การพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักศึกษา ระดับปริญญาตรี สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตอุดรธาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่มีคุณภาพและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้สอนจะต้องจัดกิจกรรม
เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถ มีเหตุผล มีความคิดสร้างสรรค์ รู้วิธีแก้ปัญหาและนำความรู้ไป
ประยุกต์ ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีคุณค่า งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของการ
เรียนการสอนโดยใช้รูปแบบปัญหาเป็นฐานที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) หาดัชนีประสิทธิผลของการ
เรียนการสอนโดยใช้รูปแบบปัญหาเป็นฐาน 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการวัดและประเมินผล
การศึกษาระหว่างการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบปัญหาเป็นฐานกับรูปแบบปกติ 4) ศึกษาความพึงพอใจของ
นักศึกษาต่อการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบปัญหาเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาระดับ
ปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตอุดรธานี ชั้นปีที่ 3 ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา
การวัดและประเมินผลการศึกษา ภาคการเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 67 คน จาก 2 ห้องเรียน ได้มาโดย
การสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เพื่อใช้เป็นกลุ่มทดลอง 1 ห้อง จำนวน 36 คน และเป็นกลุ่ม
ควบคุม 1 ห้อง จำนวน 31 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 2 แบบ ได้แก่
แผนการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบปัญหาเป็นฐาน และแผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ แต่ละแบบทำ
การเรียนการสอน จ านวน 9 แผน ทำการสอนแผนละ 1–4 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ชนิดเลือกตอบ 5 ตัวเลือก จ านวน 1 ฉบับ 20 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (B) ตั้งแต่ 0.25 ถึง 0.67 ค่าความ
เชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.83 แบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบปัญหาเป็นฐาน ชนิด
มาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 1 ฉบับ 13 ข้อ ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (rxy)
ตั้งแต่ 0.49 – 0.75 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.87 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมุติฐาน ได้แก่ t-test (Independent Samples)
ผลการวิจัยพบดังนี้
1. ผลการหาประสิทธิภาพของการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบปัญหาเป็นฐานของนักศึกษาที่เรียน
ด้วยการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบปัญหาเป็นฐาน วิชาการวัดและประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ 78.37/76.47
ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์
2. ผลการหาดัชนีประสิทธิผลของการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบปัญหาเป็นฐานของนักศึกษาที่เรียน
ด้วยการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบปัญหาเป็นฐาน วิชาการวัดและประเมินผล มีค่าเท่ากับ 0.6109 หรือคิด
เป็นร้อยละ 61.09
3. นักศึกษาที่เรียนด้วยการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบปัญหาเป็นฐาน วิชาการวัดและประเมินผล
การศึกษา มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักศึกษาที่เรียนด้วยการจัดการเรียนการสอนรูปแบบปกติ อย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักศึกษาที่เรียนด้วยการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบปัญหาเป็นฐาน วิชาการวัดและประเมินผล
การศึกษา มีความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( x = 4.39)
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนใดส่วนหนึ่งไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ก่อนเท่านั้น
References
จันทรเกษม.ถ่ายเอกสาร.
2.เบญจมาศ เทพบุตรดี. (2550). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการคิดวิเคราะห์
และความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างการ
จัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) และการจัดการเรียนรู้แบบปกติ เรื่อง การบวก ลบ คูณ
หาร ทศนิยม.วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
3. ปราณี หีบแก้ว. (2552). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์
เรื่องทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
4. พงศธร ทิพรักษ์. (2554). การเปลี่ยนแปลงมโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรง มวลและกฏการเคลื่อนที่ของ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน. วิทยานิพนธ์ กศ.ม.
ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
5. พัชรินทร์ ชูกลิ่น. (2554). การใช้วิจัยเชิงปฏิบัติการในการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน
วิชาชีววิทยา เรื่องเคมีพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ กศ.ม.
ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
6. ศุภิสรา โททอง. (2547). การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ระหว่างการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) กับ
การสอนตามคู่มือของ สสวท. กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การวัดความยาวในระดับชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 4. การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
7. สุวิทย์ มูลคำ. (2542). วิธีจัดการเรียนรู้ : เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.
8. อมรวิชช์ นาครทรรพ.(2543). วิถีทัศน์เพื่อพัฒนาอุดมศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21 .วารสารครุศาสตร์.
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฉบับที่ 2 เลขหน้า 2 – 28.
9. อุไร คำมณีจันทร์. (2552). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการแก้ปัญหาทาง
วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
(PBL)กับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นและการจัดการเรียนรู้แบบ
กลุ่มร่วมมือ. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
10. Ahlfeldt, Stephanie L.(2004). “Probem-based Learning in the Public Speaking Classroom,”
Dissertation Abstracts International. 65(1) : 21-A ; July.
11. Brennan, R.L. (1972). “A Generalized Upper-Lower Discrimination Index”, Educational and
Psychological Measurement. 32 (Summer 1972) , 289 – 303.
12. Cronbach, L.J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika,
16 (3), 297-334.