเคลื่อนไหวของกลุ่มท่องเที่ยวที่ก้าวหน้าเพื่อสร้างอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนในอนาคตนั้น จะให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวที่รับผิดชอบต่อทรัพยากรการท่องเที่ยวเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การท่องเที่ยวที่เป็นธรรม โรงแรมที่มีนโยบายการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม และการท่องเที่ยวโดยชุมชน ซึ่งเป็นกระบวนการทางการท่องเที่ยวที่เป็นรูปแบบของการท่องเที่ยวที่สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวที่มีจำนวนมากขึ้นและมีค่านิยมในการเดินทางท่องเที่ยวที่หลากหลายแตกต่างกันไปตามลักษณะพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวขณะเดียวกันแนวโน้มการท่องเที่ยวในอนาคต ผู้คนมีแนวโน้มที่จะต้องการท่องเที่ยวในแบบใกล้ชิดธรรมชาติและการใช้บริการทางท่องเที่ยวด้านทักษะภูมิปัญญาสูงขึ้น ดังนั้นการท่องเที่ยวโดยชุมชนจึงจะมีบทบาททางการท่องเที่ยวมากขึ้นในอนาคต (ผู้จัดการ Online, 2551) การท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นหนึ่งในกระแสการท่องเที่ยวแบบนิยมท้องถิ่น (Localism) ที่กำลังได้รับความนิยมในหมู่นักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบวิถีชีวิตของคนยุคใหม่ เนื่องด้วยนักท่องเที่ยวได้ตระเวนไปในพื้นที่และฝังตัวอยู่กับคนพื้นถิ่น เรียนรู้วิถีชีวิตและวัฒนธรรมของผู้คน เป็นการเปิดโอกาสให้ได้เห็นลักษณะความเป็นท้องถิ่นของเราเอง (Own Locality) ซึ่งหากมีการเดินทางท่องเที่ยวแบบนี้มากขึ้น จะเป็นการเปิดโอกาสให้เกิดการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงท้องถิ่นได้อย่างสร้างสรรค์ เรียกได้ว่าเป็นการท่องเที่ยวแบบ Staycation ซึ่งเป็น Localism ขั้นสุดที่ไม่ได้เพียงนิยมท้องถิ่นของคนอื่น แต่เป็นการนิยมท้องถิ่นของตนเองผ่านการท่องเที่ยวแบบคนนอกที่เปิดโอกาสให้ได้สำรวจท้องถิ่นที่คุ้นเคยที่สุดแต่อาจรู้จักน้อยที่สุด ซึ่งอาจเป็นเหตุผลที่ทำให้ Staycationกลายเป็นเทรนด์การท่องเที่ยวที่น่าสนใจของปี 2559 (โตมร, 2559)ลักษณะสำคัญของการท่องเที่ยวโดยชุมชนคือ ชุมชนจะต้องเป็นผู้กำหนดทิศทางขึ้นเองบนพื้นฐานที่ทุกคนเป็นเจ้าของทรัพยากรร่วมกัน โดยคำนึงถึงขีดความสามารถในการรองรับของธรรมชาติ ซึ่งฐานทรัพยากรการท่องเที่ยวจะได้แก่ ธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และวิถีชีวิตของชุมชน เป็นต้นทุน และปัจจัยในการดำเนินงานโดยจะต้องมีการพัฒนาศักยภาพของคนในชุมชนให้มีความรู้ความสามารถในการจัดการท่องเที่ยว มีกระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบ รวมทั้งเน้นความยั่งยืน เกิดประโยชน์ต่อท้องถิ่น และฐานทรัพยากรชุมชน (สินธุ์, 