https://so02.tci-thaijo.org/index.php/journaldru/issue/feed วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี 2024-12-26T15:15:32+07:00 Dr.Wirahai Kamthorn journal.dru@dru.ac.th Open Journal Systems <p>วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี มีจุดประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการและงานวิจัย นำไปสู่การใช้ประโยชน์ในกลุ่มนักวิชาการนักวิจัย และประชาชนผู้สนใจ เผยแพร่ผลงานปีละ 2 ฉบับ คือ มกราคม - มิถุนายน และ กรกฎาคม – ธันวาคม วารสารฯ มุ่งเน้นการเผยแพร่ผลงานวิชาการและงานวิจัยเชิงบูรณาการแบบสหวิทยาการที่มีการค้นพบข้อเท็จจริงอย่างเป็นระบบตามหลักระเบียบวิธีวิจัย ทั้งนี้เพื่อให้มีการนำองค์ความรู้ที่ได้จากการค้นพบนำไปสู่การแก้ไขปัญหา การพัฒนา ชุมชน สังคม หรือใช้เป็นข้อมูลสำหรับประกอบการพิจารณาเพื่อการตัดสินใจ กำหนดนโยบาย แนวทางการพัฒนาชุมชน สังคม ให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน และนำไปสู่การแก้ไขปัญหาทางสังคมได้อย่างยั่งยืนต่อไป</p> https://so02.tci-thaijo.org/index.php/journaldru/article/view/270480 การเก็บคำศัพท์และการเปลี่ยนแปลงทางอักขรวิธีในพจนานุกรมไทย-ไทยที่จัดทำโดยราชการตั้งแต่ พ.ศ. 2470 ถึง พ.ศ. 2554 : กรณีศึกษาหมวดอักษร ก 2024-06-07T16:06:11+07:00 ปิยะพงษ์ โพธิ์เย็น wannasin50@hotmail.com อุเทน วงศ์สถิตย์ wannasin50@hotmail.com <p>งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์การเก็บคำศัพท์และการเปลี่ยนแปลงทางอักขรวิธีของคำศัพท์หลัก หรือ คำตั้ง ของพจนานุกรมไทย-ไทยที่จัดทำโดยราชการตั้งแต่ พ.ศ. 2470 ถึง พ.ศ. 2554 ซึ่งมีประกาศให้ส่วนราชการใช้ตัวสะกดตามพจนานุกรมฉบับดังกล่าว เพื่อแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการการเก็บคำศัพท์โดยใช้แนวคิดทางศัพทานุกรมศาสตร์และการเปลี่ยนแปลงทางอักขรวิธีที่สำคัญ โดยกำหนดขอบเขตข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาเฉพาะคำศัพท์หมวดอักษร ก ซึ่งเป็นหมวดอักษรลำดับแรก ผลการศึกษาพบว่า การเก็บคำศัพท์ในพจนานุกรมไทย-ไทยที่จัดทำโดยราชการฉบับ พ.ศ. 2470 มักเป็นคำที่ปรากฏในหนังสือประเภทวรรณคดี คำศัพท์ทางศาสนา คำวิสามานยนาม หรือเป็นคำศัพท์ที่เป็นคำยืมจากภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต ต่อมาในฉบับ พ.ศ. 2493 จึงมีการเก็บคำศัพท์ทั่วไปมากขึ้น และในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ซึ่งเป็นฉบับที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีการเก็บคำศัพท์เฉพาะสาขาวิชา รวมถึงมีรูปแบบการเก็บศัพท์ที่สอดคล้องกับคำที่ใช้อยู่จริงในภาษาไทย ส่วนการเปลี่ยนแปลงทางอักขรวิธีในหมวดอักษร ก ที่พบมากที่สุดคือการกำหนดคำที่ใช้ “กระ” และ “กะ” รองลงมาคือการเปลี่ยนแปลงตัวสะกดในคำยืมภาษาต่างประเทศ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางอักขรวิธีดังกล่าวส่งผลต่อการใช้ตัวสะกดในหนังสือราชการและการสอนภาษาไทยโดยตรง</p> 2024-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://so02.tci-thaijo.org/index.php/journaldru/article/view/269994 การบริหารจัดการคนเก่งด้วยการจ้างงานตามสัญญาเพื่อสร้างความยืดหยุ่นในการรักษาคนเก่งของอุตสาหกรรมยานยนต์ กรณีศึกษาภาคตะวันออก 2024-05-13T16:30:25+07:00 เอกธนัช แก้วลา ekthanatkl@gmail.com ปรัชนันท์ เจริญอาภรณ์วัฒนา ekthanatkl@gmail.com จินดาภา ลีนิวา ekthanatkl@gmail.com <p>การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงปริมาณมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบระดับความคิดเห็นการบริหารจัดการคนเก่งด้วยการจ้างงานตามสัญญาเพื่อสร้างความยืดหยุ่นในการรักษาคนเก่งของอุตสาหกรรมยานยนต์โดยกลุ่มตัวอย่างใช้สูตรขนาดตัวอย่างของ Cochran ที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05จำนวน 400 คน รวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการแบบสุ่มและนำผลมาวิเคราะห์สถิติผลการศึกษาพบว่า1) ความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการบริหารคนเก่งโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก(<img src="blob:https://so02.tci-thaijo.org/7275abec-13f3-4038-ab1f-6918810fd6bd" />= 4.10)2) ความคิดเห็นเกี่ยวกับกลยุทธ์การจัดการทรัพยากรมนุษย์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (<img src="blob:https://so02.tci-thaijo.org/7a2ae950-1805-4024-9293-ae1c6020e39c" />=4.05)3) ความคิดเห็นเกี่ยวกับผลประโยชน์ของการใช้การจ้างงานตามสัญญามีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง<img src="blob:https://so02.tci-thaijo.org/b45a8927-3bde-42de-b5f4-a2b6f7a0fd4e" /><span style="font-size: 0.875rem;">(</span><span style="font-size: 