การประเมินโครงการจัดการเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย (ทวิศึกษา) โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 จังหวัดสกลนคร

Main Article Content

สุมาลัย บุญรักษา
ญาณภัทร สีหะมงคล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อประเมินโครงการทวิศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 จังหวัดสกลนคร ใน 3 ด้าน ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะ กลุ่มตัวอย่าง 78 คน ได้แก่ ผู้บริหาร 7 คน ผู้ประสานงานโครงการ 7 คน ครูผู้สอน 23 คน นักเรียน 35 คน และผู้ปกครองนักเรียน 6 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (stratified random sampling) เครื่องมือใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลมี 3 ชนิด ได้แก่ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (rating scale) 5 ระดับ จำนวน 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 สำหรับผู้บริหาร ผู้ประสานงาน และครูผู้สอน โดยมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.30 ถึง 0.80 ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.91 ฉบับที่ 2 สำหรับนักเรียน โดยมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.31 ถึง 0.71 ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.86 แบบสังเกตแบบมีโครงสร้าง จำนวน 1 ฉบับ 6 ข้อ และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง จำนวน 4 ฉบับ ฉบับที่ 1 สำหรับผู้บริหาร จำนวน 13 ข้อ ฉบับที่ 2 สำหรับผู้ประสานงานโครงการและครูผู้สอน จำนวน 12  ข้อ ฉบับที่ 3 สำหรับนักเรียน จำนวน 10 ข้อ ฉบับที่ 4 สำหรับผู้ปกครอง จำนวน 9 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis)


ผลวิจัยปรากฏดังนี้


           1. ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า ผู้มีส่วนร่วมโครงการมีความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการทวิศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}= 4.23) จากการสังเกตและสัมภาษณ์ พบว่า ครูผู้สอนมีความพร้อมและความรู้ความสามารถในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน นักเรียนมีความตั้งใจ สนใจ และกระตือรือร้น แต่ยังมีห้องเรียนทีไม่เหมาะสมเพียงพอกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ยังขาดแคลน สื่อ อุปกรณ์ และแหล่งเรียนรู้


            2. ด้านกระบวนการ พบว่า ผู้มีส่วนร่วมโครงการมีความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการทวิศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}= 4.26) จากการสังเกตและสัมภาษณ์ พบว่า รูปแบบการดำเนินกิจกรรมในโครงการทิวศึกษาเป็นไปตามนโยบาย มีการประสานงาน มีการประชุมและร่วมวางแก้ปัญหาในระหว่างดำเนินโครงการของคณะการมการ ในส่วนของผู้เรียนเองก็ได้มีการฝึกทักษะอาชีพจากการปฏิบัติจริง


            3. ด้านสภาพปัญหาและข้อเสนอแนะ พบว่า ปัญหาหลัก คือ การขาดแคลนงบประมาณในการบริหารจัดการ ขาดแคลนบุคลากร ขาดแคลนสื่อ เครื่องมือ อุปกรณ์ และห้องเรียน เรื่องของการเดินทางไปเรียนที่สถานศึกษาคู่ร่วมโครงการที่มีระยะทางไกล การประสานงานที่ล่าช้าและการจัดระบบดูแลนักเรียนนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมของทั้งสองสถานศึกษาที่มีกิจกรรมตรงกันทำให้ส่งผลกระทบต่อผู้เรียน การปรับตัวของผู้เรียนเนื่องจากเป็นการเรียนสองหลักสูตรพร้อมกันทำให้มีภาระงานมากขึ้นกว่าการเรียนแบบปกติ การมอบหมายงานการส่งงานในสองสถานที่ผู้เรียนต้องมีการแบ่งเวลาและความรับผิดชอบสูง ในส่วนของข้อเสนอแนะ พบว่า 1) ควรมีการจัดระบบดูแลนักเรียนนักศึกษาที่อยู่ในโครงการทวิศึกษาในเรื่องของการจัดกิจกรรมร่วมหลักสูตรของโรงเรียนและสถาบันอาชีวศึกษาที่เป็นคู่ร่วมโครงการไว้อย่างชัดเจน เหมาะสม โดยผ่านการพิจารณาร่วมกันของโรงเรียนคู่ร่วมโครงการ 2) ควรมีการสำรวจความต้องการของผู้เรียนและจัดเตรียมความพร้อมในทุก ๆ ด้านก่อนเปิดรับนักเรียนในแต่ละสาขาวิชา 3) ควรรับนักเรียนนักศึกษาตามความต้องการของผู้เรียนจริง ๆ ไม่ควรรับแบบยกชั้น หรือ แบบยุบรวมห้องเรียนเพราะยังมีนักเรียนนักศึกษาบางส่วนที่มาเรียนแบบไม่ตั้งใจ 4) ในการดำเนินโครงการทวิศึกษานั้น ควรได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณ สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เพิ่มเติมโดยพิจารณาตามความพร้อมและความเหมาะสมของแต่ละสถานศึกษา สถานประกอบการ และความต้องการใช้ของผู้เรียน และ 5)ควรมีการช่วยเหลือนักเรียนในด้านทุนการศึกษาและโควตาเข้าศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา (สพม.23). (ม.ป.ป.) ประชุมประจำเดือน. [ออนไลน์]. ได้จาก : www.sesarea23.go .th/ web/ [สืบค้นเมื่อ วันที่ 9 กันยายน 2559]

เกษม วงษ์ชัย. (2554). การศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการเรียนการสอนวิชางานฝึกฝีมือ สาขาวิชาเทคนิคพื้นฐาน สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 และภาคกลาง 2. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุบรี/กรุงเทพฯ.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น,.

บุญตา แซ่เล็ก. (2557). การประเมินโครงการห้องเรียนเทคโนโลยีตามความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยมหาสารคามกับโรงเรียนท่าขอนยางพิทยาคม โดยใช้รูปแบบการประเมิน 360 องศา. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

รวิกรานต์ นันทเวช. (2557). การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาตลอดชีวิตเพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัติงานของแรงงานไทยสำหรับสถานประกอบการภาคอุตสาหกรรม. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน ภาควิชาการศึกษาตลอดชีวิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). ระบบการศึกษาในประเทศไทย. [ออนไลน์]. ได้จาก: www.secondary.obec.go.th/ [สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2559]

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2558). แนวทางการจัดการศึกษาหลักสูตรเรียนร่วมอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย (ทวิศึกษา). กรุงเทพฯ : ส.ศรีวิไล.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2559). แนวทางการจัดการเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย (ทวิศึกษา )ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

หน่วยศึกษานิเทศก์สำนักนโยบายและแผนการอาชีวศึกษา. (2558). แนวทางการจัดการศึกษาเรียนร่วมหลักสูตร อาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย (ทวิศึกษา). กรุงเทพมหานคร : หจก.ศรีวิไล.

อารีรัตน์ หาพันนา. (2556). การประเมินโครงการพัฒนาจิตอาสาของครูเพื่อเพิ่มคุณภาพการศึกษาด้วยกลยุทธ์ SBN : (Share Learn-Ba-Network) ของโรงเรียนในสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.