2551) เมื่อชุมชนกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวชีวิตของผู้อยู่อาศัยในชุมชนนั้นจะได้รับผลกระทบจากการท่องเที่ยวทั้งทางเศรษฐกิจสังคมวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมการท่องเที่ยวโดยชุมชนจึงถือเป็นการแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืนเนื่องจากการท่องเที่ยวโดยชุมชนเกิดขึ้นมาจากการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนที่มาจากฐานความต้องการของคนในชุมชนอย่างแท้จริงซึ่งทุกคนจะมีความรู้สึกของการเป็นเจ้าของร่วมกัน ร่วมทั้งแรงในกิจกรรม ร่วมทั้งรายได้และผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น และร่วมกันรักษาไว้ซึ่งวิถีวัฒนธรรมดั้งเดิมของชุมชนดังนั้น สิ่งหนึ่งที่บ่งบอกถึงความสำเร็จของการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนในฐานะที่เป็นเครื่องมือการพัฒนาชุมชนให้เกิดความก้าวหน้าและยั่งยืนคือ “ความสุขของคนในชุมชน และคนมาเที่ยว” ซึ่งคนในชุมชนจะต้องร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมตัดสินใจ ร่วมจัดการ ร่วมทุกข์ ร่วมสุข ร่วมรับผิดชอบ ร่วมรับผลประโยชน์ โดยกระบวนการมีส่วนร่วม การที่จะบ่งบอกว่าชุมชนเป็นชุมชนแห่งความสุขหรือไม่นั้น ต้องอาศัยเครื่องมือหรือตัวชี้วัด (Indicators) ที่จะสามารถบ่งบอกได้ว่าพื้นที่นั้นมีความสุขมากน้อยเพียงใด ดังนั้น การมีเครื่องมือที่ชี้วัดโดยเฉพาะของพื้นที่จะสามารถบ่งบอกถึงความสุขของพื้นที่นั้นๆ ได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือวัดผลกระทบที่เกิดขึ้นกับวัฒนธรรมและทรัพยากรธรรมชาติของแหล่งท่องเที่ยวได้อีกด้วย (Blancas, et al., 2011) จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่า การดำเนินการการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนให้เกิดความดุลทั้งในแง่ของคนในชุมชนและนักท่องเที่ยวที่มาเยือนจะต้องคำนึงถึงความสุขของคนในชุมชนประกอบด้วยเพื่อให้เกิดความยั่งยืนของการท่องเที่ยวโดยชุมชน เสริมสร้างความยั่งยืนของคุณภาพและมาตรฐานของการท่องเที่ยวให้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเพื่อลดและป้องกันผลกระทบและวิกฤติที่เกิดจากการท่องเที่ยวโดยชุมชน การมีตัวชี้วัดความสุขของชุมชนและนักท่องเที่ยวของการท่องเที่ยวโดยชุมชน จะเป็นมาตรฐานการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนให้เกิดชุมชนแห่งความสุขอย่างแท้จริงบทความนี้จึงได้ทบทวนความรู้ที่เกี่ยวเนื่องกับองค์ประกอบและตัวชี้วัดความสุขมวลรวมของการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนจากเอกสารทางวิชาการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ทราบองค์ประกอบและตัวชี้วัดความสุขมวลรวมของการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน และสามารถนำมาใช้ประเมินองค์ประกอบและตัวชี้วัดความสุขมวลรวมของการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนได้

