การศึกษาพิธีกรรมและความเชื่อเรื่องศาลในชุมชนลาวเวียง อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • สุนันทา เงินไพโรจน์ หมวดทฤษฎีศิลป์ ภาควิชาศิลปสากล วิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรี

คำสำคัญ:

พิธีกรรม, ความเชื่อเรื่องศาล , ชุมชนลาวเวียง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ศึกษาภูมิปัญญาพิธีกรรมความเชื่อเรื่องศาลชุมชนลาวเวียงหมู่ 8 ตำบลจรเข้ใหญ่ และหมู่ 10 ตำบลโคกคราม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี และศึกษาการดำรงอยู่ของพิธีกรรม ความเชื่อ และการเปลี่ยนแปลง โดยกำหนดกลุ่มผู้ให้ข้อมูลจำนวน 40 คนประกอบด้วยร่างทรง 16 คนและผู้เข้าร่วมพิธีกรรม 24 คน เกณฑ์ในการคัดเลือกคือ เป็นผู้เข้าร่วมพิธีกรรมไหว้ศาล แบ่งเป็นผู้สูงอายุและคนรุ่นใหม่ การเลือกผู้สูงอายุเพราะมีประสบการณ์และสามารถบอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาของพิธีกรรมได้ ทำให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของพิธีกรรมจากอดีตสู่ปัจจุบัน ส่วนคนรุ่นใหม่เพื่อให้เห็นมุมมองของคนต่างวัย ความคิดเห็นต่อความเชื่อและการประกอบพิธีกรรมเรื่องศาล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์แบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ  การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม และการสำรวจชุมชน ผลการศึกษาพบว่าในชุมชนลาวเวียงในพื้นที่หมู่ 8 และหมู่ 10 นับถือศาสนาพุทธควบคู่ไปกับการนับถือผี ปรากฏออกมาในรูปของประเพณีการไหว้ศาลประจำปี การเข้าร่วมพิธีไหว้ศาลมีทั้งคนรุ่นเก่ากับคนรุ่นใหม่แสดงถึงความสัมพันธ์และความสามัคคีในชุมชน เป็นภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่ใช้ความเชื่อมาเชื่อมโยงคนในชุมชนเข้าด้วยกันผ่านร่างทรง ศาลจึงกลายเป็นที่พึ่งทางจิตใจ  เป็นศูนย์รวมทางศาสนา  และเป็นศูนย์กลางการพบปะทำกิจกรรมของชุมชน ผ่านประเพณีไหว้ศาลที่จัดขึ้นทุกปี จนกลายเป็นอัตลักษณ์ของชุมชน ด้วยเหตุนี้ประเพณีการไหว้ศาลในชุมชนยังคงอยู่แม้ปัจจุบันสภาพสังคมจะเปลี่ยนแปลงไปตามความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีสมัยใหม่

References

ชัยวัฒน์ นามราช. (2566). อ่านประวัติศาสตร์ความเชื่อ (พิธีกรรม) อ่านอนาคตคน (สังคม) ไทย. ค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2566. จาก https://prachatai.com/journal/2023/05/103929.

นันทยา คงประพันธ์, สุภาวดี เผือกฟัก, และพรทิพย์ ช่วยเพล. (2563). ความเชื่อและพิธีกรรมเกี่ยวกับศาลเจ้าของชุมชน ตำบลย่านยาว อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง 9 (2), น. 40-51.

นิภาพร โชติสุดเสน่ห์. (2541). พระราหู : ภาพสะท้อนการผสมกลมกลืนทางความเชื่อของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวเวียง. สารนิพนธ์ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บุญชนะ ทองแสน. (2529). การศึกษาระบบความเชื่อที่นอกเหนือพุทธศาสนาของชุมชนชาวพุทธในเขตลุ่มน้ำท่าจีน. กรุงเทพมหานคร : พิมพ์ลักษณ์.

บุญยงค์ เกศเทศ. (2557). ผี วิถีคน ความเชื่อและการพึ่งพาระหว่างคนกับผี. มหาสารคาม : กากะเยีย.

บังอร ปิยะพันธ์ (2541). ลาวในกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพมหานคร : สำนักกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ปิยลักษณ์ โพธิวรรณ์ และยุภาพร ยุภาศ. (2559). กระบวนการสร้างพื้นที่ทางสังคมของผีอีสาน. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.

พจนานุกรมไทยราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554. (2554). ค้นหาแบบทั่วไป. ค้นเมื่อ 13 เมษายน 2565 https://dictionary.orst.go.th/

พระใบฎีกาสุวรรณ อธิปญโญ บำมิลา. (2562). ศึกษาหลักธรรมที่เกี่ยวกับพิธีกรรมการบูชาปู่ตา ของชาวบ้านสงยาง ตำบลสะอาดสมบูรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วรรณพร บุญญาสถิต, ฉันทัส เพียรธรรม, และเทพธิดา ศิลปรรเลง. (2560). พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวเวียง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาลัยสารพัดช่างนครขอนแก่น 11 (1) น.26-38.

วลัยลักษณ์ ทรงศิริ. (2019). การเคลื่อนย้ายของผู้คนมาสู่ความเป็นชุมชนลาวด่านเมืองกบินทร์ฯ“กบินทร์บุรี” เมืองด่านภาคตะวันออก. ค้นเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2566, https://walailaksongsiri.com/2018/07/05/kabinburi-the-border-town/?fbclid=IwAR31ybBeynjQ1QG0w8nwaZr5diPj85ySjS2uSg_Op7JBYd-qL-kxckc1V1E/.

วันดี พินิจวรสิน. (2556). ภูมิปัญญาการปรับตัวในบ้าน - เรือนลาวเวียง บริเวณลุ่มน้ำภาคกลางหน้าจั่ว: ว่าด้วยสถาปัตยกรรม การออกแบบ และสภาพแวดล้อม. วารสารหน้าจั่ว 27 (2003) น.45-60.

สุนันทา เงินไพโรจน์. (2564). ประวัติศาสตร์ชุมชนลาวเวียงจากสิ่งของเครื่องใช้ อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี. สุพรรณบุรี : วิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.

อนันตศักดิ์ พลแก้วเกษ. (2562). การศึกษาตัวและบทบาทของผีปู่ตา อำเภอเสลาภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิชาการธรรมทัศน์ 19 (4) น.1-11.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-26