วารสารชัยภูมิปริทรรศน์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcr <p>วารสารชัยภูมิปริทรรศน์เป็นวารสารวิชาการ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการศึกษาค้นคว้า และเพื่อเผยแพร่บทความวิจัย บทความพิเศษ บทความวิชาการ บทความปริทรรศน์ บทวิจารณ์หนังสือ และปกิณกะ แก่ นักวิจัย นักวิชาการ คณาจารย์ และนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา โดยที่ครอบคลุมเนื้อหาในมิติทางด้านพระพุทธศาสนา ที่เกี่ยวข้องกับสาขาพระพุทธศาสนา ปรัชญา กฎหมาย การศึกษารัฐศาสตร์ การปกครอง ศิลปะวัฒนธรรมและประเพณี ทั้งพระพุทธศาสนาแนวคัมภีร์ และพระพุทธศาสนาแนวประยุกต์กับศาสตร์สมัยใหม่</p> <p>วารสารชัยภูมิปริทรรศน์ มีกำหนดออกเผยแพร่ปีละ 3 ฉบับ</p> <p>ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน</p> <p>ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม</p> <p>ฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม</p> th-TH <p>ข้อความลิขสิทธิ์</p> Sumin.yati@mcu.ac.th (พระศรีสัจญาณมุนี, ผศ. ดร.) tawanyen2558@gmail.com (พระมหาวิฑูรย์ สิทฺธิเมธี,ดร.) Wed, 09 Apr 2025 03:45:48 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 อคติ ๔ กับความขัดแย้ง https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcr/article/view/273405 <p>บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา “ความลำเอียงเป็นเหตุให้เกิดความขัดแย้งในสังคมปัจจุบัน” พบว่า สังคมปัจจุบันนี้มีความขัดแย้งตั้งแต่อดีตตลอดมานานปียังไม่ยุติลงได้ ต้องยอมรับประการหหนึ่งว่า ความลำเอียง หรืออคติ 4 เป็นสาเหตุที่สามารถให้เกิดความแย้งขึ้นได้ในสังคมมนุษย์ ส่วนที่กล่าวมานี้ เป็นเหตุส่วนหนึ่งที่นำมาซึ่งความขัดแย้งในสังคมมาถึงปัจจุบันนี้ การเอียงเอนของตราชั่งวัดบอกถึงความไม่ยุติธรรมเกิดขึ้น การแบกหามของไม้คานที่อยู่บนบ่าในระยะที่ห่างเท่ากันสองข้าง แต่มีความเอนเอียงเกิดขึ้นแสดงถึงความไม่สมดุลปรากฏแล้ว การตัดสินความคดีต่างๆ ที่มีลำเอียงทั้ง 4 อย่างใดอย่างหนึ่งปรากฏอยู่ในจิตใจ การวินิจฉัยคดีความย่อมขาดความยุติธรรม ความขัดแย้งย่อมเกิดขึ้นในสังคมนั้นอย่างไม่ต้องสงสัย ความยุติธรรมเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนต้องการ ไม่ว่าในครอบครัว ชุมชน หมู่บ้าน ในป่าเขา แม้แต่ในคุกตระราง ก็ต้องการความยุติธรรมด้วยกันทั้งนั้น ฉะนั้นไม่ว่าผู้ใหญ่หรือเด็กจะกระทำอะไรลงไป ต้องไม่มีความลำเอียง หรือมีอคติ 4 อยู่ในใจ</p> พระมหานิพนธ์ ลทฺธคุโณ ปิ่นประดับ; สรวิชญ์ วงษ์สอาด, วรากรณ์ พูลสวัสดิ์ Copyright (c) 2025 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcr/article/view/273405 Wed, 09 Apr 2025 00:00:00 +0700 วิเคราะห์บทบาทของอุบาสกอุบาสิกาในพระพุทธศาสนาในยุคสังคมปัจจุบัน https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcr/article/view/274033 <p>อุบาสกและอุบาสิกาในพระพุทธศาสนามีบทบาทสำคัญในการสืบทอดและรักษาความมั่นคงของพระศาสนา โดยอุบาสกและอุบาสิกาถือเป็นส่วนหนึ่งของพุทธบริษัท 4 การปฏิบัติธรรมของอุบาสกอุบาสิกามีผลสำคัญต่อการพัฒนาจิตวิญญาณส่วนบุคคลและความมั่นคงของสังคม นอกจากบทบาทที่ต้องนำหลักธรรมไปปฏิบัติแล้ว ปัจจุบันอุบาสกและอุบาสิกายังต้องสนับสนุนพระสงฆ์ในเผยแผ่พระพุทธศาสนา การเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา