โมเดลสมการโครงสร้างของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความภักดีเชิงพฤติกรรม ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องโมเดลสมการโครงสร้างของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความภักดีเชิงพฤติกรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทย 2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรง อิทธิทางอ้อม และอิทธิพลรวมต่อความภักดีเชิงพฤติกรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาที่มาใช้บริการที่มหาวิทยาลัยเอกชน จำนวน 400 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือในการวิจัยที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนา และ การวิเคราะห์สมการโครงสร้างโดยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ พบว่า คุณภาพบริการ ภาพลักษณ์ ความพึงพอใจ มีอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมต่อความภักดีเชิงพฤติกรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทย และดัชนีทุกตัวได้แก่ GFI=0.914, AGFI=0.912, CFI=0.988, RMSEA = 0.014, SRMR=0.0121 ผ่านเกณฑ์ตามลำดับ ซึ่งแสดงว่าโมเดลสมการโครงสร้างของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความภักดีเชิงพฤติกรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทย มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนใดส่วนหนึ่งไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ก่อนเท่านั้น
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2557). การวิเคราะห์สมการโครงสร้างด้วย AMOS. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2558). เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2558. [ออนไลน์]. ได้จาก http://www.mua.go.th/users/bhes/front_home/criterion58/criterion_b58.PDF. [สืบค้นวันที่ 7 มกราคม 2563].
Abd-El-Salam, E.M., Shawky, A.Y., & El-Nahas, T. (2013). The impact of corporate image and reputation on service quality, customer satisfaction and customer loyalty: Testing the Mediating role. Case analysis in an international service company. The Business and Management, 3(2), 177-196.
Chi, C.G.Q., & Qu, H. (2008). Examining the structural relationships of destination image, tourist satisfaction and destination loyalty: An integrated approach. Tourism Management, 29,624-636.
Cochran, W.G. (1953). Sampling Techniques. New York: John Wiley & Sons. Inc.
Cronin, J.R. (2000). Assessing the Effects of Quality, Value, and Customer Satisfaction on Consumer Behavioral Intention in Service Environments. Journal of Retailing, 76(2): 193-218.
Crosby, P. (1986). Quality is free. New York: McGrew-Hill.
Feigenbaum, A. (1987). Total Quality Management and business performance. Journal of Social and Behavioral Sciences, 129, 224-249.
Gures, N., Arslan, S., & Tun, S.Y. (2014). Customer expectation, satisfaction and loyalty relationship in Turkish education industry. International Journal of Marketing Studies, 6(1), 66-74.
Juran, J. (1989). Juran of leadership for quality. New York: Free Press.
Kotler, P. (2000). Marketing Management (10thed.). New Jersey: Prentice Hall.
Okeudo.G and Chikwendu.D.U. (2013). Effects of airline service quality on airline image and passenger loyalty: Findings from Arik Air Nigeria passengers. Journal of hospitality management and tourism, 4(2), 19-28.
Oliver, R.L. (2010). Satisfaction: A Behavioral Perspective on the consumer (2nd ed). Armonk, NY.
Omotayo & Joachim. (2008). Customer service in the retention of mobile phone users in Nigeria. African. Journal of Business Management. 2(2): 26-31.
Zeithaml, V. A., Parasuraman, A., & Berry, L. L. (1988). Delivering Quality Service: Balancing Customer Perceptions and Expectations, New York: The Free Press.