0.875rem;">=3.95)โดยความสัมพันธ์ระหว่างการจ้างงานตามสัญญาและปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อรูปแบบการจ้างงานตามสัญญาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01ซึ่งความแปรปรวนของข้อมูลของรูปแบบการจ้างงานตามสัญญากับกลยุทธ์การบริหารจัดการคนเก่ง พบว่า ด้านเครื่องมือการจัดการโดยการจ้างงานตามสัญญา การจ้างงานตามสัญญา การบริหารรางวัลผลตอบแทน การบริหารผลปฏิบัติงาน การบริหารเส้นทางการเติบโตที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อรูปแบบการจ้างงานตามสัญญาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01และความแปรปรวนของข้อมูลรูปแบบการจ้างงานตามสัญญากับการบริหารความคาดหวังพบว่า การบริหารความคาดหวังในด้านผลประโยชน์ของการใช้การจ้างงานตามสัญญา ประโยชน์ต่อองค์กร ประโยชน์ต่อบุคลากรที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการคนเก่งด้วยการจ้างงานตามสัญญาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01</span></p> 2024-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://so02.tci-thaijo.org/index.php/journaldru/article/view/269053 การประเมินผลการจัดประสบการณ์แบบ 3 ดี สำหรับเด็กปฐมวัยโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ในสังคมที่มีการแพร่ระบาดของ เชื้อไวรัสโควิด-19 กรณีศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก บ้านหนองกุดแคน จังหวัดนครพนม 2024-05-13T14:14:05+07:00 ปิ่นแก้ว จิตรโคตร kaew.c.center@gmail.com ธิดารัตน์ สุขประภาภรณ์ kaew.c.center@gmail.com สุวดี อุปปินใจ kaew.c.center@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการจัดประสบการณ์แบบ 3 ดี สำหรับเด็กปฐมวัยโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ในสังคมที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 กรณีศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองกุดแคน จังหวัดนครพนม โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPPIEST Model (ด้านบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต ผลกระทบ ประสิทธิผล ความยั่งยืน และการถ่ายทอดส่งต่อ) ประชากรที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร คณะกรรมการ ผู้ปกครอง กรรมการสถานศึกษา และผู้นำชุมชน จำนวน 85 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แนวคำถามการสนทนากลุ่ม และ แบบประเมิน ซึ่งสอดคล้องกับหัวข้อเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยและคุณภาพของเครื่องมือ โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดประสบการณ์แบบ 3 ดี (สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี) สำหรับเด็กปฐมวัยโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน เน้นการใช้ทรัพยากรท้องถิ่นเป็นสื่อ พื้นที่สร้างสรรค์ภายในครอบครัวและชุมชน รวมถึงการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและปราชญ์ชาวบ้าน โดยใช้วัฒนธรรมท้องถิ่นเป็นฐาน และ 2) ผลการประเมินตาม CIPPIEST Model ใน 8 ด้าน พบว่าความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและสภาพที่<br />พึงประสงค์ของการจัดประสบการณ์โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก</p> 2024-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://so02.tci-thaijo.org/index.php/journaldru/article/view/268506 การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารของชุมชนในเขตอนุรักษ์เมืองเก่าฝั่งธนบุรี 2024-02-28T15:59:58+07:00 สุชาดา ธโนภานุวัฒน์ suchada.t@dru.ac.th <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยว 2) ศึกษาความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวที่มีต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด และ3) หาแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารของชุมชนในเขตอนุรักษ์เมืองเก่าฝั่งธนบุรี เป็นการวิจัยแบบผสม ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่มาท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารในชุมชน โดยใช้วิธีการ สุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ จำนวน 400 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิจัยเชิงคุณภาพเลือกผู้ให้ข้อมูลจากการสุ่มแบบเจาะจงจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคชุมชน ซึ่งเป็นผู้ที่มีหน้าที่ด้านการวางแผนส่งเสริมองค์กรและมีอำนาจในการตัดสินใจการกำหนดแนวทางการส่งเสริมองค์กรนั้นๆ รวมทั้งผู้ที่มีผลประโยชน์หรือได้ รับผลกระทบจากการท่องเที่ยวในพื้นที่ จำนวน 8 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เดินทางท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารเขตอนุรักษ์เมืองเก่าฝั่งธนบุรี