และการนำหลักธรรมมาใช้ในชีวิตประจำวัน ในยุคปัจจุบันที่สังคมเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและซับซ้อน อุบาสกและอุบาสิกาต้องปรับเปลี่ยนวิธีการปฏิบัติธรรมเพื่อให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตที่เร่งรีบและเทคโนโลยีสมัยใหม่ บทความนี้มีวัตถุประสงค์นำเสนอถึงหลักการปฏิบัติธรรมของอุบาสกอุบาสิกาในพระพุทธศาสนา และนำเสนอถึงบทบาทของอุบาสกอุบาสิกาที่เหมาะสมกับสภาพสังคมปัจจุบัน โดยการวิเคราะห์บทบาทของอุบาสกอุบาสิกาในสังคมที่เต็มไปด้วยการแข่งขันและความเปลี่ยนแปลง และเพื่อเสนอแนวทางที่สามารถน้อมนำหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจในบทบาทและความสำคัญของอุบาสกอุบาสิกาในการพัฒนาทั้งตนเองและสังคมต่อไป</p> บัวผิน สิงห์แก้ว, จันทรัสม์ ตาปูลิง; พระครูโกวิทอรรถวาที พระครูโกวิทอรรถวาที Copyright (c) 2025 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcr/article/view/274033 Wed, 09 Apr 2025 00:00:00 +0700 แนวคิดการป้องกันการถูกหลอกลวงทางสื่อสังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุตามหลักพระพุทธศาสนา https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcr/article/view/274039 <p>ปัจจุบันผู้สูงอายุมีการใช้เทคโนโลยีและสื่อออนไลน์เพิ่มขึ้นเพื่อการสื่อสารและเข้าถึงข้อมูล อย่างไรก็ตาม การขาดทักษะด้านเทคโนโลยีและความสามารถในการตรวจสอบข้อมูลทำให้พวกเขาตกเป็นเป้าหมายของการหลอกลวงออนไลน์ เช่น การฉ้อโกงทางการเงิน ส่งผลกระทบต่อด้านเศรษฐกิจ จิตใจ และความสัมพันธ์ในครอบครัวของผู้สูงอายุ ทั้งนี้ปัจจัยที่ทำให้ผู้สูงอายุมีความเสี่ยง ได้แก่ 1) การขาดความรู้ด้านเทคโนโลยี 2) การไว้วางใจผู้อื่นจากค่านิยมทางวัฒนธรรม 3) การขาดกลไกสนับสนุนจากครอบครัวและชุมชน และ 4) การขาดความเข้าใจเกี่ยวกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ สำหรับการป้องกันการถูกหลอกลวงทางสื่อสังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุตามหลักพระพุทธศาสนา ได้แก่ การประยุกต์ใช้หลักพุทธศาสนา เช่น โยนิโสมนสิการ (การคิดโดยแยบคาย) และไตรสิกขา (ศีล สมาธิ ปัญญา) ทั้งนี้การใช้หลักพุทธศาสนาควบคู่กับมาตรการป้องกันเชิงเทคโนโลยีสามารถช่วยลดความเสี่ยงจากการหลอกลวงทางออนไลน์ในกลุ่มผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> พระอารักษ์ ญาณธมฺโม สัมปยุคโคตร; พระมหาอินทร์วงค์ อิสฺสภาณี, จันทรัสม์ ตาปูลิง Copyright (c) 2025 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcr/article/view/274039 Wed, 09 Apr 2025 00:00:00 +0700 แนวคิดพระพุทธศาสนากับสังคมที่ปรากฎในสิงคาลกสูตร https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcr/article/view/275821 <p><strong> </strong></p> <p>บทความวิชาการเรื่องนี้เป็นการนำเสนอถึงความสัมพันธ์ในด้านพระพุทธศาสนากับสังคมที่ปรากฏในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา ได้กล่าวถึงหลักปฏิบัติในการดำเนินชีวิตของผู้คนในสังคม ในมุมมองหรือแนวคิดของพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวกับสังคม ที่มีความผูกพันเกี่ยวเนื่องกันอย่างแยกไม่ออก พร้อมทั้งนำหลักธรรมในพระพุทธศาสนาไปช่วยแก้ปัญหาสังคมแนวคิดเพื่อสังคมในทางพระพุทธศาสนาจึงสามารถศึกษาได้จากพระสูตรต่าง ๆ ที่ปรากฏว่ามีแนวคิดเพื่อสังคม ในบทความเรื่องนี้ได้ศึกษาจากสิงคาลกสูตร