อำนาจเชิงปทัสถานกับผลประโยชน์แห่งชาติ ในกระบวนการสร้างนโยบายของสหภาพยุโรปเกี่ยวกับวิกฤติผู้ลี้ภัย:

กรณีศึกษาความตกลงสหภาพยุโรป-ตุรกี

ผู้แต่ง

  • ชนกนันท์ บริพนธ์ นักวิชาการอิสระ กรุงเทพมหานคร

คำสำคัญ:

อำนาจเชิงทัสถาน, สหภาพยุโรป, ความตกลงระหว่างสหภาพยุโรปกับตุรกี, ผลประโยชน์แห่งชาติ, บรรทัดฐาน

บทคัดย่อ

อำนาจเชิงปทัสถาน (Normative Power) คือหนึ่งในอำนาจสำคัญของสหภาพยุโรป (European Union) ที่จะกรอบความคิด สร้างกฎเกณฑ์หรือมโนภาพแห่ง ‘ความปกติร่วมกัน’ โดยคาดหวังให้บรรทัดฐานที่ทั้งมีอยู่แล้วและเกิดขึ้นมาใหม่กลายเป็นที่ยอมรับทั้งจากสมาชิกสหภาพฯ และสังคมโลก ในกรณีวิกฤติผู้ลี้ภัยในยุโรปคือประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนซึ่งอาศัยการแพร่กระจายอย่างเป็นกระบวนการ (procedural diffusion) ในการสร้างความตกลงสหภาพยุโรป-ตุรกีมีเป้าหมายเพื่อจัดการกับวิกฤติผู้ลี้ภัย โดยมีมาตรการได้แก่ การส่งกลับผู้ลี้ภัยที่เข้ามาอย่างผิดปกติ มาตรการควบคุมการเดินทางของผู้ลี้ภัย และนโยบายวันทูวัน (one-to-one) อย่างไรก็ดีนี่ไม่ใช่ความร่วมมือดีที่สุดที่จะเกิดขึ้นได้ ปัญหาต่าง ๆ ยังคงเกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นความไม่ไว้ใจของตุรกีต่อท่าทีของสหภาพยุโรป การที่บรรทัดฐานไม่ได้รับการยอมรับ ความไม่ผูกมัดของความตกลง ภาพลักษณ์มหาอำนาจเชิงปทัสถานของยุโรปที่สั่นคลอน และที่สำคัญที่สุดคืออันตรายที่อาจเกิดต่อผู้ลี้ภัยอันเป็นผลมาจากความตกลงนี้ ความบกพร่องเหล่านี้ร่วมกับทฤษฎีเน้นความร่วมมือโดยรัฐบาลสมาชิก (Intergovernmentalism) ช่วยชี้ให้เห็นว่าแท้จริงแล้วตัวแสดงทั้งสองยังคงยึดเอาผลประโยชน์แห่งชาติเป็นสำคัญในการดำเนินนโยบาย และในความเป็นจริงองค์กรเหนือรัฐไม่ได้ทำหน้าที่เป็นตัวบังคับใช้บรรทัดฐานแต่อย่างใด หากแต่เป็นเวทีเพื่อการผลักดันผลประโยชน์แห่งชาติมากกว่า และปรากฎการณ์ยังนี้บ่งชี้ให้ผู้ศึกษาเห็นอีกว่ามหาอำนาจเชิงปทัสถานยังไม่เข้มแข็งในการวางรากฐานภายในได้

References

Amy Verdun, “Intergovernmentalism: Old, Liberal, and New” University of Victoria, https://doi.org/10.1093/acrefore/9780190228637.013.1489.

Andrew Moravcsik and Frank Schimmelfennig, “Liberal Intergovernmentalism” in European Integration Theory, 3rd ed., (Oxford University Press, 2019).

Annett Meiritz and Dara Lind, “Why Germany just closed its borders to refugees,” Vox, 14 September 2015, https://www.vox.com/2015/9/13/9319741/germany-borders-merkel (accessed on 10 December 2020).

Bianca Benvenuti, The Migration Paradox and EU-Turkey Relations, (Istituto Affari Internazionali, 2017).

Canan E. Tabur, 2012, The decision-making process in EU policy towards the Eastern neighbourhood: the case of immigration policy, Philosophy in Contemporary European Studies University of Sussex.

“Erdogan vows to keep doors open for refugees heading to Europe,” Aljazeera, 29 February 2020, https://www.aljazeera.com/news/2020/2/29/erdogan-vows-to-keep-doors-open-for-refugees-heading-to-europe (accessed on 7 December 2020).

Ian Manners, The Concept of Normative Power in World Politics, (Danish Institute for International Studies, 2009).

Ian Manners, “Normative Power Europe: A Contradiction in Terms?,” JCMS Vol. 40, No. 2 (2002): 238-239.

Kim Rygiel, Feyzi Baban, Susan Ilcan, “The Syrian refugee crisis: The EU-Turkey ‘deal’ and temporary protection,” Global Social Policy 2016, Vol. 16, No.3: DOI:10.1177/1468018116666153.

Manfred Weber, “EU-Turkey relations need an honest new start,” European View 2018, Vol. 17, No. 1: DOI: 10.1177/1781685818765095.

Mark Provera, “The EU-Turkey Deal: Analysis and Considerations,” Jesuit Refugee Service Europe, 2016, https://jrseurope.org/assets/Publications/File/JRS_Europe_EU_Turkey_Deal_policy_analysis_2016-04-30.pdf.

Muhammad Hussein, “Remembering Alan Kurdi,” MiddleEastMonitor, 2 September 2020. https://www.middleeastmonitor.com/20200902-remembering-aylan-kurdi/ (accessed on 13 December 2020).

Thomas Diez, “Normative power as hegemony,” Cooperation and Conflict Vol. 48, No.2 (2013): DOI: 10.1177/0010836713485387.

Thomas Diez and Michelle Pace, “Normative Power Europe and Conflict Transformation,” ResearchGate 17 September 2014, https://www.researchgate.net/publication/29997518_Normative_Power_Europe_and_Conflict_Transformation (accessed on 11 November 2020).

ณัฐนันท์ คุณมาศ, “ทฤษฎีในการศึกษาสหภาพยุโรป: จากการบูรณาการ นโยบายทางเลือก สู่กระบวนการยุโรปภิวัตน์,” วารสารยุโรปศึกษา ปีที่ 42, ฉบับที่ 1 (2555): 138-141.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-30