วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://so02.tci-thaijo.org/index.php/journaldru <p>วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี มีจุดประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการและงานวิจัย นำไปสู่การใช้ประโยชน์ในกลุ่มนักวิชาการนักวิจัย และประชาชนผู้สนใจ เผยแพร่ผลงานปีละ 2 ฉบับ คือ มกราคม - มิถุนายน และ กรกฎาคม – ธันวาคม วารสารฯ มุ่งเน้นการเผยแพร่ผลงานวิชาการและงานวิจัยเชิงบูรณาการแบบสหวิทยาการที่มีการค้นพบข้อเท็จจริงอย่างเป็นระบบตามหลักระเบียบวิธีวิจัย ทั้งนี้เพื่อให้มีการนำองค์ความรู้ที่ได้จากการค้นพบนำไปสู่การแก้ไขปัญหา การพัฒนา ชุมชน สังคม หรือใช้เป็นข้อมูลสำหรับประกอบการพิจารณาเพื่อการตัดสินใจ กำหนดนโยบาย แนวทางการพัฒนาชุมชน สังคม ให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน และนำไปสู่การแก้ไขปัญหาทางสังคมได้อย่างยั่งยืนต่อไป</p> มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี th-TH วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี 2985-1254 <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี</p> <p>ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและบุคลากรท่านอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว</p> การจัดทำเส้นทางการท่องเที่ยวชุมชนบนพื้นฐานการมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน: กรณีศึกษา บ้านคลองโยง อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม https://so02.tci-thaijo.org/index.php/journaldru/article/view/264006 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนบนพื้นฐานการมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน กรณีศึกษา บ้านคลองโยง อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 2) จัดทำเส้นทางท่องเที่ยวโดยชุมชนบนพื้นฐานการมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน กรณีศึกษา บ้านคลองโยง อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และ 3) ศึกษาความพึงพอใจต่อเส้นทางท่องเที่ยวโดยชุมชนบนพื้นฐานการมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน กรณีศึกษา บ้านคลองโยง อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม โดยเป็นการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research- PAR) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชน จำนวน 5 คน และนักท่องเที่ยวกลุ่มเป้าหมายจำนวน 20 คน โดยใช้เทคนิคการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) ผลการวิจัยพบว่า 1) ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวบ้านคลองโยง มีจุดแข็งคือ สภาพภูมิประเทศอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก ประชาชนมีความเข้มแข็งทางด้านอาชีพเกษตรกรรม ทรัพยากรการท่องเที่ยวในชุมชนหลากหลาย เช่น การท่องเที่ยวเชิงเกษตร การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และการท่องเที่ยวเชิงกีฬา อีกทั้งมีหน่วยงานภาครัฐ นักวิชาการ สถาบันการศึกษา และภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมกับการพัฒนาชุมชนซึ่งมีผลต่อการพัฒนาศักยภาพของแหล่งการท่องเที่ยวในหลากหลายมิติ 2) การจัดทำเส้นท่องเที่ยวชุมชนบนพื้นฐานการมีส่วนร่วมโดยผูกโยงกิจกรรมท่องเที่ยวในพื้นที่บ้านคลองโยง ซึ่งเป็นการจัดเส้นทางรูปแบบหนึ่งวัน (One Day Trip) เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับชุมชน และ 3) ผลการประเมินความพึงพอใจต่อเส้นทางท่องเที่ยว มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.67) และจากการอภิปรายกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างมีความเห็นตรงกันว่าการบูรณาการทั้ง 3 ศาสตร์ (นันทนาการ ท่องเที่ยวและกีฬา) เข้าด้วยกันนั้น เป็นสิ่งที่น่าสนใจเป็นอย่างมากและสื่อถึงการพัฒนาอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของชุมชนและให้ขยายผลต่อไปยังพื้นที่อื่นด้วย</p> พรรษพล คำไล้ รัสรินทร์ พัฒนเมธีวิชญ์ ชัยสิทธิ์ ทับทิมทอง ธนรัตน์ ทรงสมบูรณ์ ฐิตาภัทร์ รัศมี มสารัศม์ ตันติดีเลิศ Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-26 2023-12-26 17 2 11 28 การวิเคราะห์เส้นทางกลยุทธ์ด้านสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม https://so02.tci-thaijo.org/index.php/journaldru/article/view/262466 