การประเมินโครงการเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย (ทวิศึกษา) กรณีศึกษาโรงเรียนเนินสะอาดวิทยาคม โดยใช้การประเมินแบบตอบสนอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย (ทวิศึกษา) กรณีศึกษาโรงเรียนเนินสะอาดวิทยาคม โดยใช้การประเมินแบบตอบสนอง ซึ่งเป็นการประเมินเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ มีขั้นตอนการประเมิน 12 ขั้นตอน ที่เรียกว่า “นาฬิกาการประเมินแบบตอบสนอง” แหล่งข้อมูล ได้แก่ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับโครงการทุกกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และประเด็นการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์และประเด็นการสนทนากลุ่มด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและสรุปความ โดยประเด็นการประเมินผู้ประเมินได้ยึดแนวคิดเชิงระบบมาจัดกลุ่มคำถามการประเมิน ผลการประเมินสรุป ดังนี้
1) ด้านบริบท พบว่า จุดมุ่งหมายของโครงการในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลเชิงคุณภาพเกี่ยวกับเหตุผลที่นักเรียนเลือกเรียนในโครงการ
2) ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า โครงสร้างหลักสูตรทวิศึกษาในรายวิชาเพิ่มเติมสอดคล้องกับโครงสร้างหลักสูตรรายวิชาหมวดทักษะวิชาชีพของวิทยาลัยสารพัดช่าง พิษณุโลก การคัดเลือกครูผู้สอนในโครงการพิจารณาจากคุณวุฒิ ความรู้ ความสามารถ และข้อจำกัดด้านตารางสอน ด้านสื่อวัสดุอุปกรณ์และสภาพห้องเรียนรวมถึงสถานที่ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก แต่จากการสนทนากลุ่มพบว่าสื่อวัสดุอุปกรณ์บางอย่างไม่เพียงพอต่อการเรียน และด้านงบประมาณที่ใช้ในการเรียน ประกอบด้วยค่าใช้จ่ายในระหว่างเรียน และค่าใช้จ่ายในระหว่างฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
3) ด้านกระบวนการ มีผลการประเมินดังนี้ (1) การประชาสัมพันธ์โครงการ พบว่า การออกไปแนะแนวของทางโรงเรียนเป็นรูปแบบที่มีประสิทธิภาพที่สุด (2) กระบวนการจัดการเรียนการสอน พบว่า วิธีสอนที่เน้นการปฏิบัติเป็นวิธีสอนที่น่าสนใจ ทำให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง แต่จากการสัมภาษณ์พบว่า ตารางเรียนของนักเรียนเกิดปัญหาในการซ้อนทับกัน และมีข้อจำกัดด้านเวลาเรียนทำให้นักเรียนในโครงการไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมของทางโรงเรียนได้ (3) การเทียบโอนผลการเรียน พบว่าทางโรงเรียนไม่ได้ยึดแนวทางการปฏิบัติของการจัดการศึกษาเรียนร่วม (ทวิศึกษา) จึงส่งผลให้นักเรียนมีจำนวนหน่วยกิตไม่เพียงพอต่อการสำเร็จการศึกษา (4) การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ปัญหาที่พบคือ นักเรียนไม่ได้ฝึกงานตรงกับสาขาที่เรียนและมีความบกพร่องด้านวินัยในการปฏิบัติงาน สถานประกอบการบางแห่งเปิดปิดทำการไม่ตรงเวลา รวมถึงมีระยะทางไกลจากที่พักของนักเรียน และ (5) การนิเทศติดตามครูผู้สอนของวิทยาลัยสารพัดช่าง พิษณุโลก พบว่ามีการนิเทศติดตามโดยตรงจากผู้อำนวยการวิทยาลัยสารพัดช่าง พิษณุโลก จากเพื่อนร่วมงาน และจากสำนักงานมาตรฐานวิชาชีพและศึกษาธิการจังหวัด
4) ด้านผลผลิต พบว่า ผู้ประกอบการคิดว่าคุณภาพของผู้เรียน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
5) ด้านผลกระทบ พบว่า จำนวนนักเรียนในสายวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ มีจำนวนลดลง และจำนวนห้องเรียนไม่เพียงพอต่อจำนวนนักเรียน
6) ด้านประเด็นเพิ่มเติม พบว่า นักเรียนต้องการให้เปิดสาขาเพิ่มเติม คือ สาขาวิชาช่างไฟฟ้า สาขาวิชาการโรงแรม และสาขาวิชาช่างกลโรงงาน นอกจากนี้ยังพบว่านักเรียนที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ มีความคิดเห็นว่าการเรียนในโครงการต้องเรียนหนัก ภาระงานมาก สาขาที่เปิดสอนไม่ตรงกับความสนใจและนักเรียนมีจุดมุ่งหมายที่จะเรียนต่อในมหาวิทยาลัยในสาขาที่ไม่เกี่ยวกับสายอาชีพ
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนใดส่วนหนึ่งไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ก่อนเท่านั้น
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). การปฏิบัติงานการจัดการศึกษาร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย (ทวิศึกษา) 2560. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ 2558. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ดำรงค์ ตุ้มทอง และ สายฝน วิบูลรังสรรค์. (2560). การประเมินแบบตอบสนอง: แนวคิดสู่การปฏิบัติมหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ, 18(1), 10 – 25.
ทิศนา แขมมณี. (2547). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รัตนะ บัวสนธ์. (2560). ชุมนุมวิชาการด้านการวิจัยและวัดผลทางการศึกษา “การประเมินแบบมีส่วนร่วมและการประเมินแบบอาศัยฐานผู้เกี่ยวข้อง”. ได้จากhttp://www.rattanabb.com/modules. php?name=News&file. [สืบค้นเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม2562].
รัตนะ บัวสนธ์, สำราญ มีแจ้ง, สายฝน วิบูลรังสรรค์ และ ปุณิกา ศรีติมงคล. (2556). การพัฒนารูปแบบการประเมินผลการปฏิบัติงานอิงสมรรถนะ ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. วารสารวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญหา, 10(2), 96-107.
สุนทรา โตบัว, พนิต เข็มทอง และวรัทยา ธรรมกิตติภพ. (2561). ประเมินการนำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชนไปสู่การปฏิบัติด้วยการประเมินแบบตอบสนอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 12(3), 163-173.
สมหวัง พิริยานุวัฒน์. (2559). วิธีวิทยาการประเมินศาสตร์แห่งคุณค่า. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อารีรัตน์ ชูรวง. (2560). การประเมินการจัดการศึกษาเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย(ทวิศึกษา).ของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 23 จังหวัดพิษณุโลก.ได้จากhttp://www.rpg23.ac.th /content. [สืบค้นเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2562].
Christina A. Christie & Marvin C. Alkin (2013). An Evaluation Theory Three in Marvin C. Alkin editor, Evaluation Root A wider Perspective of Theorists’ views and Influences. 2nd Ed. Sang
Padelford, H. E. (1984). Acquiring psychomotor skills. Journal of Epsilon Pi Tau, 10(2), 35 – 40.
Robert E. Stake. (2004). Standards – Based & Responsive Evaluation, USA: Sage publication.