อุปสรรคและแนวทางในการจัดการศึกษาออนไลน์

ผู้แต่ง

  • ดร. จงรักษ์ ภูพิษ นักวิชาการอิสระ

คำสำคัญ:

การศึกษา, ออนไลน์, อุปสรรคทางการศึกษา

บทคัดย่อ

การศึกษาออนไลน์เป็นทางเลือกที่สำคัญในการเรียนรู้ในยุคปัจจุบัน อย่างไรก็ตามมีอุปสรรค   ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทำให้การจัดการการศึกษาออนไลน์มีความซับซ้อนมากขึ้นอุปสรรคที่พบบ่อย ได้แก่ปัญหาเทคนิคที่สอนไม่ได้มีประสิทธิภาพเทียบกับการเรียนแบบดั้งเดิม และปัญหาทางเทคนิคที่ทำให้การใช้เทคโนโลยีไม่ราบรื่น เพื่อพัฒนาวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่เหมาะสมกับรูปแบบการสอนออนไลน์ การพัฒนาเทคโนโลยีที่ใช้ในการสอนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้วยการนำเสนอและดำเนินแนวทางที่เหมาะสม การเรียนรู้ออนไลน์สามารถมีประสิทธิภาพและมีคุณภาพสูงได้โดยให้ผู้เรียนเข้าร่วมในกระบวนการ สนับสนุนทางด้านทักษะการคิด และทางด้านอารมณ์ของผู้เรียนให้เหมาะสม เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์ในการพัฒนาความรู้ ทักษะ ของผู้เรียนในยุคปัจจุบัน ทั้งนี้เพื่อให้การศึกษาออนไลน์เป็นทางเลือกที่มีคุณภาพและมีผลลัพธ์ที่ดีในการพัฒนาความรู้ของผู้เรียน

           ดังนั้น การให้ความสนใจต่อความต้องการและความพร้อมของผู้เรียนช่วยให้การศึกษาออนไลน์เป็นทางเลือกที่มีผลลัพธ์ที่ดี ในการส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาทักษะในยุคที่เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในการจัดทำแผนการสนับสนุนที่สามารถช่วยให้ผู้เรียนมีประสบการณ์การเรียนรู้ที่ดี

Downloads

Download data is not yet available.

References

กนกวรรณ สุภาราญ. (2564). ทักษะครูกับการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ยุคใหม่. เรียกใช้เมื่อ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2567. จาก https://www.educathai.com/knowledge/articles/372.

ณรจญา ตัญจพัฒน์กุล. (2563). ยิ่งโรงเรียนปิดโลกยิ่งเหลื่อมล้ำ. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2567 จาก https://www.the101.world/school-closure-and-child-poverty/.

ธัชพนธ์ สรภูมิ และ ศศิธร อิ่มวุฒิ. (2564). พัฒนาการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ ด้วย Mobile Learning ในรูปแบบเชิงรุกเพื่อพัฒนาศักยภาพของครูผู้สอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19). วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 เดือน กรกฎาคม – เดือน ธันวาคม ปี 2564. (บทคัดย่อ)

ธัญจิรา จิรนันทกาญจน์. (2559). การใช้แบบเรียนออนไลน์ในการศึกษาแพทยศาสตร์. เวชบันทึกศิริราช,9 (2),98-106.

ปิยะ ไล้หลีกพาล. (2563). ปัญหาและโอกาสของการการสอนออนไลน์ ในช่วงภาวะวิกฤต COVID-19 กรณีศึกษา การสอนแบบบรรยาย วิชา IND143 ประวัติศิลปะการตกแต่งตะวันตก. สืบค้นจาก http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7041.

พรศิริ พิพัฒนพานิช และชื่นจิตร จันทร์สว่าง. (2565). ประโยชน์ อุปสรรค และความพึงพอใจต่อการเรียนแบบผสมผสาน ในรายวิชาพยาธิสรีรวิทยาทางการพยาบาลตามการรับรู้ของนักศึกษาพยาบาล. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. ปีที่. 32 ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน 2565. ISSN 2673-0693. :10.

สริตา เจือศรีกุล, อำไพ ตีรณสาร, ธนวรรณ เจริญภัทราวุฒิ, ณัฐพล ศรีใจ, มรุต มากขาว, วนาลี ชาฌรังศรี,...,อริสรา วิโรจน์. (2563). แนวทางการจัดการเรียนการสอนศิลปะปฏิบัติออนไลน์ในสถานการณ์ฉุกเฉิน: กรณีศึกษาสถานการณ์โควิด19. ครุศาสตร์สาร, 14(2), 99-114.

อรรณพ เยื้องไธสง ศุภวงค์ โหมวานิช รัชนก อุ้ยเฉ้ง และอุบลวรรณ หงษ์วิทยากร. (2565). ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา: สภาพการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ในช่วงการแพร่ระบาด ของเชื้อไวรัส COVID-19. วารสารสังคมวิจัยและพัฒนา ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 2565. (บทคัดย่อ).

พฤติกานต์ นิยมรัตน์ จุฑาทิพย์ อาจไพรินทร์ ปุญชรัสมิ์ วัชรกาฬ และรักสถาน. (2564). การเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 Online teaching format under the circumstances of Coronavirus Disease 2019 (COVID-19). วารสารวิชาการสังคมมนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม – ธันวาคม 2564.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-27