Journal Information
จริยธรรมการตีพิมพ์
จริยธรรมในการตีพิมพ์วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เป็นวารสารวิชาการจัดพิมพ์ขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมให้คณาจารย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี นักวิชาการ และนักวิจัยได้ใช้เป็นสื่อสารกลางในการเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการ และผลงานวิจัย ตลอดจนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการและงานวิจัย ทั้งนี้จึงได้กำหนดแนวในการปฏิบัติและจริยธรรมการในตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการและงานวิจัยที่มีคุณภาพเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรการตีพิมพ์นานาชาติ
ดังนั้นวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีได้กำหนดบทบาทหน้าที่ของผู้นิพนธ์ กองบรรณาธิการและผู้ประเมินบทความไว้ดังนี้
บทบาทหน้าที่ของผู้นิพนธ์
- ผู้นิพนธ์จะต้องนำเสนอบทความที่ไม่เคยได้รับการตีพิมพ์หรือไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งตีพิมพ์อื่นใด หรือได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่น
- ผู้นิพนธ์จะต้องไม่คัดลอกผลงานของบุคคลอื่น
- ผู้นิพนธ์ต้องยินยอมปรับแก้ต้นฉบับตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความและกองบรรณาธิการ
- ผู้นิพนธ์ต้องทำตามรูปแบบและการอ้างอิงที่วารสารได้กำหนดไว้ทุกประการ
- เนื้อหาในบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี ถือเป็นความรับผิดชอบ ของผู้นิพนธ์
บทบาทหน้าที่ของบรรณาธิการ
- บรรณาธิการมีหน้าที่พิจารณา กลั่นกรอง คัดเลือกบทความที่มีเนื้อหาและคุณภาพสอดคล้องตามวัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร และเป็นไปตามรูปแบบการตีพิมพ์ที่วารสารกำหนด
- บรรณาธิการมีหน้าที่ตรวจสอบบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เนื้อหา การใช้ภาษา การอ้างอิง รวมทั้งการรวบรวม บทความก่อนส่งไปยังผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ
- บรรณาธิการมีหน้าที่คัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อพิจารณาประเมินบทความให้ตรงกับศาสตร์หรือแขนง ของบทความนั้นๆ
- บรรณาธิการมีหน้าที่สรุปผลการประเมินข้อแนะนำจากผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความเพื่อส่งให้ ผู้นิพนธ์แก้ไข บรรณาธิการต้องไม่แทรกแซง เปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขผลการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิ ประเมินบทความ
- บรรณาธิการมีหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของบทความ หลังจากผู้นิพนธ์ปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำ ของผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ หากผู้นิพนธ์ไม่ได้แก้ไขตามผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ กองบรรณาธิการ มีสิทธิยกเลิกบทความของผู้นิพนธ์ได้ทันที
- บรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลผู้นิพนธ์และผู้ประเมินบทความแก่บุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง
- บรรณาธิการมีหน้าที่พัฒนาคุณภาพวารสารให้มีความทันสมัย และมีองค์ความรู้ใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อ การพัฒนาสังคมชุมชนท้องถิ่น
- บรรณาธิการต้องไม่มีผลประโยชน์ส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์และผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ
บทบาทหน้าที่ของผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ
- ผู้ประเมินบทความต้องประเมินบทความในศาสตร์หรือแขนงที่ตนเองมีความรู้ความเข้าใจอย่างแท้จริง
- ผู้ประเมินบทความต้องประเมินบทความ โดยคำนึงถึงคุณภาพและจริยธรรมในการเผยแพร่เป็นสำคัญ
- ผู้ประเมินบทความต้องไม่แสวงหาผลประโยชน์จากผลงานทางวิชาการที่ตนเองประเมิน
- ผู้ประเมินบทความต้องใม่เปิดเผยข้อมูลของบทความและข้อมูลของผู้นิพนธ์แก่บุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง
- ผู้ประเมินต้องประเมินบทความภายในระยะเวลาประเมินที่กองบรรณาธิการกำหนด