การประเมินหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559) คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Main Article Content

วิภาดา วิจักขณาลัญฉ์
วิทยา จารุพูนผล
นันทวรรณ ทิพยเนตร
อัจฉรา คำยา
ชลลดา ทอนเสาร์
จันทนา ศรีพราว
เกียรติศักดิ์ ชัยพรม
วชิร ชนะบุตร

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องการประเมินหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559) คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559) คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559) การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยประเมินผล (evaluation research) โดยใช้รูปแบบการประเมินหลักสูตรแบบ CIPP Model ของ Daniel L. Stufflebeam (1971) กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย นิสิตสาขาวิชาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ชั้นปีที่ 1-4 ที่กำลังศึกษาในปีการศึกษา 2562 จำนวน 143 คน บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาปีการศึกษา 2561 จำนวน 28 คน ผู้ใช้บัณฑิต จำนวน 28 คน อาจารย์ผู้สอน จำนวน 20 คน รวมทั้งอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจารย์ประจำหลักสูตร จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( gif.latex?x\bar{}) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) 


ผลการวิจัยพบว่า 


1. ผลการประเมินหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559)


  1.1 ผลการประเมินบริบทของหลักสูตร (context) พบว่า บริบทในภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมาก ส่วนรายด้านพบว่า การดำเนินงานของสาขาวิชาและจุดแข็งของสาขาวิชามีความเหมาะสมในระดับมาก


  1.2 ผลการประเมินปัจจัยนำเข้าของหลักสูตร (input) พบว่า ปัจจัยนำเข้าในภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมาก ส่วนรายด้านพบว่า คุณสมบัติของคณาจารย์ วัตถุประสงค์ของหลักสูตร โครงสร้างเนื้อหาสาระของหลักสูตร คุณสมบัติของผู้เรียนและการสอบคัดเลือก สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ งบประมาณในการผลิตบัณฑิต และการสนับสนุนการเรียนการสอนมีความเหมาะสมในระดับมาก


  1.3 ผลการประเมินกระบวนการของหลักสูตร (process) พบว่า กระบวนการในภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมาก ส่วนรายด้านพบว่า พฤติกรรมการจัดการเรียนการสอนของผู้สอน พฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน การจัดการเรียนการสอน และการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ การสนับสนุนการเรียนการสอน และการบริหารหลักสูตรมีความเหมาะสมในระดับมาก


  1.4 ผลการประเมินผลผลิตของหลักสูตร (product) พบว่า ผู้ใช้บัณฑิตมีความพึงพอใจต่อบัณฑิตในภาพรวมและรายด้านซึ่งเป็นการประเมินผลลัพธ์ของบัณฑิตตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตรในระดับมาก


2. แนวทางการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559) ประกอบด้วย การปรับชื่อหลักสูตร การกำหนดวัตถุประสงค์ของหลักสูตรให้ครอบคลุมผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 และสอดคล้องกับเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และการปรับโครงสร้างและเนื้อหาสาระของหลักสูตร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นิวัฒน์ บุญสมและคณะ. (2560) การประเมินหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. Veridian E-Journal, Silpakorn University. ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 10(1), 786-806.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

เพ็ญพนอ พ่วงแพและคณะ. (2560). การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 10(2), 682-693.

รัตนะ บัวสนธ์. (2556). รูปแบบการประเมิน CIPP และ CIPPIEST มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนและถูกต้องในการใช้ CIPP and CIPPIEST Evaluation Models: Mistaken and Precise Concepts of Applications. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 5(2), 7-24.

รัตนศิริ เข็มราชและคณะ. (2558). รายงานการวิจัย เรื่อง การประเมินหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษในฐานะเป็นภาษาโลก. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

วรทัศน์ วัฒนชีวโนปกรณ์. (2554). รายงานผลการวิจัยเรื่องการประเมินหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต บัณฑิตระดับปริญญาตรีของวิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อิศเรศ พิพัฒน์มงคลพร และคณะ. (2556). รายงานการวิจัยเรื่อง การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตร บัณฑิต สาขาวิชาการประถมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Stufflebeam, D.L., et al. (1971). Educational Evaluation and Decision Making. Itasca, Illinois: Peacock Publishing.