การประเมินความต้องการจำเป็นด้านการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน สำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู

Main Article Content

ไพวรัญ พนมอุปการ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันในการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนตามการรับรู้ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู และ 2) วิเคราะห์และจัดลำดับความต้องการจำเป็นในการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ประชากรคือ นักศึกษาชั้นปีที่ 5 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ในปีการศึกษา 2561 จำนวน 464 คน และอาจารย์นิเทศก์ จำนวน 5 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินความต้องการจำเป็นด้านการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น 0.98  และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย วิเคราะห์และจัดลำดับความต้องการจำเป็น โดยการวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างสภาพที่เป็นอยู่กับสภาพที่ควรจะเป็นด้วยการเรียงลำดับผลต่างของคะแนนเฉลี่ย ด้วยวิธี Modified Priority Index (PNImodified) ผลการวิจัยพบว่า


1) สภาพปัจจุบันในการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนตามการรับรู้ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต พบว่านักศึกษามีมีพฤติกรรมในการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนอยู่ในระดับค่อนข้างมาก โดยองค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการลงมือปฏิบัติตามแผนการวิจัย (gif.latex?\bar{x} = 3.75, S.D. = 0.72) รองลงมาคือ ด้านการกำหนดปัญหา/ประเด็นในการทำวิจัย (gif.latex?\bar{x} = 3.70, S.D. = 0.76) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการออกแบบการวิจัย (gif.latex?\bar{x} = 3.67, S.D. = 0.71) 


2) ผลการจัดลำดับความต้องการจำเป็นด้านการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู พบว่า นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนใน 3 ลำดับแรก คือ การออกแบบการวิจัย (PNImodified = 0.31) การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง (PNImodified = 0.30) และการสรุปผลการวิจัยและการเขียนรายงานการวิจัย (PNImodified= 0.30)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กันต์ฤทัย คลังพหล และ สาธิดา สกุลรัตนกุลชัย. (2558). ผลการประเมินความต้องการจำเป็นเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการทำวิจัยในชั้นเรียนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 10(1), 96–108.

เกศนีย์ พิมพ์พก, ฤตินันท์ สมุทร์ทัย, สมศักดิ์ ภู่วิภาดาวรรธน์ และเกียรติสุดา ศรีสุข. (2560). รูปแบบการนิเทศติดตามและประเมินความสามารถในการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 23(2), 45-52.

ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. 2556. (2556, 19 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 130 ตอนพิเศษ 130 ง. หน้า 65-71.

จิตติรัตน์ แสงเลิศอุทัย และชัยยุธ มณีรัตน์. (2562). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร, 9(2), 1-11.

ชนิกามาศ เจริญสุข. (2557). การประยุกต์ใช้กระบวนการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อแก้ไขมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชูชัย สมิทธิไกร. (2552). การสรรหา การคัดเลือกและการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร (ฉบับเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โชติกา ภาษีผล. (2559). การวัดและประเมินผลการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นันทกาญจน์ ชินประดิษฐ์. (2553). การพัฒนาโปรแกรมการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเพื่อส่งเสริมการคิดไตร่ตรองของนิสิตครูระหว่างฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู : การทดลองแบบพหุกรณีศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

น้ำเพชร นาสารีย์ และสำราญ มีแจ้ง. (2561). การเปรียบเทียบความรู้และคุณภาพงานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ด้วยการสอนแบบใช้กระบวนการให้ข้อมูลย้อนกลับและการสอนแบบปกติ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 41(1), 63–74.

ปารมี ตีรบุลกุล. (2558). อิทธิพลของการปฏิบัติงานแบบสะท้อนคิดและความสามารถด้านการนิเทศที่มีต่อการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของนิสิตนักศึกษาครูโดยมีการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์เป็นตัวแปรส่งผ่าน. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุบิน ยุระรัช. (2554). แนวคิดเกี่ยวกับการสังเคราะห์งานประเมินความต้องการจําเป็น. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 13(2), 31–54.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2557). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้ง17. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจําเป็น (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Duangmanee, A., Chuduang, A., & Cheoysuwan, W. (2015). A Needs Assessment in Research Methodology of Naval Medical Department Personnel. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 197, 697–702.

Jean, M., & Jack, W. (2009). You and Your Action Research Project. London: Routledge.

Lew, M. M., & Mohsin, M. (2011). Action Research Project in Teacher Education Program: Pre-service Teachers’ Competency and Weaknesses. International Journal of Learning, 18(1), 565–573.

Moghaddam, A. (2007). Action Research: A Spiral Inquiry for Valid and Useful Knowledge. The Alberta Journal of Educational Research, 53(2), 228-239.

O’connor, K. A., Greene, H. C., & Anderson, P. J. (2006). Action Research: A Tool for Improving Teacher Quality and Classroom Practice. Annual Meeting of the American Educational Research Association. San Francisco, CA.

Borg, S.(2014). Teacher research for professional development. In Pickering, G., Gunashekar, P.(eds.). papers from the fourth International Teacher Educator Conference Hyderabad, India.