รูปแบบการประเมินสมรรถนะครูที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

Main Article Content

ชนะศึก โพธิ์นอก
เกียรติสุดา ศรีสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อสังเคราะห์สมรรถนะครูที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการประเมินสมรรถนะครูที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และ        (3) เพื่อตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการประเมินสมรรถนะครูที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ขั้นตอนการดำเนินการวิจัยมี 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1     การสังเคราะห์สมรรถนะครูที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียน  ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น แหล่งข้อมูลได้แก่ (1) เอกสาร ตำรา บทความและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (2) ผู้เชี่ยวชาญที่ใช้ในการพิจารณาความสอดคล้องและประเมินความเหมาะสมของสมรรถนะครูที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 9 คน ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและพัฒนารูปแบบการประเมินสมรรถนะครูที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น แหล่งข้อมูลได้แก่ (1) ผู้เชี่ยวชาญที่ใช้ในสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการวัดและประเมินสมรรถนะครู และประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการประเมินสมรรถนะครู จำนวน 9 คน    (2) ผู้บริหาร ครู ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ) หรือ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท) จำนวน 24 คน ใช้ในการทดลองใช้รูปแบบการประเมินสมรรถนะครูก่อนการทดลองใช้จริง ขั้นตอนที่ 3 การตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการประเมินสมรรถนะครูที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น แหล่งข้อมูลได้แก่ผู้บริหาร และครู ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ) และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท) จำนวนทั้งหมด 72 คน 


ผลการวิจัยพบว่า


  1. สมรรถนะครูที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีจำนวน 5 ด้าน 13 ตัวบ่งชี้ 52 พฤติกรรมบ่งชี้ ผลการประเมินความเหมาะสมของสมรรถนะครูโดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.19 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.70

  2. รูปแบบการประเมินสมรรถนะครูที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ประกอบด้วย (1) เป้าหมายของการประเมิน (2) สิ่งที่มุ่งประเมิน (3) การดำเนินการประเมิน (4) การให้คะแนน การประมวลผล การแปลผล และการตัดสินผลการประเมิน (5) การรายงานผลและการนำผลการประเมินไปใช้ ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการประเมินสมรรถนะครู ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญมีความเหมาะสมทั้ง 4 ด้านอยู่ในระดับมากและผ่านเกณฑ์ที่กำหนด

3. ผลการตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการประเมินสมรรถนะครู พบว่า (1) ตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินในรูปแบบการประเมินสมรรถนะครู เมื่อนำไปประเมินครูในโรงเรียนขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ มีความเที่ยงตรงเชิงสภาพ (2) ดัชนีความสอดคล้องระหว่างผู้ประเมิน (RAI) ทั้งฉบับมีค่าเท่ากับ 0.89 และ (3) ความเหมาะสมของรูปแบบการประเมินสมรรถนะครู ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูในโรงเรียนที่ทดลองใช้รูปแบบการประเมินสมรรถนะครู มีความเหมาะสมทั้ง 4 ด้านอยู่ในระดับมากและผ่านเกณฑ์ที่กำหนด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กระทรวงศึกษาธิการ, กรมวิชาการ. (2551). เอกสารประกอบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 : แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย
2. ขจรศักดิ์ บัวระพันธ์. (2555). “การประเมินทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 (ตอนที่ 1)”,จุลสารนวัตกรรม, 7 (26): 4 –9.
3. ไชยยันต์ ถาวระวรณ์. (2544). การพัฒนารูปแบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของครูผู้สอนในกรมอาชีวศึกษา. ปริญญานิพนธ์. ครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต (บริหารอาชีวและเทคนิคศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
4. ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน. (2547). การพัฒนารูปแบบการประเมินคุณภาพผู้ประเมินภายนอกสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ปริญญานิพนธ์. การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (วิจัยและประเมินผลการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.
5. พิชญา ดีมี และเอื้อมพร หลินเจริญ. (2560). การพัฒนาแนวทางการประเมินทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของผู้เรียนตามแนวคิดการประเมินผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน (มนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์), 10 (2) : 139 – 153.
6. วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21.กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
7. ศิริชัย กาญจนวาสี. (2554). ทฤษฎีการประเมิน. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
8. สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา. (2552).โมเดลสมรรถนะครูและบุคลากรทางการศึกษา. [ออนไลน์]. ได้จาก : http://www.ksp.or.th/upload/278/files/434-2333.pdf. [สืบค้นวันที่ 20 กันยายน 2556].
9. สุรชัย มีชาญ. (2547). ดัชนีความสอดคล้องระหว่างผู้ประเมิน. วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 10 (2) : 113-126.
10. สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2556). การพัฒนาครูในศตวรรษที่ 21. [ออนไลน์]. ได้จาก : www.addkutec3.com/wp.../การพัฒนาสมรรถนะครูในศตวรรษที่-211.pd...‎ [สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2556].
11. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือประเมินสมรรถนะครู (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
12. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2554). “กรอบแนวคิดการผลิตครูยุคใหม่” .อนุสารอุดมศึกษา. 37 (392): 5-6.
13. APEC HRDWG WIKI. (2012). 21st Century Competencies. [online]. Available From http:// hrd.apect.org/index.php/21st –century –Competencies. [ accessed November 17, 2012]
14. Carolyn, Williams et al. (2006-2008). North Carolina Professional Teaching Standards. North Carolina State Board of Education : North Carolina
15. Eawag. (2008). Sanitation systems & Technologies.. [online]. Available From www.sswm.info/site/default. [ accessed September 20, 2013]
16. Graham Donaldson. (2013). Teaching Profession for the 21st Century : advancing teacher professionalism for inclusive, quality and relevant education. Beograd : Dosije studio.
17. Sanchez, Lori, L. (2007). What makes a good teachers: Are we looking the right direction for guidance. Ph.D. Graduate school of George Fox University, Newberg, United State Code.
18. Seng Dean. (2010, June 21 – 23). Benchmarking Education systems for Results : Asia Regional Conference., 2010. Singapore.
19. Schleicher, A.Ed. (2010). Preparing Teachers and Developing School Leaders for the 21st Century : Lessons from around the word. OECD Publishing.
20. SEAMEO INNOTECH. (2010).Teaching Competency Standards in Southeast Asian Countries : ELEVEN COUNTRY AUDIT. Philippine. [online]. Available From http://www.seameo.org/SEAMEOWeb2/images/stories/Publications/Centers_pub/2012Teaching CompetencyStandards/TeachingCompetencyStd.pdf. [accessed September 20, 2013].
21. UNESCO. (2009). ICT Competency Framework for Teachers UNESCO.org [online]. Available From http://Portal.UNESCO.org/Ci/en/ev.Phi-URL ID=22997&URL DO=DO TopLC & URL SECTION – 201.htm/SZUCS.Eva U. [ accessed September 25, 2013].
22. West Virginia Department of Education. (2011). West Virginia Professional Teaching Standards. Charleston : West Virginia School. [online]. Available From http://wvde.state.wv.us/teachwv/profstandards.html [ accessed September 2, 2013].