References

จิรา บัวทอง. (2557). เศรษฐกิจการท่องเที่ยว (The Visitor Economy) โดย Pacific Asia Travel Association
(PATA). TAT Tourism Journal จุลสารวิชาการการท่องเที่ยว 3(3) : 26-39.
โตมร ศุขปรีชา. (2559). Localism & Staycation ที่สุดของการเที่ยว. TAT Tourism Journal จุลสารวิชาการ
การท่องเที่ยว 2(3) : 21-27.
บุญพา คําวิเศษณ์. (2554). รายงานการวิจัยเรื่องข้อมูลพื้นฐานที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
แบบมีส่วนร่วม: กรณีศึกษาชุมชนหมู่บ้านวัดเขาตําบลโคกกลอย อําเภอตะกั่วท่ง จังหวัดพังงา. วิทยาลัย
ราชพฤกษ์.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. 2559. “ทิศทางตลาดแรงงานปี′59" บัญชี-ไอที-วิศวะ-งานขาย" อาชีพดาวรุ่ง. (ระบบ
ออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1456990018
(2 มีนาคม 2560).

ประเวศวะสี. (2555). การท่องเที่ยวโดยชุมชนจุดคานงัดการพัฒนาทุกด้าน. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล:
dasta_knowledge2.doc.pdf (4 มีนาคม 2560).
ผู้จัดการ Online. (2551). เชียงใหม่จัดอบรมท้องถิ่นเพิ่มประสิทธิภาพท่องเที่ยวชุมชน. (ระบบออนไลน์).
แหล่งข้อมูล: http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9510000096070
(2 มีนาคม 2560).
พจนา สวนศรี. (2546). คู่มือการจัดการท่องเที่ยวในชุมชน. กรุงเทพฯ: โครงการท่องเที่ยวเพื่อชีวิตและธรรมชาติ.
พิมพ์ลภัส พงศกรรังศิลป์. (2557). การจัดการการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษา บ้านโคกไคร จังหวัดพังงา.
วารสารวิชาการ Veridian E-Journal7 (3) เดือนกันยายน – ธันวาคม 2557 ฉบับมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ.
วรรณวิมล ภู่นาค. (2558). ศักยภาพชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน: กรณีศึกษาตลาดนํ้าอัมพวา. Academic
Services Journal Prince of Songkla University. 26 (1): 63-74.
วีรพล ทองมา. (2547). การท่องเที่ยวโดยชุมชน (Community Based Tourism:CBT) สำหรับการพัฒนาคุณภาพ ชีวิตของ
ชุมชนในเขตที่ดินป่าไม้. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: www.dnp.go.th/fca16/file/i49xy4ghqzsh3j1.doc
(2 มีนาคม 2560).
สินธุ์ สโรบล. (2546). การท่องเที่ยวโดยชุมชน แนวคิดประสบการณ์จากภาคเหนือ. กรุงเทพฯ : โครงการประสาน
งานวิจัยและพัฒนาเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำนักงาน
ภาค.
. . (2557). การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล:
http://www.trf.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=957:2012-07-01-03-23-01&catid=35:research-forum&Itemid=146 (4 พฤษภาคม2560).
สุดถนอม ตันเจริญ. (2559). การทองเที่ยวโดยชุมชนเพื่อชุมชนและท้องถิ่น. การประชุมวิชาการระดับชาติสห
วิทยาการ เอเชียอาคเนย 2559 ครั้งที่ 3.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). GDP ไตรมาสที่สี่ ทั้งปี 2559 และแนวโน้มปี
2560 แถลงข่าว 20 กุมภาพันธ์ 2560. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.nesdb.go.th/nesdb_th/ewt_dl_link.php?nid=5165 (2 มีนาคม 2560).
เสาวลักษม กิตติประภัสร์. (ม.ป.ป.). ความสุขมวลรวมหรือสังคมอยูเย็นเปนสุข: นโยบายสาธารณะที่คนไทยตองรวม
กันสราง (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.happysociety.org/ uploads/ HsoDownload/
4/download_file.pdf (4 พฤษภาคม2560).
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน). (2559). เอกสารชุดความรู้การ
ท่องเที่ยวโดยชุมชน. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: www.dasta.or.th/dastaarea7/attachments/
article/118/file1.docx (4มีนาคม 2560).
Association of Southeast Asian Nations (ASEAN). (2016). ASEAN COMMUNITY BASED TOURISM
STANDARD. ASEAN Secretariat: Indonesia.
Blancas F. J., Lozano-Oyola, M., González M., Guerrero F. M. & Caballero R.. (2011). How to use
sustainability indicators for tourism planning: The case of rural tourism in Andalusia (Spain). Science of the Total Environment 412-413 (2011): 28–45.
Harold Goodwin and Rosa Santilli. (2009). Community-Based Tourism: a success?. Germany: the
German Development Agency (GTZ).

เผยแพร่แล้ว

17-05-2019