การพัฒนารูปแบบการจัดสรรงบประมาณของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

Main Article Content

ณรงค์ แก้วสิงห์
สมศักดิ์ ลิลา
ดุสิต ขาวเหลือง

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาโครงสร้างการจัดสรรงบประมาณของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 2. ศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการจัดสรรงบประมาณของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และ 3. พัฒนารูปแบบการจัดสรรงบประมาณของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยการวิจัยและพัฒนา (Research and development) แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 สำรวจโครงสร้างการจัดสรรงบประมาณของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวกับโครงสร้างการจัดสรรงบประมาณของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) และสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย (Analytic induction) เกี่ยวกับโครงสร้างการจัดสรรงบประมาณของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาขั้นตอนที่ 2 ศึกษาปัญหาการจัดสรรงบประมาณของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้อำนวยการวิทยาลัยหรือผู้รับผิดชอบงบประมาณของวิทยาลัย จำนวน 29 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง จากนั้นวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และสร้างข้อสรุปปัญหาของการจัดสรรงบประมาณของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ขั้นตอนที่ 3 สร้างรูปแบบการจัดสรรงบประมาณ ผู้วิจัยใช้วิธีการสนทนากลุ่ม (Focus group) ตัวอย่าง คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสนทนากลุ่ม (Focus Group) ผู้ทรงคุณวุฒิ เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured Interview) จากนั้นวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และสร้างข้อสรุปเกี่ยวกับรูปแบบการจัดสรรงบประมาณของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และขั้นตอนที่ 4 ยืนยันรูปแบบการจัดสรรงบประมาณของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ตัวอย่าง คือ ผู้อำนวยการวิทยาลัย หรือผู้รับผิดชอบงบประมาณของวิทยาลัย จำนวน 301 คน โดยใช้เทคนิคการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling)  เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ จำนวน 58 ข้อคำถาม สถิติที่ใช้ คือ ค่าสถิติพื้นฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง (Secord order confirmatory factor analysis)


              ผลการวิจัยปรากฏดังนี้


        1. โครงสร้างการจัดสรรงบประมาณของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ประกอบด้วย 1) ค่าใช้จ่าย ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการบริหารสถานศึกษาทั่วไป และค่าใช้จ่ายในการจัดการเรียนการสอน 2) งบประมาณแผ่นดินที่รัฐจัดสรรให้สถานศึกษา ได้แก่ งบบุคลากร งบดำเนินการ งบลงทุน งบอุดหนุน และงบรายจ่าย 3) เงินนอกงบประมาณ ซึ่งเป็นเงินรายได้จากการระดมทรัพยากรที่สถานศึกษาได้รับจากแหล่งอื่น ได้แก่ เงินบำรุงการศึกษา เงินรับบริจาค และการระดมทรัพยากรจากผู้ปกครอง บุคคล สมาคม ส่วนราชการ และหน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา


        2. ปัญหาและอุปสรรคของการจัดสรรงบประมาณของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา พบว่า งบประมาณที่รัฐจัดสรรให้สถานศึกษาไม่เพียงพอต่อการจัดการศึกษา การจัดสรรงบประมาณ ล่าช้า ไม่สามารถเบิกจ่ายได้ตามกำหนด งบประมาณมีจำกัด วิทยาลัยต้องนำเงินอุดหนุนการจัด การเรียนการสอนมาเป็นค่าจ้าง งบบุคลากรมีค่าใช้จ่ายสูงโดยเฉพาะค่าจัดจ้างครูพิเศษ ข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้างประจำน้อยส่งผลให้มีการใช้งบประมาณจำนวนมากเพื่อจัดจ้างลูกจ้างชั่วคราว ครูพิเศษ ค่าสาธารณูปโภคมีค่าใช้จ่ายสูงตามสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป และค่าจัดการเรียนการสอนที่รัฐจัดให้สถานศึกษาไม่เพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอน


        3. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดสรรงบประมาณของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ ด้านนโยบาย ด้านพันธกิจ ด้านกลยุทธ์ และด้านสินทรัพย์และรายได้ ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสองของโมเดลการวัดการจัดสรรงบประมาณฯ พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาค่าไค-สแควร์ มีค่าเท่ากับ 173.844 ค่าองศาอิสระ มีค่าเท่ากับ 98 ค่าดัชนีความกลมกลืน (GFI) มีค่าเท่ากับ .935 ค่าดัชนีวัดความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) มีค่าเท่ากับ .961 เมื่อพิจารณาค่าน้ำหนักองค์ประกอบ พบว่า แต่ละองค์ประกอบมีค่าระหว่าง .317 - .837 และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทุกค่า ซึ่งแสดงว่าโครงสร้างของโมเดลการวัดรูปแบบการจัดสรรงบประมาณของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาวัดได้ตรงตามทฤษฏี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐ และคณะ. (2549). การพัฒนากระบวนการบริหารจัดการระบบงบประมาณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี โดยระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ชาติ. ปทุมธานี:มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

รุ่ง แก้วแดง. (2546). โรงเรียนนิติบุคคล. กรุงเทพฯ: วัฒนาพานิช.

สกนธ์ ชุมทัพ. (2554). รายงานผลการศึกษาวิจัยการติดตามประเมินผลเพื่อตรวจสอบการยกระดับคุณภาพการศึกษาที่มีผลมาจากการเพิ่มงบประมาณเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายต่อหัวสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงบประมาณ. (2545). ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: สำนักงบประมาณ.

_____________. (2553). หลักการจำแนกประเภทรายจ่ายตามงบประมาณ (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : อัดสำเนา.

อมรวิชช์ นาครทรรพ และคณะ. (2547). การศึกษาสภาพปัญหาค่าใช้จ่ายของสถานศึกษาและผู้ปกครองภายหลังมีการจัดสรรเงินอุดหนุนรายหัวจากรัฐบาล. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

อาภรณ์ แก้วสลับศรี. (2552). ระบบงบประมาณ จากแบบแสดงรายการ สู่แบบมุ่งเน้นผลงาน. สงขลา: กองแผนงาน มหาวิทยาลัยทักษิณ.

อารีลักษณ์ พงษ์โสภา. (2545). กระบวนการงบประมาณที่มีความสัมพันธ์กับสัมฤทธิ์ผลของการบริหารงบประมาณ กรณีสำนักงานการศึกษาจังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อุไร รับพร. (2552). สภาพปัญหาและแนวทางแก้ปัญหา การบริหารงบประมาณเงินอุดหนุน ปัจจัยพื้นฐานสำหรับนักเรียนยากจน ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.