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบกรอบแนวคิดที่อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์ด้านสิ่งแวดล้อม การบัญชีบริหารสิ่งแวดล้อม ความสามารถเชิงพลวัตขององค์กร และผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากบริษัทที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 14001 ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำนวน 208 บริษัท ตัวแปรประกอบด้วย กลยุทธ์ด้านสิ่งแวดล้อม การบัญชีบริหารสิ่งแวดล้อม ความสามารถเชิงพลวัตขององค์กร และผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เส้นทางโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ผลการวิจัยพบว่าโมเดลตามสมมติฐานการวิจัยสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยตัวแปรที่ศึกษาในการทำวิจัยได้แก่ กลยุทธ์ด้านสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม การบัญชีบริหารสิ่งแวดล้อมและความสามารถเชิงพลวัตขององค์กร ด้วยขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.763, 0.567 และ 0.643 ตามลำดับ นอกจากนี้การบัญชีบริหารสิ่งแวดล้อมและความสามารถเชิงพลวัตขององค์กรมีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม ด้วยขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.328 และ 0.493 ตามลำดับ</p> พัทรียา เห็นกลาง วรรณวิมล นาคทัด Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-26 2023-12-26 17 2 29 43 การศึกษาพิธีกรรมและความเชื่อเรื่องศาลในชุมชนลาวเวียง อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี https://so02.tci-thaijo.org/index.php/journaldru/article/view/265454 <p>งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ศึกษาภูมิปัญญาพิธีกรรมความเชื่อเรื่องศาลชุมชนลาวเวียงหมู่ 8 ตำบลจรเข้ใหญ่ และหมู่ 10 ตำบลโคกคราม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี และศึกษาการดำรงอยู่ของพิธีกรรม ความเชื่อ และการเปลี่ยนแปลง โดยกำหนดกลุ่มผู้ให้ข้อมูลจำนวน 40 คนประกอบด้วยร่างทรง 16 คนและผู้เข้าร่วมพิธีกรรม 24 คน เกณฑ์ในการคัดเลือกคือ เป็นผู้เข้าร่วมพิธีกรรมไหว้ศาล แบ่งเป็นผู้สูงอายุและคนรุ่นใหม่ การเลือกผู้สูงอายุเพราะมีประสบการณ์และสามารถบอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาของพิธีกรรมได้ ทำให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของพิธีกรรมจากอดีตสู่ปัจจุบัน ส่วนคนรุ่นใหม่เพื่อให้เห็นมุมมองของคนต่างวัย ความคิดเห็นต่อความเชื่อและการประกอบพิธีกรรมเรื่องศาล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์แบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม และการสำรวจชุมชน ผลการศึกษาพบว่าในชุมชนลาวเวียงในพื้นที่หมู่ 8 และหมู่ 10 นับถือศาสนาพุทธควบคู่ไปกับการนับถือผี ปรากฏออกมาในรูปของประเพณีการไหว้ศาลประจำปี การเข้าร่วมพิธีไหว้ศาลมีทั้งคนรุ่นเก่ากับคนรุ่นใหม่แสดงถึงความสัมพันธ์และความสามัคคีในชุมชน เป็นภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่ใช้ความเชื่อมาเชื่อมโยงคนในชุมชนเข้าด้วยกันผ่านร่างทรง ศาลจึงกลายเป็นที่พึ่งทางจิตใจ เป็นศูนย์รวมทางศาสนา และเป็นศูนย์กลางการพบปะทำกิจกรรมของชุมชน ผ่านประเพณีไหว้ศาลที่จัดขึ้นทุกปี จนกลายเป็นอัตลักษณ์ของชุมชน ด้วยเหตุนี้ประเพณีการไหว้ศาลในชุมชนยังคงอยู่แม้ปัจจุบันสภาพสังคมจะเปลี่ยนแปลงไปตามความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีสมัยใหม่</p> สุนันทา เงินไพโรจน์ Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-26 2023-12-26 17 2 44 58 การสำรวจความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ทางสิ่งแวดล้อมและความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคในการซื้อผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม https://so02.tci-thaijo.org/index.php/journaldru/article/view/264526 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการซื้อผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยอ้างอิงทฤษฎีของพฤติกรรมตามแผน (Theory of Planned Behavior) เพื่อทำนายแนวโน้มการซื้อผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภคในประเทศไทย ทำการรวบรวมข้อมูลด้วยช่องทางออนไลน์จำนวน 400 ตัวอย่าง โดยทำการสุ่มตัวอย่างแบบโควตา (Quota Random Sampling) ให้มีการกระจายอย่างเท่ากันตามเพศและอายุ และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยแบบจำลองสมการโครงสร้าง (Structural