เพื่อหาประสบการณ์ท่องเที่ยวใหม่กับเพื่อน/คนรู้จัก ในช่วงวันเสาร์ - วันอาทิตย์ โดยมานานๆครั้ง แล้วแต่โอกาส มีค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยว 501 - 1,000 บาทต่อครั้ง แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารเขตอนุรักษ์เมืองเก่าฝั่งธนบุรีมีสถานที่ท่องเที่ยวที่ชื่นชอบ ได้แก่ ชุมชนกุฎีจีน เขตธนบุรี ตลาดวังหลัง เขตบางกอกน้อย ตลาดพลู เขตธนบุรี และย่านวังเดิม เขตบางกอกใหญ่ ตามลำดับ 2) นักท่องเที่ยวมีความคิดเห็นต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารเขตอนุรักษ์เมืองเก่าฝั่งธนบุรีในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.31) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านบุคลากร ผู้ให้บริการ (ค่าเฉลี่ย 4.53) รองลงมา ได้แก่ ด้านกระบวนการให้บริการ (ค่าเฉลี่ย 4.47) และด้านผลิตภัณฑ์ (ค่าเฉลี่ย 4.44) 3) แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารของชุมชนในเขตอนุรักษ์เมืองเก่าฝั่งธนบุรี ควรพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนให้เป็นพื้นที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารตามวิถีชุมชน การจัดการระบบคมนาคมล้อ ราง เรือ ให้ครอบคลุมเชื่อมต่อการเดินทางให้เข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวได้อย่างสะดวก เพิ่มป้ายบอกทาง/ป้ายบอกร้านอาหาร/แผนที่ให้ครบถ้วนในจุดที่เข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว ควรมีห้องน้ำสาธารณะและที่จอดรถให้เพียงพอ ควรพัฒนาบุคลากรผู้ให้บริการทางการท่องเที่ยวให้มีคุณภาพพร้อมต่อการให้บริการ และจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหาร</p> <p>&nbsp;</p> 2024-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://so02.tci-thaijo.org/index.php/journaldru/article/view/271836 การพัฒนาทักษะการพูดโดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมุติในวิชา ภาษาเพื่อการสื่อสารสำหรับครู ของนักศึกษาในระดับปริญญาตรี วิทยาลัยนาฏศิลปอ่างทอง 2024-07-25T14:14:27+07:00 สุริยา อินทจันท krusuriya666@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการสอนโดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมุติให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์เป้าหมายที่ตั้งไว้ E<sub>1</sub>/E<sub>2</sub> = 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการพูดหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ภาษาเพื่อการสื่อสารสำหรับครู โดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมุติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขานาฏศิลปศึกษา วิทยาลัยนาฏศิลปอ่างทอง จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการพูดวิชาภาษาเพื่อการสื่อสารสำหรับครูของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 โดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมุติ แบบทดสอบวัดทักษะการพูด และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ด้วยข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการพูดมีค่าประสิทธิภาพของกระบวนการ (E<sub>1</sub>) เท่ากับ 81.05 และคะแนนหลัง มีค่าประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E<sub>2</sub>) เท่ากับ 85.60 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่กำหนดไว้ 2) คะแนนทักษะการพูดหลังการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการพูด หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และ 3) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการสอนหรือการพัฒนาทักษะการพูด โดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมุติ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด การทดสอบสมมติฐานพบว่า หลังจากนักศึกษาชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยนาฏศิลปอ่างทองได้รับการพัฒนาทักษะการพูดวิชาภาษาเพื่อการสื่อสารสำหรับครู โดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมุติที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น นักศึกษามีทักษะการพูดสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 <br />ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้</p> 2024-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://so02.tci-thaijo.org/index.php/journaldru/article/view/270553 ความเข้มแข็งทางใจเชิงพุทธ หลังการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 ของประชาชนเขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร 2024-06-07T11:10:17+07:00 ไพจิตร วุฒิเจริญวงศ์ paichitwot@gmail.com พระครูสังฆรักษ์เอกภัทร อภิฉนฺโท paichitwot@gmail.com ประสิทธิ์ แก้วศรี