การพัฒนาโปรแกรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดของนักศึกษาวิชาชีพครู

ผู้แต่ง

  • นภัส ศรีเจริญประมง สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

คำสำคัญ:

โปรแกรมการเรียนรู้, หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, ทักษะการคิด, นักศึกษาวิชาชีพครู

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและทดลองใช้โปรแกรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดของนักศึกษาวิชาชีพครูโดยโปรแกรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงที่พัฒนาขึ้นมี3ขั้นตอน คือขั้นที่1การสร้างโปรแกรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ขั้นที่2การทดลองใช้โปรแกรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและขั้นที่3การปรับปรุงโปรแกรม การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณีจำนวน 30คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบวัดทักษะ การคิดของนักศึกษาวิชาชีพครูและแบบสอบถามความคิดเห็นใน การเข้าร่วมโปรแกรมการเรียนรู้ตามหลัก ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า(t-test) ผลการวิจัย พบว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะการคิดของกลุ่มทดลองมีคะแนนทักษะการคิดสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 หลังเข้าร่วมโปรแกรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นักศึกษาวิชาชีพครูมีความคิดเห็นเกี่ยวกับโปรแกรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อยู่ใน ระดับมาก

References

ทิศนา แขมมณี. (2543). ทฤษฎีใหม่กับการศึกษาพอเพียง. วารสารทางวิชาการ. 3 (1), หน้า 28-32.

. (2551). รูปแบบการเรียนการสอน: ทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

. (2556). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.
พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

. (2558). ถอดรหัสปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การสอนกระบวนการคิด. พิมพ์ครั้งที่ 2.
กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธรรมรักษ์ การพิศิษฐ์. (2546).ยุทธศาสตร์สร้างสรรค์พลังแผ่นดินเพื่อการพัฒนาประเทศ. กรุงเทพมหานคร:
สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.

พัชรี ปิยภัณฑ์. (2558).กระบวนการพัฒนาทักษะการสืบค้นข้อมูลและตั้งโจทย์วิจัยของนักศึกษาคณะครุศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. 9 (1), หน้า 48.

มนตรี วงษ์สะพาน. (2556). การยกระดับการเรียนรู้ของนักเรียนด้วยกระบวนการคิดวิเคราะห์.
วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ. 13 (2), หน้า 125-139.

วรัลดา หนูรุ่น. (2559).การวิจัยและพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1
โรงเรียนหงสประภาสประสิทธิ์สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา
เขต 2. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. 10 (1), หน้า 68.

ศศิภา จงรักโชคชัย. (2557). การขาดทักษะการคิดวิเคราะห์. ค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2557, จาก
http://www.taamkru.com.th.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2543). การปฏิรูปการเรียนรู้ผู้เรียนสำคัญที่สุด. พิมพ์ครั้งที่ 2.
กรุงเทพมหานคร : พิมพ์ดี.

. (2544). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร : พริกหวานกราฟฟิค.

. (2545).แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2545-2559) ฉบับสรุป. พิมพ์ครั้งที่2.กรุงเทพมหานคร :
พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานคณะอนุกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห ่งชาติ(สศช.). (2550). การประยุกต์ใช้
หลักเศรษฐกิจพอเพียง.กรุงเทพมหานคร:สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ.

สำนักงานคณะอนุกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.). (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559). กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์สำนักการพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สุวัฒน์ วิวัฒนานนท์. (2550). การศึกษาพอเพียง (ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง).
กรุงเทพมหานคร : ซี. ซี. นอลลิดจ์ลิงคส์.

Boyle, P. G.(1981). Planning better program. New York: McGraw-Hill.

Sternberg,R. J. & Davidson, J.E. (2003). The Psychology of Problem Sloving. United Kingdom:
The Press Syndicate of The University of Cambridge.

Downloads