การจัดการความรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้กับกลุ่มผู้สูงอายุในเขตพื้นที่ตำบลหูทำนบ อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • กุลกันยา ศรีสุข
  • ปรีชา ปาโนรัมย์
  • ชนินาถ ทิพย์อักษร
  • อนงค์ ทองเรือง
  • คธาวุฒิ จันบัวลา

คำสำคัญ:

การจัดการความรู้, การมีส่วนร่วม, การส่งเสริมคุณภาพชีวิต, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาบริบทคุณภาพชีวิต แนวทางการจัดการอาชีพเสริม และการจัดการความรู้เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับกลุ่มผู้สูงอายุในเขตพื้นที่ตำบลหูทำนบ อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุจำนวน 100 คน จาก 6 หมู่บ้าน ตามเกณฑ์ที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ แบบสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มผู้สูงอายุในเขตพื้นที่ตำบลหูทำนบ อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์มีจำนวน 286 คน สภาพการเป็นอยู่ส่วนใหญ่อยู่ติดบ้าน อาชีพที่ทำได้ ทำไร่ ทำนา และทำสวน สำหรับแนวทางการจัดการอาชีพเสริมเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตควรเป็นอาชีพที่สามารถทำภายในบ้านได้ เช่น ทำดอกไม้จันทน์ ทอเสื่อ จักรสาน และอาชีพที่ถนัดคือ การปลูกพืชสวนครัวเพื่อการจำหน่าย เป็นต้น และการจัดการความรู้เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับกลุ่มผู้สูงอายุ ควรมีการจัดในรูปแบบ การให้ความรู้ การจัดหาพ่อค้าคนกลาง และตลาดเพื่อการจำหน่ายให้ โดยให้องค์การบริหารส่วนตำบลหรือมหาวิทยาลัยเป็นผู้เชื่อมประสาน

References

ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. (2553). เศรษฐกิจหมู่บ้านไทยในอดีต, (พิมพ์ครั้งที่ 6).
กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สร้างสรรค์ จำ กัด.
มัญชีรรัตน์ เอกศักดิ์ศิริ. (2556). ปั้นข้าวเหนียวในถิ่นสะตอ : การปรับวิถีชีวิตของเกษตรกร
ภาคอีสานบนผืนป่าต้นน้ำภาคใต้ : กรณีศึกษา บ้านสะพานสอง ตำบลปากทรง
อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร. การค้นคว้าอิสระประกาศนียบัตรบัณฑิต (บัณฑิต
อาสาสมัคร), กรุงเทพฯ : สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปรีชา ปาโนรัมย์. (2559). การจัดการองค์ความรู้เศรษฐกิจพอเพียงด้านเกษตรทฤษฏีใหม่เพื่อ
แก้ปัญหาความยากจนของชุมชนอย่างยั่งยืน : กรณีชุมชนในเขตพื้นที่องค์การบริหาร
ส่วนตำบลเสม็ด อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. บุรีรัมย์ : สถาบันวิจัยและพัฒนา.

เผยแพร่แล้ว

02-01-2017