paichitwot@gmail.com <p>การศึกษาวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยได้แก่ 1) เพื่อศึกษาระดับความเข้มแข็งทางใจเชิงพุทธหลังการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 ของประชาชน เขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อเปรียบเทียบความเข้มแข็งทางใจเชิงพุทธหลังการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 ของประชาชน เขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง 400 คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น 0.865 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ผลการศึกษาพบว่า 1) ความเข้มแข็งทางใจเชิงพุทธ หลังการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 ของประชาชนเขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร โดยภาพรวม มีความเข้มแข็งทางใจเชิงพุทธ ในระดับปานกลาง ความเข้มแข็งทางใจเชิงพุทธหลังการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 ของประชาชนเขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร ของกลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถาม โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ย อยู่ที่ 3.38 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานที่ 0.44 เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า ด้านการต่อสู้เอาชนะอุปสรรค(วิริยะ) มีคะแนนเฉลี่ยมากที่สุด 3.66 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานที่ 0.52 แปลผลอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ด้านการมีความหวังกำลังใจ(ศรัทธา) มีคะแนนเฉลี่ยที่ 3.59 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานที่ 0.49 แปลผล อยู่ในระดับมาก และน้อยที่สุดคือ ด้านความอดทนต่อแรงกดดัน(ขันติ) ค่าเฉลี่ยที่ 2.90 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานที่ 0.63 แปลผลอยู่ในระดับปานกลาง 2)ผลการเปรียบเทียบความเข้มแข็งทางใจเชิงพุทธหลังการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 ของประชาชน เขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร ด้านเพศ อายุ สถานภาพสมรสรายได้ต่อเดือน การศึกษาประสบการณ์เกี่ยวกับโรคโควิด 19 การรับรู้ศักยภาพตนเอง(ความเชื่อมั่นในการดำเนินชีวิต) ที่แตกต่างกัน มีผลต่อความเข็มแข็งทางใจเชิงพุทธไม่แตกต่างกัน และปัจจัยส่วนบุคคลด้าน ประสบการณ์การปฏิบัติธรรม(สวดมนต์ ทำสมาธิ) และการสนับสนุนทางสังคม(ครอบครัว)ที่แตกต่างกัน มีผลต่อความเข้มแข็งทางใจเชิงพุทธความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> <p> </p> 2024-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://so02.tci-thaijo.org/index.php/journaldru/article/view/270094 ความคาดหวังของผู้ใช้บริการต่อส่วนประสมการตลาดธุรกิจร้านกาแฟรูปแบบมินิมอลในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดเลย 2024-05-14T10:50:51+07:00 ศศิยาพร พรมพลเมือง sanchai.kia@lru.ac.th สันติธร สิงลี sanchai.kia@lru.ac.th ปรียาพร พิชิตรานนท์ sanchai.kia@lru.ac.th สัญชัย เกียรติทรงชัย sanchai.kia@lru.ac.th <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา และเปรียบเทียบความคาดหวังของผู้ใช้บริการต่อส่วนประสมการตลาดธุรกิจร้านกาแฟรูปแบบมินิมอลใน เทศบาลเมือง จังหวัดเลย กลุ่มตัวอย่างคือ ประชากรคือผู้ใช้บริการร้านกาแฟรูปแบบมินิมอลในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดเลย เลือกเป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความแปรปรวนทางเดียว และ LSD ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 21-30 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่าหรือเท่ากับ 5,000 บาท และประกอบอาชีพ นักเรียน/นักศึกษา ความคาดหวังของผู้ใช้บริการต่อส่วนประสมการตลาด โดยรวมอยู่ในระดับมีความคาดหวังมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านบุคลากร มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านผลิตภาพ ด้านราคา ด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านกระบวนการ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาด ตามลำดับ ผลการเปรียบเทียบความคาดหวังของผู้ใช้บริการต่อส่วนประสมการตลาดธุรกิจร้านกาแฟรูปแบบมินิมอลใน เทศบาลเมือง จังหวัดเลย จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และอาชีพ พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ</p> 2024-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://so02.tci-thaijo.org/index.php/journaldru/article/view/271227 ความสัมพันธ์ภาวะผู้นำแบบสร้างการเปลี่ยนแปลงและความผูกพันต่อองค์กรที่มีต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัทผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แห่งหนึ่ง ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จังหวัดชลบุรี 2024-08-09T15:29:09+07:00 อิสรา แก้วคูนอก Itsara.k@ku.th กิติยา ทัศนะบรรจง Itsara.k@ku.th <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำแบบสร้างการเปลี่ยนแปลงของผู้บังคับบัญชา ความผูกพันต่อองค์กร และผลการปฏิบัติงานของพนักงาน 2) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบสร้างการเปลี่ยนแปลงกับความผูกพันต่อองค์กร 3) วิเคราะห์ภาวะผู้นำแบบสร้างการเปลี่ยนแปลงและความผูกพันต่อองค์กร ที่มีต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงาน กลุ่มตัวอย่างการวิจัยประกอบด้วยพนักงานระดับปฏิบัติการ ในบริษัทผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แห่งหนึ่ง จำนวน 310 คน ใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) ในการเก็บข้อมูลโดยใช้วิธีแบบแบ่งชั้น (Proportional stratified random sampling) ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติประกอบด้วย ความถี่ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ การศึกษาพบว่า มีความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างภาวะผู้นำแบบสร้างการเปลี่ยนแปลงและความผูกพันต่อองค์กร ตลอดจนผลกระทบในเชิงบวกของภาวะผู้นำแบบสร้างการเปลี่ยนแปลงที่มีต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงาน นอกจากนี้ความผูกพันต่อองค์กร ยังส่งผลเชิงบวกต่อการปฏิบัติงานของพนักงาน โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01</p> 2024-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://so02.tci-thaijo.org/index.php/journaldru/article/view/267013 โครงการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของกลุ่มคนเปราะบาง ด้านสวัสดิการสังคม บริเวณรอบศูนย์ราชการสระบุรี ตำบลตะกุด อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี 2024-03-28T16:13:40+07:00 อำนวย ปิ่นพิลา dr.amnuay@hotmai.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อเสริมสร้างศักยภาพการเรียนรู้ให้กับแกนนำภาคประชาชนเกี่ยวกับการดูแลกลุ่มคนเปราะบางด้านสวัสดิการสังคมของประชาชน 2) เพื่อเสริมสร้างทักษะพัฒนาแกนนำภาคประชาชนในการแก้ไขปัญหาของกลุ่มคนเปราะบางด้านสวัสดิการสังคมของประชาชนโดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ 1) การสัมภาษณ์เชิงลึก 2) การสนทนากลุ่มและ 3) จัดเวทีสาธารณะการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างแกนนำเครือข่าย เพื่อให้มีการแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นสมาชิกในพื้นที่ จำนวน 50 คน ประกอบด้วย ประชาชนในเขตพื้นที่สระบุรี ตำบลตะกุด อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี ผู้ที่ได้รับผลกระทบ ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำชุมชน และเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้อง หรือรับผิดชอบดูแล จากสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดสระบุรี คัดเลือกโดยวิธีเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative) โดยอาศัยวิธีการวิเคราะห์เชิงข้อมูลพรรณนา (Descriptive) ด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) การเสริมสร้างศักยภาพการเรียนรู้ให้กับแกนนำภาคประชาชน เกี่ยวกับการดูแลกลุ่มคนเปราะบางด้านสวัสดิการสังคม ของประชาชน จะต้องอาศัยปัจจัยด้านภาวะผู้นำ จิตอาสา สุขภาพ ความรู้ และเวลา 2) การเสริมสร้างทักษะพัฒนาแกนนำภาคประชาชน ในการแก้ไขปัญหาของกลุ่มคนเปราะบางด้านสวัสดิการสังคมของประชาชน พบว่าผู้ปฏิบัติงานมีความรู้เฉพาะในส่วนที่ตนเองรับผิดชอบเท่านั้น ขาดการบูรณการในการทำงานร่วมกันและความพร้อมในการดำเนินกิจกรรม</p> 2024-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://so02.tci-thaijo.org/index.php/journaldru/article/view/271826 แนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษา โรงเรียนเฉพาะความพิการในจังหวัดฉะเชิงเทรา 2024-08-16T14:23:23+07:00 ปรัชญาพร ซ่าอินทร์ Khuneve9934@gmail.com นิวัตต์ น้อยมณี Khuneve9934@gmail.com กัญภร เอี่ยมพญา Khuneve9934@gmail.com <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษา โรงเรียนเฉพาะความพิการในจังหวัดฉะเชิงเทรา 2) ศึกษาแนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษา โรงเรียนเฉพาะความพิการในจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี ซึ่งประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยประชากรและกลุ่มตัวอย่าง แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ครู ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 226 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ และผู้ให้ข้อมูลในการสนทนากลุ่ม จำนวน 10 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง ด้วยการกำหนดคุณสมบัติ เครื่องมือที่ใช้ในรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .97 และแนวคำถามการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษา โรงเรียนเฉพาะความพิการในจังหวัดฉะเชิงเทรา มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านบริหารทั่วไป ด้านบริหารงานบุคคล ด้านบริหารวิชาการ และด้านบริหารงบประมาณตามลำดับ 2) แนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษา โรงเรียนเฉพาะความพิการในจังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบริหารวิชาการ คือ โรงเรียนมีการเปิดโอกาสให้ผู้ปกครอง ชุมชนมีส่วนร่วมวางแผนการจัดการศึกษาให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับการเรียนรู้ของนักเรียน ด้านบริหารงบประมาณ คือ โรงเรียนมีการเปิดโอกาสให้หน่วยงานภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชน มีส่วนร่วมสนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษา ด้านบริหารงานบุคคล คือ โรงเรียนมีการเปิดโอกาสให้คณะกรรมการสถานศึกษามีส่วนร่วมสนับสนุนการวางแผนอัตรากำลังอย่างเหมาะสม ด้านบริหารงานทั่วไป คือ โรงเรียนมีการเปิดโอกาสให้ชุมชน ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา ตลอดจนหน่วยงานภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชนมีส่วนร่วมในการสนับสนุนการก่อสร้างและปรับปรุงสภาพแวดล้อม อาคารเรียน ให้มีความพร้อมต่อการจัดการเรียนรู้และมีความทันสมัยอยู่เสมอ</p> 2024-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://so02.tci-thaijo.org/index.php/journaldru/article/view/271489 แนวทางการลดต้นทุนโลจิสติกส์ในการผลิตสินค้าเพื่อเพิ่มรายได้ของกลุ่มอาชีพชุมชน ในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 2024-07-17T14:55:58+07:00 พิสิษฐ์ ศรีอพิชัย pisit.s@dru.ac.th <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลต้นทุนโลจิสติกส์ในการผลิตสินค้าของกลุ่มอาชีพชุมชนในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ และ2) เพื่อศึกษาแนวทางลดต้นทุนโลจิสติกส์ของกลุ่มอาชีพชุมชนในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กล่าวคือ กลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณ ได้แก่ ผู้นำกลุ่มอาชีพชุมชนหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายที่ได้ขึ้นทะเบียน OTOP ในแต่ละตำบลในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 144 ราย เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับต้นทุน โลจิสติกส์ในการผลิตสินค้า และผู้ให้ข้อมูลหลักเชิงคุณภาพ ได้แก่ ผู้นำกลุ่ม/สมาชิกกลุ่มอาชีพ ประธานกลุ่มอาชีพ OTOP อำเภอบางพลี ผู้นำชุมชน ผู้ชำนาญงานอาชีพชุมชน และนักวิชาการ จำนวน 28 ราย เพื่อศึกษาแนวทางลดต้นทุนโลจิสติกส์ของกลุ่มอาชีพชุมชน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า ระดับความคิดเห็นต่อต้นทุนโลจิสติกส์ในการผลิตสินค้าของกลุ่มอาชีพชุมชนอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ ด้านต้นทุนการบริหาร (<img src="blob:https://so02.tci-thaijo.org/377e599d-a899-4585-a7a4-71216cdcc3a4" />=3.20) ด้านต้นทุนในการเก็บรักษาสินค้า (<img src="blob:https://so02.tci-thaijo.org/b165716f-78b5-457f-bb99-46de01332150" />=3.11) ด้านต้นทุนที่เก็บสินค้า (<img src="blob:https://so02.tci-thaijo.org/aaee1e9e-6af5-4e8f-8094-0a82f9c2844e" />=3.06) และด้านต้นทุนการขนส่ง (<img src="blob:https://so02.tci-thaijo.org/94ecb1c1-34ec-45d3-a870-a696a05a3628" />=3.02) และระดับความคิดเห็นที่มีต่อกิจกรรมโลจิสติกส์ จำนวน 13 กิจกรรม ของกลุ่มอาชีพ OTOP อยู่ในระดับมาก (<img src="blob:https://so02.tci-thaijo.org/bcd9ac34-2b01-4e86-b03f-1a9a43a83ad9" />=3.51) และแนวทางลดต้นทุนโลจิสติกส์ของกลุ่มอาชีพอย่างเป็นรูปธรรม ได้แก่ การลดต้นทุนขนส่งสินค้า การลดต้นทุนการจัดเก็บสินค้า การลดต้นทุนในการเก็บรักษาสินค้า และการลดต้นทุนในการบริหารสินค้า</p> 2024-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://so02.tci-thaijo.org/index.php/journaldru/article/view/270687 ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจกลับมาท่องเที่ยวซ้ำของนักท่องเที่ยว ในเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี 2024-06-07T16:29:22+07:00 สารภี ธิติภาทร 2201108531091@dtc.ac.th วัชรากร มยุรี 2201108531091@dtc.ac.th <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความตั้งใจกลับมาท่องเที่ยวซ้ำของนักท่องเที่ยวในเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และพฤติกรรมนักท่องเที่ยว และ 2) เพื่อศึกษาแรงจูงใจการท่องเที่ยว