การจัดการความรู้และพัฒนาระบบฐานข้อมูลความหลากหลายด้านอาหารของกลุ่มชาติพันธุ์ในอำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • นิธิโรจน์ ศุภกฤษสุวรรณกุล สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากหลายด้านอาหาร เพื่อศึกษาการจัดการความรู้ร่วมกับชุมชนในการรวบรวมความรู้ด้านอาหาร และเพื่อศึกษาแนวทางในการจัดทำฐานข้อมูลความหลากหลายด้านอาหารตามภูมิปัญญาท้องถิ่นในอำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มผู้ผลิตและจำหน่ายอาหารชุมชน จำนวน 100 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ความหลากหลายด้านอาหารในอำเภอประโคนชัยนั้นจัดเป็นประเภทได้อยู่ 5 ประเภทได้แก่ ประเภทอาหาร ประเภทแกงและต้ม ประเภทยำ ประเภทเครื่องจิ้มและประเภทเครื่องเขียง สำหรับการจัดการความรู้กับชุมชนนั้นเป็นการดำเนินการแบบร่วมคิด แลกเปลี่ยน เพื่อรวบรวมความรู้เรื่องอาหาร และแนวทางในการจัดทำฐานข้อมูลความหลากหลายด้านอาหารควรดำเนินการจัดทำเป็นข้อมูลรายละเอียดที่ครบถ้วนและบรรจุข้อมูลผ่านเว็บไซด์ เฟซบุ๊ค และไลน์ เพื่อการประชาสัมพันธ์อาหาร

References

นวรัตน์ บุญภิละ. (2552). การพัฒนาฐานข้อมูลภูมิปัญญาอาหารพื้นบ้านท้องถิ่นของชาวผู้ไท
บ้านถ่อนนาลับตำบลถ่อนนาลับ อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี. อุดรธานี :
มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี.
นิทรา เนื่องจำนง และคณะ. (2550). การประเมินฤทธิ์ ต้านอนุมูลอิสระเบื้องต้นในเครื่องดื่มที่ทำ
จากผลไม้และสมุนไพรไทย. วารสารวิชาการ สาธารณสุข, 16(5), 778-786.
ปรีชา ปาโนรัมย์. (2554). การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อเพิ่มมูลค่าด้านเศรษฐกิจของสินค้าที่ระลึกอันเกิด
จากภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะและวัฒนธรรมผ่านแนวคิดบรรษัทภิบาล. บุรีรัมย์ : สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
รัชนี เพชรช้าง (2551) การศึกษาการใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพของพืชสมุนไพร
ที่ใช้เป็นอาหารตามเส้นทางท่องเที่ยวเชิงนิเวศภูพญาพ่อ อุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน
จังหวัดอุตรดิตถ์. อุตรดิตถ์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ คณะวิทยาการจัดการ .

เผยแพร่แล้ว

23-05-2019