Equation Model) ซึ่งผลการวิจัยพบว่า ความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญต่อความรู้เกี่ยวกับฉลากเพื่อสิ่งแวดล้อมและความไว้วางใจของผู้บริโภค แสดงให้เห็นว่าต้องมีความรู้และความเข้าใจเพื่อที่จะส่งผลให้ฉลากเพื่อสิ่งแวดล้อมถูกใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความน่าเชื่อถือในข้อมูลที่นำเสนอ โดยค่าที่ได้จากแบบจำลองโครงสร้างมีดังนี้ x<sup>2</sup> /df = 2.405, GFI = 0.832, AGFI = 0.804, CFI = 0.917, NNFI = 0.867 และ RMSEA = 0.059 ซึ่งบ่งบอกถึงคุณภาพและความเหมาะสมของโมเดลในงานวิจัย</p> เอกธนัช โตงิ้ว ณัฐพล อัสสะรัตน์ Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-26 2023-12-26 17 2 59 75 ความกตัญญูกตเวทีและการดูแลผู้สูงอายุในญี่ปุ่นและไทย : อิทธิพลทางวัฒนธรรมต่อการกำหนดนโยบายผู้สูงอายุที่เน้นครอบครัวเป็นศูนย์กลาง https://so02.tci-thaijo.org/index.php/journaldru/article/view/265605 <p>การวิจัยเชิงคุณภาพเรื่องความกตัญญูกตเวทีและการดูแลผู้สูงอายุในญี่ปุ่นและไทย : อิทธิพลทางวัฒนธรรม ต่อการกำหนดนโยบายผู้สูงอายุที่เน้นครอบครัวเป็นศูนย์กลาง เป็นการวิจัยเอกสาร โดยศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร ตำรา รายงานการวิจัยในประเทศและต่างประเทศ เว็บไซต์หน่วยงานราชการ กฎหมายที่เกี่ยวข้องของญี่ปุ่นและไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจปัจจัยด้านวัฒนธรรม ได้แก่ ค่านิยมเรื่องความกตัญญูกตเวที ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งในอีกหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อการกำหนดนโยบายผู้สูงอายุ การศึกษาครั้งนี้มุ่งเน้นศึกษาเฉพาะโครงการระบบประกันการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขของญี่ปุ่นและโครงการระบบการดูแลระยะยาวในครอบครัวและชุมชนของไทย โดยผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยวัฒนธรรม คือ ความกตัญญู ซึ่งมีองค์ประกอบย่อย ได้แก่ 1) การดูแลผู้สูงอายุโดยให้ความสำคัญกับความเป็นอิสระ 2) การดูแลผู้สูงอายุโดยให้ความสำคัญกับบทบาทครอบครัว และ 3) การดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน องค์ประกอบทั้งสามประการมีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบายผู้สูงอายุของญี่ปุ่นและไทย</p> ปิยากร หวังมหาพร สัญญาศรณ์ สวัสดิ์ไธสง Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-01-26 2024-01-26 17 2 79 93 ความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติมารยาททางอินเทอร์เน็ตและพฤติกรรมการกลั่นแกล้งออนไลน์ของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนเรศวร https://so02.tci-thaijo.org/index.php/journaldru/article/view/265389 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาเจตคติมารยาททางอินเทอร์เน็ต (2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการกลั่นแกล้งออนไลน์ และ (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติต่อเรื่องมารยาททางอินเทอร์เน็ตและพฤติกรรมการกลั่นแกล้งออนไลน์ของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนเรศวร กลุ่มเป้าหมาย คือ นิสิตระดับปริญญาตรี รายวิชาวิถีชีวิตในยุคดิจิทัล ภาคเรียนที่ 1/2566 มหาวิทยาลัยนเรศวร จำนวน 380 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเจตคติมารยาททางอินเทอร์เน็ตและแบบสอบถามพฤติกรรมการกลั่นแกล้งออนไลน์มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.80-1.00 ซึ่งแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม, เจตคติมารยาททางอินเทอร์เน็ตและพฤติกรรมการกลั่นแกล้งออนไลน์ โดยแบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน ผลการวิจัยพบว่า นิสิตระดับปริญญาตรี ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 19 ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 1 มีเจตคติมารยาททางอินเทอร์เน็ตอยู่ในระดับมาก ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />= 4.36, S.D.= 0.06) และมีพฤติกรรมการกลั่นแกล้งออนไลน์อยู่ในระดับน้อยที่สุด ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />= 1.35,S.D.