การรับรู้ความพร้อมในการท่องเที่ยว และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อความตั้งใจกลับมาท่องเที่ยวซ้ำของนักท่องเที่ยวในเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นการวิจัยแบบผสมผสานโดยวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติที่มาเที่ยวเกาะพะงันอย่างน้อย 2 ครั้ง จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่รัฐและผู้ประกอบการธุรกิจ จำนวน 6 คน และนักท่องเที่ยว จำนวน 4 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาในการวิจัยเชิงปริมาณพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจกลับมาท่องเที่ยวซ้ำของนักท่องเที่ยวในเกาะพะงัน ได้แก่ 1) แรงจูงใจการท่องเที่ยวด้านระหว่างบุคคลและด้านกายภาพ มีค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ (R<sup>2</sup>) เท่ากับ 0.180 2) การรับรู้ความพร้อมในการท่องเที่ยวด้านสิ่งดึงดูดใจในแหล่งท่องเที่ยวและด้านความรู้สึกและการรับรู้ มีค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ (R<sup>2</sup>) เท่ากับ 0.248 และ 3) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านผลิตภัณฑ์และด้านลักษณะทางกายภาพ มีค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ (R<sup>2</sup>) เท่ากับ 0.191 สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า ปัจจัยที่มีผลทำให้นักท่องเที่ยวมาเที่ยวเกาะพะงันคือ ความสวยงามของแหล่งท่องเที่ยว ความหลากหลายของแหล่งท่องเที่ยว และกิจกรรมการท่องเที่ยวที่หลากหลาย</p> 2024-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://so02.tci-thaijo.org/index.php/journaldru/article/view/270886 ผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของนักศึกษาปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต 2024-06-07T16:18:21+07:00 จณิสา เหล็กกล้า janisa.lekkla@gmail.com ณกมล จันทร์สม janisa.lekkla@gmail.com <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกันส่งผลต่อความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติแตกต่างกัน และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกันส่งผลต่อผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2565 แตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในครั้งนี้คือ นักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต ปีการศึกษา 2563-2565 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ One-Way ANOVA ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการเปรียบเทียบ อายุ ชั้นปี สาขา และเกรดเฉลี่ยที่แตกต่างกันมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติแตกต่างกัน 2) ผลการเปรียบเทียบ อายุ ชั้นปี สาขา และเกรดเฉลี่ยที่แตกต่างกันมีผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2565 ด้านด้านความรู้ ด้านทักษะ ด้านจริยธรรม และด้านลักษณะบุคคลต่างกัน</p> 2024-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://so02.tci-thaijo.org/index.php/journaldru/article/view/270586 พฤติกรรมการทำบุญของชาวพุทธตามหลักบุญกิริยาวัตถุในวัดสังฆทาน จังหวัดนนทบุรี 2024-06-07T11:27:03+07:00 อรปรียา เหมนิลรัตน์ polinjewelry@gmail.com <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ คือ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการทำบุญของชาวพุทธตามหลักบุญกิริยาวัตถุ ในวัดสังฆทาน จังหวัดนนทบุรี 2) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการทำบุญของชาวพุทธตามหลักบุญกิริยาวัตถุ ในวัดสังฆทาน จังหวัดนนทบุรี ตามปัจจัยส่วนบุคคล เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 361 คน โดยใช้สูตรเทียบเคียงอัตราประชากรของเครซี่ แอนด์ มอร์แกน การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequencies) ค่าร้อยละ(Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard Deviation) และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบที วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference ) ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมการทำบุญของชาวพุทธ ตามหลักบุญกิริยาวัตถุ ในวัดสังฆทาน จังหวัดนนทบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.58 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.55 เมื่อจำแนกตามรายด้าน พบว่า คะแนนพฤติกรรมการทำบุญของชาวพุทธตามหลักบุญกิริยาวัตถุ การแปลผลอยู่ในระดับมาก 2 ด้าน ได้แก่ ด้านศีล ค่าเฉลี่ย 4.13 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.66 ด้านภาวนา ค่าเฉลี่ย 3.71 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.80 และ การแปลผลอยู่ระดับปานกลาง ได้แก่ ด้านทาน ค่าเฉลี่ย 