การใช้รูปแบบอาร์ทีไอในการพัฒนาเด็กกลุ่มเสี่ยงที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ด้านการอ่านและเขียนคำที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อคัดกรองนักเรียนกลุ่มเสี่ยงที่มีปัญหาทางการเรียนรู้สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อพัฒนาแผนจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบอาร์ทีไอร่วมกับแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่ประสมด้วยสระเสียงสั้น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อศึกษาความสามารถในการอ่านและการเขียนโดยใช้รูปแบบอาร์ทีไอร่วมกับแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่ประสมด้วยสระเสียงสั้น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ก่อน-หลัง การจัดการเรียนรู้ 4) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ให้เป็นไปตามเกณฑ์ร้อยละ 80 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านโนนงามอุดมวิทย์ อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 จำนวน 12 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบคัดกรองนักเรียนที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ (KUS-SI Rating Scales: LD) 2) แบบวัดความรู้ด้านการอ่านและการเขียนคำที่ประสมด้วยสระเสียงสั้น 3) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบอาร์ทีไอร่วมกับแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่ประสมด้วยสระเสียงสั้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า
- ผลจากการใช้แบบคัดกรองนักเรียนกลุ่มเสี่ยงที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ด้านภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ (LD) พบว่านักเรียนทั้ง 12 คน มีคะแนนอยู่ระหว่าง 61-70 จัดอยู่ในเกณฑ์ควรได้รับการช่วยเหลือด้านการศึกษา
- ผลของการพัฒนาแผนจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบอาร์ทีไอร่วมกับแบบฝึกทักษะการอ่านและ การเขียนคำที่ประสมด้วยสระเสียงสั้น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80พบว่ามีประสิทธิภาพ เท่ากับ 82.35/81.39
- ผลการวิเคราะห์ความสามารถในการอ่านและการเขียนโดยใช้รูปแบบอาร์ทีไอร่วมกับแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่ประสมด้วยสระเสียงสั้น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ก่อน-หลังการจัดการเรียนรู้ พบว่านักเรียนได้คะแนนทดสอบการอ่านและการเขียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ทั้งการอ่านและการเขียน โดยคะแนนหลังเรียนการอ่านได้ร้อยละ 61.25 และคะแนนหลังเรียนการเขียนได้ร้อยละ 58.51
- ผลของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ให้เป็นไปตามเกณฑ์ร้อยละ 80 พบว่า นักเรียนได้คะแนนผลสัมฤทธิ์ร้อยละ 81.39 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนใดส่วนหนึ่งไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ก่อนเท่านั้น
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง “กำหนดประเภทและหลักเกณฑ์ของคนพิการทางการศึกษา พ.ศ. 2552”. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
________. (2553). ภาษาไทย สาระที่ควรรู้ คู่มือการเรียนการสอนภาษาไทย ระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
________. (2553). หนังสือคู่มือการดำเนินงาน อ่านออกเขียนได้ อ่านคล่องเขียนคล่อง และสื่อสารได้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กุลยา ก่อสุวรรณ. (2553). การสอนเด็กที่มีความบกพร่องระดับเล็กน้อย. กรุงเทพฯ: สหมิตรพริ้นติ้ง แอนด์พับลิช ชิ่ง จำกัด.
จินตนา ช่วยพันธุ์. (2552). การเปรียบเทียบความสามารถในการอ่าน การเขียนคำภาษาไทยและความพึงพอใจในการเรียนระหว่างการสอนแบบแจกลูกสะกดคำกับการสอนเป็นคำของนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนระดมวิทยานุสรณ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 4. วิทยานิพนธ์ ค.ม. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
ประพิมพ์พงศ์ วัฒนะรัตน์. (2558). การช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้โดยรูปแบบ RTI, ศึกษาศาสตร์, 16(1), 1-9.
ผดุง อารยะวิญญู. (2553). อาร์ ที ไอ กระบวนการสอนในแนวใหม่. กรุงเทพฯ: ไอ.คิว.บุ๊คเซ็นเตอร์ จำกัด. พริ้มเพราวดี หันตรา. (2547). การใช้แบบฝึกพัฒนาทักษะการเขียนสรุปความจากบทร้อยแก้ว, การศึกษา ค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เรวดี หงษ์สุดตา. (2553). การพัฒนาความสามารถในการอ่านและการเขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียน
บกพร่องทางสติปัญญา ระดับเรียนได้โดยใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำประกอบภาพที่เน้นเทคนิคการวิเคราะห์งาน, การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุมาลี จอดนอก. (2550). การศึกษาความสามารถในการอ่านของเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้โดยใช้วิธีการ สอนอ่านเป็นคำ ด้วยเทคนิคการใช้รูปภาพ ช่วงชั้นที่ 1 โรงเรียนบ้านดงเค็ง, วิทยานิพนธ์ ค.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. (2551). คู่มือแบบคัดกรองนักเรียนที่มีภาวะสมาธิสั้น บกพร่อง ทางการเรียนรู้ และออทิซึม [KUS-SI Rating Scales: ADHD/LD/Auism (PDDs)]. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยการศึกษาเพื่อเด็กที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ.
อกนิษฐ์ กรไกร. (2549). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้กาพย์ยานี 11 ด้วยแบบฝึกทักษะ ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5 ที่เรียนด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ Co - op Co - op และแบบเดี่ยว. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อัญชลี สารรัตนะ. (2557). การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนด้วยรูปแบบการตอบสนองต่อ การช่วยเหลือ (Response to interv ention, RTI), ศึกษาศาสตร์, 8(1), 1-9.
Rebecca Meléndez Chévere. (2012). RESPONSIVENESS TO INSTRUCTION: HOW EFFECTIVE IS
RTI WITH STRUGGLING MIDDLE SCHOOL STUDENTS IDENTIFIED AS AT RISK IN READING COMPREHENSION AND FLUENCY. Capella University.
Stephanie Al Otaiba, Carol M. Connor, Jessica S. Folsom, Jeanne Wanzek, Luana Greulich, Christopher Schatschneider and Richard K. Wagner. (2014).
To Wait in Tier 1 or Intervene Immediately: A Randomized Experiment Examining First-Grade Response to Intervention in Reading. Exceptional Children, 81(1),
11-27.
Taylor, R. L. (2009). Assessment of Exceptional Students: Educational and Psychological Procedures. 8th ed. USA: Pearson Education, Inc.
Vaughn,S., Linan-Thompson, S., and Hickman, P. (2003). Response to instruction as a mean of identifying students with reading/learning disabilities.
Exceptional children, 69, pp. 391-409.