= 0.23) ซึ่งเจตคติมารยาททางอินเทอร์เน็ตมีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการกลั่นแกล้งออนไลน์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.997, p &lt; 0.05)</p> อพัชชา ช้างขวัญยืน พฤกษา ดอกกุหลาบ กนกรัตน์ จิรสัจจานุกูล ณัฐกานต์ ภาคพรต Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-26 2023-12-26 17 2 94 111 แนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริการและการตลาดการบริการเพื่อยกระดับภาพลักษณ์ร้านขายยา https://so02.tci-thaijo.org/index.php/journaldru/article/view/265565 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและภาพลักษณ์ของร้านขายยาในปัจจุบันและ 2. เพื่อหาแนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริการและการตลาดการบริการเพื่อยกระดับภาพลักษณ์ร้านขายยา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (<strong>Qualitative Research</strong>) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (<strong>In-depth Interview</strong>) เลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเฉพาะเจาะจง <strong>20 </strong>คน ได้แก่ ตัวแทนภาครัฐที่มีหน้าที่กำกับดูแลร้านขายยา <strong>1</strong> คน องค์กรอิสระที่ใกล้ชิดกับร้านขายยา <strong>2 </strong>คน เภสัชกรเจ้าของร้านยา 1 คน เภสัชกรปฏิบัติงานที่ทำงานในร้านขายยา 1 คน ผู้ทำงานใกล้ชิดกับร้านยา 5 คน ผู้ใช้บริการร้านยา 10 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ลักษณะภาพความคิดแรกของร้านขายยามี 2 ลักษณะ คือ เป็นร้านยารูปแบบเก่า มีเป็นร้านทั่ว ๆ ไป ไม่ได้มีความพิเศษ และร้านยารูปแบบปัจจุบันที่อยู่ตามห้างสรรพสินค้า มีการให้บริการโดยเภสัชกร ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่คิดว่า ร้านยาควรมีการพัฒนาให้ดีขึ้น และ 2) ได้แนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริการและการตลาดการบริการเพื่อยกระดับภาพลักษณ์ร้านขายยาโดยใช้ PREP Concept ดังนี้ P (Professional Pharmacist Process) ขั้นตอนการให้บริการทางวิชาชีพเภสัชกรที่ร้านยาให้บริการแสดงออกถึงความเป็นมืออาชีพที่จะสร้างความเชื่อมั่นความมั่นใจให้กับลูกค้าที่เข้ารับบริการร้านขายยาที่เป็นมาตรฐานสม่ำเสมอเหมาะสม R (Reachable) ร้านยาต้องเข้าถึงได้ง่ายเพื่อเชื่อมต่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าในเชิงการสื่อสารทางการตลาดและการเข้าใช้บริการ E (Empathy Engagement) ร้านยาต้องแสดงออกถึงความเข้าอกเข้าใจลูกค้าและให้ลูกค้ามีส่วนร่วมในการรักษา P (Physical Evidence) ร้านยามีสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ดีเพื่อสร้างประสบการณ์ความประทับใจสร้างคุณค่า</p> ธงไชย ชื่นกิ่งแก้ว ดร. วิลาสินี ยนต์วิกัย Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-26 2023-12-26 17 2 112 127 แนวทางการพัฒนาโฮมสเตย์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ของชุมชนเกาะเรียน อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา https://so02.tci-thaijo.org/index.php/journaldru/article/view/264724 <p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาวิสาหกิจชุมชนด้านการให้บริการโฮมสเตย์ การจัดกิจกรรมและเส้นทางท่องเที่ยว 2) พัฒนาวิสาหกิจชุมชนด้านการตลาด ประชาสัมพันธ์ และการสื่อสารออนไลน์ และ 3) พัฒนาวิสาหกิจชุมชนด้านการจัดทำบัญชี ระบบบัญชีโดยใช้กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านท้ายเกาะ ตำบลเกาะเรียน อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ประธานกลุ่ม สมาชิกภายในกลุ่ม และผู้จัดทำบัญชี เครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้แบบสัมภาษณ์ในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยเป็นลักษณะคำถามปลายเปิด (Open-ended Question) ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน การให้บริการโฮมสเตย์ การจัดกิจกรรมและเส้นทางท่องเที่ยว มีการส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของพื้นที่นั้น และการส่งเสริมการพัฒนาที่พักประเภทโฮมสเตย์ ยังไม่มีนโยบายในการส่งเสริมในการพัฒนาที่พักแรมประเภทโฮมสเตย์ 2) ด้านการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน ด้านการตลาด ประชาสัมพันธ์ และการสื่อสารออนไลน์ ยังไม่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม ยังขาดบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจในด้านนี้ 3) ด้านการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน ด้านการจัดทำบัญชี ระบบบัญชี การวิเคราะห์ต้นทุนผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในปัจจุบัน จะใช้วิธีกะประมาณ ไม่มีการวิเคราะห์จุดคุ้มทุน มีความสามารถในงานบัญชีเล็กน้อย การวิเคราะห์ต้นทุนปัจจุบันยังไม่ครอบคลุมตามหลักการบัญชีต้นทุน</p> สมเกียรติ แดงเจริญ เพ็ญนภา หวังที่ชอบ สุภลัคน์ จงรักษ์ Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-26 2023-12-26 17 2 128 140 ผลของการดำเนินงานการจัดการห่วงโซ่อุปทานสีเขียว กรณีศึกษา: อุตสาหกรรมยานยนต์ประเทศไทย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/journaldru/article/view/256894 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ของการศึกษาได้แก่ 1) เพื่อศึกษาเชิงลึกการดำเนินงานห่วงโซ่อุปทานสีเขียวของอุตสาหกรรมรถยนต์ที่มีการนำมาใช้และประสบความสำเร็จร่วมกัน 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ผลประโยชน์การดำเนินการในห่วงโซ่อุปทานสีเขียวของบริษัทคู่ค้าในอุตสาหกรรมรถยนต์ และ 3) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในห่วงโซ่อุปทานสีเขียวของบริษัทคู่ค้าในอุตสาหกรรมยานยนต์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้กรณีศึกษาของอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยใช้กรณีศึกษาจำนวนสองกรณีศึกษาจากสี่บริษัท ซึ่งทั้งสองกรณีศึกษาจะประกอบไปด้วยคู่ค้าระหว่างบริษัทผลิตรถยนต์และบริษัทจากผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ผลที่ได้จากวิจัยพบว่า บริษัทที่ประสบความสำเร็จทางด้านห่วงโซ่อุปทานสีเขียวจะมีการจัดการห่วงโซ่อุปทานในห้าด้าน ได้แก่ การจัดการสิ่งแวดล้อมภายใน การจัดซื้อสีเขียว ความร่วมมือกับลูกค้า ผลประโยชน์ที่ได้รับกลับคืนจากการลงทุน และการออกแบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในส่วนผลการดำเนินงานห่วงโซ่อุปทานสีเขียว ได้แก่ ผลทางด้านสิ่งแวดล้อม ผลทางด้านเศรษฐกิจ และผลทางด้านสังคมและภาพลักษณ์ และสำหรับปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นคือ การมีส่วนร่วมของพนักงานในองค์กร ที่ขาดความรู้ความเข้าใจ และรวมไปถึงความมุ่งมั่นของผู้บริหารระดับสูงที่ต้องมีวิสัยทัศน์เพื่อให้เกิดการตั้งเป้าหมายร่วมกันของบริษัทคู่ค้าเพื่อให้ประสบความสำเร็จร่วมกัน</p> อัณณ์ณิชา ธัญญะชัยรัตน์ สิริธิดา สงขวัญ อนวัช เครือจันทร์ Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-26 2023-12-26 17 2 141 154 รูปแบบการบริหารการพัฒนาการพึ่งตนเองและการปรับตัวของเด็กและเยาวชน ในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน สังกัดกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน https://so02.tci-thaijo.org/index.php/journaldru/article/view/265626 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการพึ่งตนเองและการปรับตัวของเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน 2) ศึกษารูปแบบการพัฒนาพฤติกรรมการพึ่งตนเองและการปรับตัวของเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน และ 3) ศึกษารูปแบบการบริหารการพัฒนาการพึ่งตนเองและการปรับตัวของเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ด้วยการวิจัยเชิงปริมาณเสริมด้วยวิธีการเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจำนวน 231 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งเป็นชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดและแบบประเมินซึ่งเป็นมาตรประเมินค่าจำนวน 11 แบบวัด มี 4 ถึง7 ข้อ ค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (r) ตั้งแต่ 0.222 ถึง 0.643 ค่าความเที่ยง (α) ตั้งแต่ 0.529 ถึง 0.871 การวิเคราะห์ใช้สถิติพื้นฐานสถิติอ้างอิงและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา พบว่า 1) ปัจจัยสถานการณ์ทางสังคม ปัจจัยจิตลักษณะร่วมกับปัจจัยจิตลักษณะตามสถานการณ์ อธิบายพฤติกรรมการพึ่งตนเองและการปรับตัวของเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนได้ร้อยละ 38.3 2) เด็กและเยาวชนซึ่งอาศัยกับปู่ย่าตายายเป็นกลุ่มควรได้รับการพัฒนาก่อน ปัจจัยส่งเสริม คือ การอบรมเลี้ยงดูจากครอบครัวที่ให้ความรักมีเหตุมีผล 3) รูปแบบการพัฒนาการพึ่งตนเองและการปรับตัวของเด็กและเยาวชนมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ4) รูปแบบการบริหารการพัฒนาการพึ่งตนเองและการปรับตัวของเด็กและเยาวชน ฯ ที่สร้างขึ้นเป็นไปได้ในทางปฏิบัติมีคะแนนรายด้านร้อยละ 86.19-94.52 โดยรวมร้อยละ 89.46 สูงกว่าเกณฑ์กำหนดร้อยละ 70/75</p> ชัชปพงศ์ ไทยเพชร์กุล โกศล มีคุณ ศักดิ์ชัย นิรัญทวี วิภาภรณ์ ภู่วัฒนกุล Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-01-24 2024-01-24 17 2 155 171 รูปแบบการลดปัญหาหนี้สินตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของกลุ่มแรงงานนอกระบบ อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/journaldru/article/view/264106 <p>งานวิจัยเรื่อง รูปแบบการลดปัญหาหนี้สินตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของกลุ่มแรงงานนอกระบบ อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก มีวัตถุประสงค์ 1) เพี่อวิเคราะห์ปัจจัยสภาพการเป็นหนี้ของกลุ่มแรงงานนอกระบบ 2) เพื่อออกแบบระบบบัญชีครัวเรือนเพื่อลดปัญหาหนี้สินของกลุ่มแรงงานนอกระบบ 3) เพื่อถ่ายทอดกระบวนการบันทึกบัญชีครัวเรือนแก่กลุ่มแรงงานนอกระบบ 4) เพื่อเสนอรูปแบบการลดปัญหาหนี้สินของกลุ่มแรงงานนอกระบบ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ได้แก่ กลุ่มแรงงานนอกระบบ หมู่บ้านโนนบก ต.สาริกา อ.เมือง จ.นครนายก จำนวน 30 คน เครื่องมือการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์ ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยสภาพการเป็นหนี้สิน จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน แบ่งเป็นชาย 14 คน หญิง 16 คน ลักษณะการประกอบการชีพ เป็นการค้าขายรายได้เฉลี่ยวันละ 1,000 บาท เกษตรกรทำนา เฉลี่ยรายได้ต่อปี 50,000 – 60,000 บาท และรับจ้างทั่วไป มีรายได้เฉลี่ยวันละ 300 – 1,000 บาท ลักษณะของรายได้ เป็นรายได้ที่ไม่แน่นอน จึงทำให้เกิดการกู้เงินทั้งในระบบและนอกระบบ ปัจจัยที่ทำให้เกิดหนี้สินมาจากรายได้ไม่พอใช้ มีรายจ่ายที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของสมาชิกในครอบครัว นอกจากนี้ยังมีรายจ่ายเพื่อการประกอบอาชีพ และมีหลายครอบครัวที่มีรายจ่ายฟุ่มเฟือย 2) กลุ่มแรงงานนอกระบบมีความรู้ในเรื่องบัญชีครัวเรือน แต่ไม่มีการจัดทำบัญชี มีความรู้ว่ารายรับคืออะไร รายจ่ายคืออะไร แต่แยกประเภทของรายจ่ายไม่ได้ มีความรู้ในเรื่องการออม แต่ไม่มีการปฏิบัติ สำหรับแนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีความรู้น้อยมากในหลักการ เคยได้ยินถึงแนวคิดแต่ไม่เข้าใจ และไม่ได้นำแนวทางมาใช้ปฏิบัติในชีวิตประจำวัน 3) การถ่ายทอดกระบวนการบันทึกบัญชี โดยการอบรมและฝึกปฏิบัติการจัดทำบัญชีครัวเรือน ตามแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และได้มอบหมายให้กลุ่มแรงงานนอกระบบลงบัญชีครัวเรือนเป็นเวลา 3 เดือน โดยผู้วิจัยทำการติดตามและร่วมประเมินผลการจัดทำบัญชี 4) รูปแบบการลดปัญหาหนี้สิน พบว่ามีความสนใจแปรรูปผลิตภัณฑ์จากอ้อยดำโดยมีความต้องการทำให้เป็นวงจรตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ เริ่มจากปลูกอ้อยในพื้นที่ เมื่อได้ผลผลิตจึงนำมาแปรรูปเป็นน้ำอ้อยและขนมจากอ้อยดำ นอกจากนี้ทางกลุ่มต้องการลดรายจ่ายในการซื้อปุ๋ยหรือยาในการประกอบอาชีพเกษตรกรจึงทำปุ๋ยหมักชีวภาพใช้เองในครัวเรือน</p> สุพัตรา กันนุช Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-26 2023-12-26 17 2 172 183 ศึกษาการสร้างรูปแบบชุดฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษโดยใช้ Mind Mapping Game ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านพุเลียบและโรงเรียนวัดกาญจนบุรีเก่า จังหวัดกาญจนบุรี https://so02.tci-thaijo.org/index.php/journaldru/article/view/263440 <p> </p> <p>วัตถุประสงค์ของการวิจัย1) เพื่อศึกษาการสร้างรูปแบบชุดฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษโดยใช้ <strong>Mind Mapping</strong></p> <p>Game ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านพุเลียบและโรงเรียนวัดกาญจนบุรีเก่า จังหวัดกาญจนบุรี 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มเป้าหมายได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านพุเลียบและโรงเรียนวัดกาญจนบุรีเก่าจำนวน 30 คน(เลือกแบบเจาะจง) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) ชุดฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษโดยใช้ Mind Mapping Game 2) แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษโดยใช้ Mind Mapping Game มีค่าความสอดคล้อง(IOC) =0.92 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษ 2.1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของโรงเรียนบ้านพุเลียบคะแนนหลังการเรียนรู้โดยใช้ <strong>Mind Mapping</strong> Game มีค่าเฉลี่ย 6.80 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.70 สูงกว่าคะแนนก่อนใช้ชุดแบบฝึกทักษะ มีค่าเฉลี่ย 3.25 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.85 2.2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของโรงเรียนวัดกาญจนบุรีเก่าคะแนนหลังการเรียนรู้โดยใช้<strong>Mind Mapping</strong> Game มีค่าเฉลี่ย 7.70 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.34 สูงกว่าคะแนนก่อนใช้ชุดแบบฝึกทักษะ มีค่าเฉลี่ย 3.00 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.66 ซึ่งค่าเฉลี่ยของคะแนนสอบทั้งสองโรงเรียนหลังการใช้ชุดฝึกทักษะสูงกว่าก่อนการใช้ชุดฝึกทักษะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0.05 3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านพุเลียบและโรงเรียนวัดกาญจนบุรีเก่าที่มีต่อชุดฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษโดยใช้ Mind Mapping Game โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางแต่มีสองประเด็นที่นักเรียนทั้งสองโรงเรียนมีความพึงพอใจในระดับมากเหมือนกันคือ 1) กิจกรรมทำให้เรียนเข้าใจและสนุกสนานในการเขียนภาษาอังกฤษ 2) กิจกรรมทำให้นักเรียนเขียนภาษาอังกฤษได้</p> <p> </p> อนัญญา เอกจีน เพียงจันทร์ โมฟเฟ็ทท์ Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-26 2023-12-26 17 2 184 205 แนวทางการจัดการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/journaldru/article/view/265325 <p>สังคมดิจิทัลในยุคปัจจุบัน สื่อมีพลังและสามารถเข้าถึงประชาชนอย่างกว้างขวางในเวลาอันรวดเร็วมากขึ้น ผลกระทบของสื่อจึงเกิดขึ้นในวงกว้างตามไปด้วย เนื่องจากผู้คนสามารถเปิดรับและใช้สื่อได้ทุกที่ทุกเวลา การรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ จึงมีความสำคัญอย่างมากในการพิจารณาแหล่งข้อมูลที่เหมาะสมในสื่อสังคมออนไลน์ การวิเคราะห์ข้อมูลว่าจริงหรือเท็จ รวมไปถึงการรู้จักประโยชน์และโทษที่มาจากสื่อสังคมออนไลน์ รู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์อย่างมีสติและปัญญาในการเลือกรับข่าวสาร ไตร่ตรอง และใช้ข้อมูลเหล่านั้นให้เกิดประโยชน์ พลเมืองดิจิทัลทุกคนจึงควรมีองค์ความรู้และมีการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ก่อนมีปฏิสัมพันธ์หรือส่งต่อให้บุคคลอื่น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบตามมา การจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ จึงจำเป็นต้องใช้รูปแบบหรือวิธีการที่จะช่วยสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ให้ผู้เรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการกลั่นกรองภายใน ก่อนตัดสินใจแสดงพฤติกรรมตอบสนองต่อข้อมูลข่าวสารในสื่อ ซึ่งวิธีการจัดการเรียนสอนที่สอดคล้องกับทักษะการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ในแต่ละด้านนั้น ผู้เขียนจึงได้นำเสนอการจัดการเรียนรู้โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน การจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริง การจัดการเรียนรู้โดยใช้ความท้าทายเป็นฐาน การจัดการเรียนรู้เชิงสถานการณ์ ฯลฯ เพื่อเป็นแนวทางให้กับผู้สอนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ เนื่องจากวิธีการจัดการเรียนการสอนดังกล่าวมีกระบวนการ ขั้นตอน และแนวคิดการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับทักษะการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ในแต่ละด้าน ซึ่งจะช่วยให้การรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์มีประโยชน์ต่อคนกลุ่มต่างๆ รวมถึงเป็นการรวมศักยภาพด้านต่างๆ ทั้งความรู้ ทักษะ และทัศนคติของตัวผู้เรียนเอง รวมไปถึงครอบครัว ชุมชน และสังคมโลก</p> พฤกษา ดอกกุหลาบ อพัชชา ช้างขวัญยืน กนกรัตน์ จิรสัจจานุกูล ณัฐกานต์ ภาคพรต ธนกฤต ทองคล้ำ Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-26 2023-12-26 17 2 206 225 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความยั่งยืนของกิจการเพื่อสังคม https://so02.tci-thaijo.org/index.php/journaldru/article/view/263008 <p>จากการศึกษา และสังเคราะห์เอกสารวิชาการทั้งในประเทศและต่างประเทศ พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความยั่งยืนของกิจการเพื่อสังคม ประกอบด้วย 5 ปัจจัยหลัก คือ 1) นวัตกรรม (Innovation) นักวิจัยหลายท่านได้ให้ความเห็นว่านวัตกรรมเป็นศูนย์กลางของกระบวนการของกิจการเพื่อสังคม โดยใช้กระบวนการค้นหา