2.90 ส่วนเบี่ยงเบนมาตฐาน 0.66 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) ผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมการทำบุญของกลุ่มตัวอย่าง ที่มี เพศ สถานภาพ รายได้ต่อเดือน การศึกษา อาชีพแตกต่างกัน มีพฤติกรรมการทำบุญตามหลักบุญกิริยาวัตถุไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่สนับสนุนสมมติฐานที่ตั้งไว้ และกลุ่มตัวอย่างที่มี อายุ ประสบการณ์การทำบุญแตกต่างกัน ซึ่งสนับสนุนสมมุติฐานที่ตั้งไว้</p> <p> </p> 2024-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://so02.tci-thaijo.org/index.php/journaldru/article/view/267619 ระดับความมีประสิทธิภาพ และปัจจัยที่ทำให้ครอบครัวส่งเสริมการเป็นนักกีฬาอี-สปอร์ตมืออาชีพในประเทศไทย 2024-02-07T15:10:28+07:00 ปวิตร มงคลประสิทธิ์ Pawit.mo@ssru.ac.th <p>กีฬาอี-สปอร์ต (E-sports) เป็นกีฬาชนิดใหม่ มีการแข่งขันจัดลีก มีสนามแข่ง มีการหารายได้ การฝึกทักษะทางการกีฬาอย่างจริงจัง และเป็นอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโตสูงขึ้นเป็นอย่างมากในระดับนานาชาติ นัก ซึ่งการเป็นนักกีฬาอี-สปอร์ต หรือโปรเพลเยอร์ แตกต่างจากคนเล่นเกมทั่วไป ที่ต้องมีฝีมือ มีวินัย ทุ่มเทฝึกซ้อม นักกีฬาที่ประสบความสำเร็จล้วนมีครอบครัวอยู่เบื้องหลัง ครอบครัวจึงมีอิทธิพลในการเลี้ยงดู และส่งเสริมสร้างนักกีฬา งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความมีประสิทธิภาพของครอบครัว และปัจจัยที่ทำให้ครอบครัวส่งเสริมการเป็นนักกีฬาอี-สปอร์ตมืออาชีพในประเทศไทย โดยใช้การวิจัยคุณภาพเชิงปรากฏการณ์วิทยา จากการสัมภาษณ์นักกีฬา และครอบครัวนักกีฬาอี-สปอร์ตมืออาชีพ จำนวน 15 ครอบครัว ผลการวิจัยพบว่านักกีฬาส่วนใหญ่เติบโตมาจากครอบครัวที่หน้าที่ของครอบครัวมีประสิทธิภาพระดับสูงมาก (Optimally Functional Families) ระดับครอบครัวมีผลกับแนวเกมที่เข้าแข่งขัน รวมถึงปัจจัย และอุปสรรคที่ทำให้ครอบครัวส่งเสริมการเป็นนักกีฬาที่แตกต่างกัน</p> 2024-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://so02.tci-thaijo.org/index.php/journaldru/article/view/271141 Developing Management Guidelines for Enhancing the Skills of Animation Design at Zhejiang Industry Polytechnic College 2024-06-11T13:53:12+07:00 Lou Wuju louwuju@outlook.com Aree Ussavanuphap louwuju@outlook.com <p>The developed management guidelines for enhancing skills of animation design can not only help students better understand their career development direction and learn the required skills and knowledge, but also help enterprises or schools to effectively train talents and provide a clear development path and plan for schools. The objectives of this research were: 1) to investigate problems and needs of students, teachers, administrators, and employers for enhancing the skills of animation design, and 2) to develop management guidelines for enhancing the skills of animation design. The respondents were divided into 3 groups; namely; 1) 301 students, 2) 76 teachers and administrators, and 3) 36 employers<strong>; </strong>and selected by stratified random sampling technique. The research used the survey method to obtain sample data by constructing questionnaires, interviews, and focus groups. The statistics used in this study were frequency, mean, and standard deviation. The findings indicated that: 1) Problems of enhancing the skills of animation design in the opinions of students and employers were at the highest level, whereas teachers and administrators viewed it at a high level. 2) Needs of management guidelines for enhancing skills of animation design in the opinions of students, teachers, administrators, and employers were all at the highest level. 3) Management Guidelines for enhancing the skills of animation design were composed of 7 units, including 1) administrator and the role for supporting teaching animation design, 2) guidelines for teachers of animation design, 3) professional planning in animation design, 4) professional skills in animation design, 5) resources for designing animation, 6) the assessment to determine the students’ skills in animation design, and 7) implementation of animation design. All 7 units were evaluated for correctness and suitability by the 3 specialists and possessed IOC values from 0.67 to 1.00.</p> 2024-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี