โมเดลสมการโครงสร้างสมรรถนะของผู้บริหารในวิถีปกติใหม่ที่ส่งผลต่อโรงเรียนคุณภาพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในกลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาระดับสมรรถนะของผู้บริหารในวิถีปกติใหม่และโรงเรียนคุณภาพ 2) พัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลสมการโครงสร้างสมรรถนะของผู้บริหารในวิถีปกติใหม่ที่ส่งผลต่อโรงเรียนคุณภาพ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารในวิถีปกติใหม่ที่ส่งผลต่อโรงเรียนคุณภาพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในกลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (mixed methods research) แบบแผนเชิงอธิบาย (explanatory design) ระยะที่ 1 ใช้วิธีเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 440 คน ประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษาและครู โดยใช้วิธีการสุ่มแบบสองขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (SEM) ระยะที่ 2 ใช้วิธีเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง กลุ่มเป้าหมายได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับสมรรถนะของผู้บริหารในวิถีปกติใหม่โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (M = 4.41, SD = 0.40) ระดับโรงเรียนคุณภาพโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.58, SD = 0.25) 2) โมเดลสมการโครงสร้างสมรรถนะของผู้บริหารในวิถีปกติใหม่ที่ส่งผลต่อโรงเรียนคุณภาพมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ สมรรถนะของผู้บริหารในวิถีปกติใหม่มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อโรงเรียนคุณภาพ มีขนาดอิทธิพลรวมเท่ากับ 0.774 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยตัวแปรสมรรถนะของผู้บริหารในวิถีปกติใหม่ในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของโรงเรียนคุณภาพได้ร้อยละ 60 และ 3) แนวทางการพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารในวิถีปกติใหม่ที่ส่งผลต่อโรงเรียนคุณภาพ ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการบริหารการเปลี่ยนแปลง ผู้บริหารควรนำโรงเรียนและบุคลากรให้พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในวิถีปกติใหม่ 2) ด้านการปรับตัวและยืดหยุ่น ผู้บริหารควรปรับตัวและมีความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการองค์การ 3) ด้านการสร้างทีมร่วมแรงร่วมใจ ผู้บริหารควรส่งเสริมการสร้างทีมงานที่หลากหลาย 4) ด้านการสื่อสารเชิงสร้างสรรค์ ผู้บริหารควรพัฒนาทักษะการสื่อสารและการเจรจาต่อรองเพื่อลดปัญหาความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นในวิถีปกติใหม่อย่างเหมาะสม และ 5) ด้านการรู้เท่าทันเทคโนโลยีดิจิทัล ผู้บริหารควรเป็นแบบอย่างที่ดีในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการบริหารจัดการ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนใดส่วนหนึ่งไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ก่อนเท่านั้น
References
Adecco. (2021). Qualities that the new generation of executives. https://www.adecco.co.th/en/knowledge-center/detail/7-qualities-of-modern-leaders
Cronbach. (1970). The evolution of research. Harper Collins.
Hair, J.F., Black, W.C., Babin, B.J., & Anderson, R.E., (2010). Multivariate data analysis: A global perspectives. Pearson Education.
Harris, R. (2020). FACE COVID: How to respond effectively to the corona crisis. https://www.asra.com/page/2915/take-care-of-yourselfduringcovid?fbclid=IwAR2UQ1PUIatYaSgUQMqKcrhQrxOz04mhRat6kmIDal6HlVjC56KWwy8O0c
Shannon, G.S. & Bylsma, P. (2007). Nine Characteristics of High-Performing Schools: A Research-Based Resource for Schools and Districts to Assist with Improving Student Learning (2nd ed). Washington Office of Superintendent of Public Instruction.
Zwell, M. (2000). Creating a Culture of Competence. John Wiley & Sons, Inc.
Boonpak, K. (2020). Learning management in the New Normal era. Journal of Industrial Education, 19(2), A1–A6. (in Thai)
Chantawanich, A. (2004). Guidelines for the management and development of educational institutes towards quality schools. Prikwarn Graphic Co., Ltd. (in Thai)
Deewattanakul, P., Changrien. P & Prachyapruit.T. (2020). Executives’ Competency and Human Resource Development of a Local Administrative Organizations in Bangkok. Journal of MCU Buddhapanya Review, 5(2), 178-193. (in Thai)
Isarakraisil, S. (2020). Royal Academy coined the term “New Normal”, a new normal, a new way of life. https://www.facebook.com/surapol.issaragrisil/posts/10207392559168907. (in Thai)
Kantaphum, U. (2015). The development of a model for cooperation networks in learner quality development for elementary school Under the Office of Primary Educational Service Area [Doctoral dissertation]. Mahasarakham University. (in Thai)
Narathai, B. (2020). Skills of the future" Chu Tin globalization creates digital people. https://www.prachachat.net/csr-hr/news-574051. (in Thai)
Office of Education Region 12. (2021). Strategic Plan for Regional Education Development. Office of Education Region 12, 2020 - 2022 (reviewed edition 2021). Office of Education Region 12. (in Thai)
Office of the Civil Service Commission (2020). Guidelines for government personnel development, 2020 - 2022. https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/attachment/page/guide_civilservice_update.pdf. (in Thai)
Pittayapongsakorn, N. (2020). What is the new normal of Thai education? When distance learning is not the answer. https://tdri.or.th/2020/05/desirable-new-normal-for-thailand-education/ (in Thai)
Ploytuptim, T. (2017). A Study of Competency Development Guidelines for Educational Institution Administrators under the Secondary School in the lower northern region [Master's Thesis]. Lampang Rajabhat University. (in Thai)
Promkul, S. & Sirisuksilp, S. (2020). The Structural Equation Model of Integrative Leadership Affecting Secondary School Quality. under the jurisdiction of the Secondary Education Service Area Office Upper Northeastern Group [Master's Thesis]. Khon Kaen University. (in Thai)
Tangsirichaiphong, R. (2010). The Effect of School Administrator Competencies on Academic Administrative Effectiveness of Secondary Schools in the Northeastern Region [Doctoral dissertation]. Udon Thani Rajabhat University. (in Thai)