การจำแนกกลุ่มปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อจิตสาธารณะของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในจังหวัดอุดรธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบตัวแปรที่ส่งผลต่อจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในจังหวัดอุดรธานี และเพื่อวิเคราะห์จำแนกประเภทปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อจิตสาธารณะของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในจังหวัดอุดรธานีที่มีจิตสาธารณะสูงและจิตสาธารณะต่ำ กลุ่มตัวอย่างได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ปีการศึกษา 2558 ในจังหวัดอุดรธานี จำนวน 383 คน จากโรงเรียน 5 โรง ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดชนิดมาตรตราส่วนประมาค่า 5 ระดับ จำนวน 1 ฉบับ แบ่งเป็น 2 ตอน ตอนที่ 1 เป็นแบบวัดปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อจิตสาธารณะจำนวน 6 ด้าน รวม 48 ข้อ คือแบบวัดคุณธรรมจริยธรรม แบบวัดความฉลาดทางอารมณ์ แบบวัดการอบรมเลี้ยงดู แบบวัดอัตมโนทัศน์ แบบวัดเจตคติต่อจิตสาธารณะ แบบวัดลักษณะมุ่งอนาคต และตอนที่ 2 เป็นแบบวัดจิตสาธารณะ จำนวน 30 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์จำแนกกลุ่ม (Discriminant Analysis)
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของตัวแปรในกลุ่มนักเรียนที่มีจิตสาธารณะที่แตกต่างกันระหว่างกลุ่มสูงกับกลุ่มต่ำซึ่งมีตัวแปร ทั้ง 6 ตัว แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2. ผลการวิเคราะห์จำแนกตัวแปรที่ส่งผลต่อจิตสาธารณะของนักเรียนที่มีจิตสาธารณะในกลุ่มสูงและกลุ่มต่ำ ตัวแปรที่ได้รับการคัดเลือกเข้ามาในสมการจำแนก 5 ตัว จากตัวแปรที่ศึกษาทั้งหมด 6 ตัว โดยเรียงลำดับตามค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ในการจำแนก จากมากไปน้อย ได้แก่ ตัวแปรคุณธรรมจริยธรรม ตัวแปรลักษณะมุ่งอนาคต ตัวแปรเจตคติต่อจิตสาธารณะ ตัวแปรอัตมโนทัศน์ และตัวแปรความฉลาดทางอารมณ์ ได้ถูกต้องอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยสามารถจำแนกกลุ่มที่มีจิตสาธารณะกลุ่มสูง ถูกต้องร้อยละ 89.0 กลุ่มที่มีจิตสาธารณะกลุ่มต่ำ ถูกต้องร้อยละ 88.0 และสามารถจำแนกทั้งสองกลุ่มได้ถูกต้องร้อยละ 88.5 ซึ่งได้สมการจำแนกประเภท (Discriminant Analysis) ของนักเรียนที่มี จิตสาธารณะกลุ่มสูงกับนักเรียนที่มี จิตสาธารณะกลุ่มต่ำ ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน ดังนี้
สมการจำแนกกลุ่มในรูปคะแนนดิบ
= -11.915 + .125 X1 + .087 X5 + .079 X6 + .057 X4 + .052X2
สมการจำแนกกลุ่มในรูปคะแนนมาตรฐาน
Y = .400 X1 + .355 X6 + .321 X5 + .231 X4 + .184 X2
โดยสรุป ผลการวิจัยครั้งนี้ สามารถนำตัวแปรทั้ง 5 ตัว ไปใช้ในการจำแนกนักเรียนเป็นผู้มีจิตสาธารณะสูงและต่ำได้ ซึ่งจะเป็นข้อมูลสารสนเทศที่จะพัฒนา ส่งเสริม ให้นักเรียนมีจิตสาธารณะต่อไป
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนใดส่วนหนึ่งไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ก่อนเท่านั้น
References
กรมสุขภาพจิต. (2546). คู่มือพัฒนาทักษะการดำเนินชีวิตระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
_________. (2556). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ 2557. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : กลุ่มวิจัยและพัฒนานโยบาย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2556). แนวทางการสร้างจิตสาธารณะในสังคมไทย. วารสารรัฐสภาสาร, 61(1), 77-78.
โกศล มีความดี. (2547). ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับการมีจิตสาธารณะของขาราชการตำรวจ. ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ ประยุกต์กรุงเทพมหานคร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีครินทรวิโรฒ.
ขณิดา นันทะวัน. (2554). ปัจจัยที่ส่งผลต่อจิตสาธารณะของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2553). สอนเด็กให้มีจิตสาธารณะ. กรุงเทพฯ : วีพริ้นท์.
ดวงเดือน พันธุมาวิน. (2524). พฤติกรรมศาสตร์ เล่ม 2 จิตวิทยาจริยธรรมและจิตวิทยาจริยธรรม. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน. (2556). การประยุกต์ใช้ SPSS วิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 6. มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.
ทศพร ประเสริฐสุข. (2543). ความเฉลียวฉลาดทางอารมณ์กับการศึกษา. การแนะแนวและจิตวิทยา การศึกษา, 2(3-4), 18-19.
พรสุดา ศรีปัญญา. (2554). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดร้อยเอ็ด การวิเคราะห์พหุระดับ. วิทยานิพนธ์หารศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วิทยพัฒนท สีหา. (2551). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับจิตสาธารณะของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2558). รายงานประจำปี 2557 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัท ดอกเบี้ย จำกัด.
สื่อพลังงาน. (2542). จิตสำนึกสาธารณะ เส้นทางสู่ประชาสังคม. วารสารสื่อพลัง, 7(3), 3-19.
สุคนธ์ธา เส็งเจริญ. (2556). การวิเคราะห์โครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มี อิทธิพลต่อจิตสำนึกสาธารณะในนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ .ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อัญชลิกา ผิวเพชร. (2554). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน.วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Seginer, Rachel.: & Hoda Halabi. (1991). Cross-Cultural Variations of Adolescents. Future Orientation: The Case of Israeli Druze versus Israeli Arab and Jewish Male. Journal of Cross Cultural Psychology, 22(2), 244-257.
Wright, D. (1975). The Psychology of Moral Behavior. Middle, England: Penguin Book.