การประเมิน การทดลอง แนวคิดใหม่ๆ และกระบวนการสร้างสรรค์ที่อาจส่งผลในผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ๆ ที่สะท้อนให้เห็นในนวัตกรรมของกิจการเพื่อสังคม 2) ความยืดหยุ่นของการพัฒนาองค์กร (Resilience Development) กิจการเพื่อสังคมที่มีความได้เปรียบทางการแข่งขันมักมีรากฐานมาจากวัฒนธรรมองค์กรที่มีความสามารถในการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงได้ทันการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมภายนอก เช่น การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี เป็นต้น 3) ปัจจัยภายในองค์กร (Internal Factors) ที่สอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกันของภารกิจองค์กร (Mission) คุณลักษณะของผู้นำองค์กร (Leadership) โครงสร้างและทรัพยากรในองค์กร (Internal Architecture)</p> <p>4) ปัจจัยภายนอกองค์กร (Ecosystem) อันประกอบด้วย การเข้าถึงแหล่งเงินทุน (Access to Finance) การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ (Access to Networks) และการสนับสนุนจากภาครัฐ (Government Support และ 5) คุณค่าขององค์กร (Value of the organization) ความยั่งยืนของกิจการเพื่อสังคมขึ้นอยู่กับคุณค่าที่คุณค่าที่กิจการเพื่อสังคมนั้นสร้าง ซึ่งอยู่ใน 2 รูปแบบ คือ ผลกำไรและคุณค่าทางเศรษฐกิจ (Profit and Economic Value) และคุณค่าทางสังคม (Social Value) ทั้ง 5 ปัจจัยเป็นองค์ประกอบสำคัญในการพัฒนาขีดความสามารถ และส่งเสริมกิจการเพื่อสังคมให้เกิดการเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน</p> สราวุธ วงษ์พยัคฆ์ วิลาสินี ยนต์วิกัย Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-29 2024-03-29 17 2 226 237 หลักสูตรฐานสมรรถนะสู่การพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/journaldru/article/view/262305 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ จะนำไปสู่การพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ที่มีเป้าหมายให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะหลักที่จำเป็นสำหรับการทำงาน การแก้ปัญหา และการดำรงชีวิต ในสภาพปัญหาที่พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงของบริบททางสังคมและสภาวการณ์ของโลกในยุคศตวรรษที่ 21 จะเห็นว่าผู้เรียนนั้นไม่สามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการศึกษา มาใช้ในการปรับตัวให้ทันการเปลี่ยนแปลงของโลกได้เท่าที่ควร โดยมีปัจจัยสำคัญคือทำให้หลักสูตรการศึกษาในระดับต่าง ๆ ที่ยังไม่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 21 ทำให้ผู้เรียนมีความรู้แต่ขาดทักษะและสมรรถนะในการใช้ความรู้ ความสามารถที่จะนำไปใช้แก้ปัญหาให้เกิดประโยชน์ในชีวิตได้ ส่วนใหญ่จะเรียนรู้โดยการอาศัยการจำเป็นหลัก จึงมีความรู้ ความเข้าใจในระดับผิวเผิน ไม่รู้ลึก ไม่รู้จริง ไม่รู้จักตนเองอย่างถ่องแท้ ไม่รู้ศักยภาพและความถนัดของตนเอง ไม่เห็นคุณค่าของการเรียนรู้ ยังเห็นว่าการเรียนรู้ไม่มีความหมายต่อตนเองและการดำรงชีวิตของตน จากปัญหาดังกล่าวมีสาเหตุสำคัญมาจากการจัดการเรียนรู้และการวัดประเมินผลของครูผู้สอน ซึ่งเป็นผลมาจากหลักสูตรที่กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดจำนวนมากเกินไปและหลักสูตรที่อิงเนื้อหา รวมทั้งการจัดการเรียนการสอนที่ยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่สอดคล้องกับตัวชี้วัดส่งผลทำให้การเรียนรู้ขาดประสิทธิภาพ เนื่องจากหลักสูตรเป็นกรอบในการสอนของครู ดังนั้นควรมีการปรับหลักสูตรให้ไปในทิศทางที่นำสู่คุณภาพของผู้เรียนตามที่ต้องการ หากต้องการให้ผู้เรียนที่มีสมรรถนะสูง สามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้จริง การปรับปรุงหลักสูตรให้มีจุดมุ่งหมายสู่การพัฒนาฐานสมรรถนะ จึงมีความจำเป็นและสำคัญอย่างยิ่งที่ต้องพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียน เพราะเป็นแนวทางที่สามารถปรับทิศทางการเรียนการสอนสู่การพัฒนาที่ให้ความสำคัญกับทักษะและสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 เพราะความสำเร็จในชีวิตของผู้เรียนขึ้นอยู่กับระดับสมรรถนะของผู้เรียนเอง ซึ่งหลักสูตรฐานสมรรถนะสามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้ และจะนำไปสู่การพัฒนาทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 อย่างแท้จริง</p> สุชาติ คุ้มสุทธิ์ Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-26 2023-12-26 17 2 238 258