เพราะมีความเกี่ยวเนื่องในหลักปฏิบัติทางสังคม พร้อมทั้งคิหิวินัย เน้นเรื่องการงดเว้นสิ่งที่ไม่ดี เช่น กรรมกิเลส 4 อบายมุข 6 เพื่อนที่ไม่ดี 4 ประเภท เพื่อนดี 4 ประเภท รวมไปถึงการรักษาความสัมพันธ์กับบุคคลในระดับต่าง ๆ และสุดท้ายก็คือการช่วยเหลือสังคมตามสติปัญญา ตามกำลังความสามารถ และในสิงคาลกสูตรนี้ ยังวางหลักปฏิบัติเอาไว้อย่างสอดคล้องกับสถานภาพและบทบาทของแต่ละคนไว้อีกด้วย</p> พระฐิติ กิตฺติปญฺโญ จำนงค์สุข Copyright (c) 2025 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcr/article/view/275821 Wed, 09 Apr 2025 00:00:00 +0700 การแก้ไขความรุนแรงทางสังคมตามหลักฆราวาสธรรม 4 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcr/article/view/275769 <p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวทางแก้ไขความรุนแรงทางสังคมตามหลักฆราวาสธรรม 4 เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ ซึ่งมีความเชื่อมโยง และบูรณาการสิ่งที่เกิดขึ้น เพื่อนำไปสู่การตีความและอภิปรายผลที่เป็นเอกภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 8 ท่าน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้าง และมีการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ ผลการศึกษาพบว่า แนวทางแก้ไขความรุนแรงทางสังคมตามหลักฆราวาสธรรม 4 ประกอบด้วย การมีสัจจะ จะต้องมีความซื่อสัตย์ จริงใจต่อกัน เข้าใจ เห็นอกเห็นใจผู้อื่น หลีกเลี่ยงปัจจัยที่อาจก่อให้เกิดความรุนแรง เช่น การดื่มสุรา การคบชู้ เล่นการพนัน การทะเลาะเบาะแว้ง เป็นต้น ทมะ มีการรู้จักบังคับควบคุมอารมณ์ข่มใจ รู้จักฝึกฝนปรับปรุงตน ให้รักษาระดับอารมณ์ ระมัดระวังการพูดจาของตน พยายามใช้อารมณ์ขันติ การมีความอดทน อดกลั้นต่อความหนักและความร้ายแรงทั้งหลาย พยายามควบคุมความโกรธของตนเองเสมอ และจาคะ การมีความเสียสละ ความเผื่อแผ่ แบ่งปัน ความมีน้ำใจเอื้อเฟื้อต่อกัน ช่วยหาทางออกให้ฝ่ายที่เป็นคู่กรณี พาผู้บาดเจ็บไปรับการรักษาจากแพทย์ และที่สำคัญให้รู้จักการใช้คำขอโทษ และการให้อภัย</p> ฉัชศุภางค์ สารมาศ; มานพ นักการเรียน , พระครูสุภัทรวราทร พระครูสุภัทรวราทร , เอกวุฒิ สารมาศ Copyright (c) 2025 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcr/article/view/275769 Wed, 09 Apr 2025 00:00:00 +0700 รูปแบบการเสริมสร้างคุณธรรมแก่ผู้เรียนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ในจังหวัดนครปฐม https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcr/article/view/273361 <p>บทความนี้เป็นบทความวิจัยเรื่อง “รูปแบบการเสริมสร้างคุณธรรมแก่ผู้เรียนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ในจังหวัดนครปฐม” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพด้านการเสริมสร้างคุณธรรมของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ในจังหวัดนครปฐม เพื่อพัฒนากิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรมตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแก่ผู้เรียนในศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์จังหวัดนครปฐม และ เพื่อถอดบทเรียนและเสนอรูปแบบการเสริมสร้างคุณธรรมแก่ผู้เรียนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ในจังหวัดนครปฐม พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศ หญิง จำนวน 31 คน คิดเป็นร้อยละ 59.6 อยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 27 คน คิดเป็นร้อยละ 51.9 มีผลสัมฤทธิ์การเรียน 3.1-4.0 จำนวน 33 คน คิดเป็นร้อยละ 63.5 ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ในจังหวัดนครปฐม ทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านวิชาการ โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.41 2) ด้านครูสอน โดยรวมอยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.87 3) ด้านอาคารสถานที่สภาพแวดล้อม โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.29 4) ด้านการบริการนักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.33 และ 5) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างศูนย์ศึกษากับผู้ปกครอง โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.23</p> <p> นอกจากนี้ จากการทดสอบสมมติฐานทั้ง 3 ข้อ พบว่า ข้อที่ 1 นักเรียนที่มีเพศ ต่างกัน มีปัจจัยการพัฒนาการเสริมสร้างคุณธรรมให้กับนักเรียน ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ วัดโพรงมะเดื่อ ไม่แตกต่างกัน ส่วนข้อที่ 2 นักเรียนที่มีระดับชั้นการศึกษา ต่างกัน มีปัจจัยการพัฒนาการเสริมสร้างคุณธรรมให้กับนักเรียน ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ วัดโพรงมะเดื่อ ไม่แตกต่างกัน และข้อที่ 3 นักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ต่างกัน มีปัจจัยการพัฒนาการเสริมสร้างคุณธรรมให้กับนักเรียนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ วัดโพรงมะเดื่อ แตกต่างกัน ด้านอาคารสถานที่สภาพแวดล้อม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เพราะนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3.1-4.0 มีพฤติกรรมการพัฒนาการเสริมสร้างคุณธรรมมากกว่า กลุ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 1.0-2.0</p> สรวิชญ์ วงษ์สอาด, พระมหาถนอม พิมพ์สุวรรณ์; พระมหาณรงค์ศักดิ์ สุทนฺโต, วันชัย กิ่งแก้ว, พระเจริญพงษ์ วิชัย Copyright (c) 2025 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcr/article/view/273361 Wed, 09 Apr 2025 00:00:00 +0700 ปรากฏการณ์ข่าวเฟคนิวส์จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID - 19) ที่ส่งผลกระทบต่อการรู้เท่าทันข่าวของผู้สูงอายุ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcr/article/view/274583 <p>การวิจัยในครั้งนี้เพื่อศึกษาลักษณะข่าวปลอมที่ปรากฏในสื่อสังคมออนไลน์ เพจ Anti-Fake News Center Thailand และเพื่อศึกษาข่าวปลอมเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID - 19) ที่ส่งผลกระทบต่อการรับรู้ข่าวสารผู้สูงอายุโดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลการวิจัยจากประชากรผู้สูงอายุโดยวิธี การสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะแบบเจาะจงในจังหวัดชลบุรีและจังหวัดลพบุรี แบ่งกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุเป็น 2 ช่วงอายุ คือ 60-68 ปี และ 69-75 ปี</p> <p> ผลการวิจัยของงานวิจัยเชิงปริมาณจากผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 400 คน พบว่าข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามพบมากที่สุดเป็นเพศชาย 200 คน คิดเป็นร้อยละ 50 รองลงมาเป็นเพศหญิง 181 คน คิดเป็นร้อยละ 45.25 และน้อยที่สุด อื่นๆ 19 คน คิดเป็นร้อยละ 4.75 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลความคิดเห็นของผู้สูงอายุที่มีต่อข่าวเฟคนิวส์จากสถานการณ์ โควิด 19 พบมากที่สุด คือ ข่าวที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID - 19) ปรากฎในเพจ Anti-Fake Thailand มีผลต่ออารมณ์ความรู้สึกของท่าน 4.50 ระดับความพึงพอใจมากที่สุด และพบน้อยที่สุด คือ เมื่อได้รับข่าวที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID - 19) ปรากฎในเพจ Anti-Fake Thailand ท่านเชื่อในทันที ค่าเฉลี่ย 2.03 อยู่ในระดับความพึงพอใจน้อย</p> <p> ผลการจากการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพพบว่าเนื้อหาของข่าวที่ปรากฏมีผลต่ออารมณ์ความรู้สึกโดยจากการอ่านข่าวที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID - 19) (Coronavirus Disease 2019 (COVID - 19) แบ่งเป็น 2 ประเด็น คือ เชื่อทันทีและไม่เชื่อทันที โดยข่าวเฟคนิวส์ที่พบจากเพจ Anti-Fake Thailand มีความหลากหลายส่วนใหญ่เกี่ยวกับสุขภาพและผลกระทบกับวิถีชีวิตของคนในสังคม ดังนั้นหากผู้สูงอายุทราบถึงวิธีการตรวจสอบและป้องกันข่าวเฟคนิวส์ที่เกิดขึ้นและเตรียมรับมืออย่างรู้เท่าทันในอนาคตหากมีโรคอุบัติที่เกิดขึ้นใหม่ผู้สูงอายุก็จะมีภูมิคุ้มกันที่ดีและไม่ตกเป็นเหยื่อของข่าวเฟคนิวส์อย่างง่ายดายอีก</p> บงกชกร ทองสุก; นลินีวรรณ ประพันธา Copyright (c) 2025 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcr/article/view/274583 Wed, 09 Apr 2025 00:00:00 +0700 การศึกษาวิเคราะห์องค์ความรู้และแนวปฏิบัติในการพัฒนาชุมชนของพระมหาเถระ และปราชญ์ท้องถิ่นในจังหวัดชัยภูมิ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcr/article/view/274452 <p>บทความวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของพระมหาเถระและปราชญ์ท้องถิ่นจังหวัดชัยภูมิ 2) เพื่อวิเคราะห์บทบาทของพระมหาเถระและปราชญ์ท้องถิ่นในจังหวัดชัยภูมิ 3) เพื่อการศึกษาวิเคราะห์องค์ความรู้และแนวปฏิบัติในการพัฒนาชุมชนของพระมหาเถระและปราชญ์ท้องถิ่นในจังหวัดชัยภูมิ โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยค้นหาข้อมูลปฐมภูมิจากการสำรวจ ด้วยการลงพื้นที่สัมภาษณ์</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า ประวัติความเป็นมาของพระมหาเถระและปราชญ์ท้องถิ่นจังหวัดชัยภูมิ หลวงปู่หลักคำเป็นพระธุดงค์มาจากจังหวัดลพบุรี เป็นพระที่เคร่งในธุดงควัตร พระธรรมภาวนาวชิรคุณ วิ. (บุญมา ปุญญาภิรโต) เป็นสมณะที่มีวัตรปฏิบัติดีงาม เปี่ยมด้วยเมตตาธรรมค้ำจุนโลก พระยาภักดีชุมพล (แล) เจ้าเมืองชัยภูมิคนแรกมีความซื่อสัตย์และการเสียสละเพื่อเมืองชัยภูมิ</p> <p> บทบาทของพระมหาเถระและปราชญ์ท้องถิ่นในจังหวัดชัยภูมิ หลวงปู่หลักคำ การปฏิบัติอย่างเคร่งครัดของพระสงฆ์ที่เป็นผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบนั้น ในลักษณะของการรักษาศีล การสำรวมต่าง ๆ กาย วาจา พระธรรมภาวนาวชิรคุณ บทบาทการพัฒนาด้านจิตใจ อบรมภิกษุสามเณร ให้มีสมณะสัญญา และจรรยา บทบาทเจ้าพ่อพญาแลในการพัฒนาชุมชน ด้านพัฒนาจิตใจ มีการประกอบพิธีกรรมบวงสรวงดวงวิญญาณเจ้าพ่อพญาแล ทำให้เกิดขวัญกำลังใจในการดำรงชีพแก่ชุมชน</p> <p> องค์ความรู้และแนวปฏิบัติในการพัฒนาชุมชนของพระมหาเถระและปราชญ์ท้องถิ่นในจังหวัดชัยภูมิ หลวงปู่หลักคำ ให้ชุมชนปฏิบัติรักษาศีล 5 เน้นความเมตตา ช่วยเหลือผู้คนที่ประสบความยากลำบาก พระธรรมภาวนาวชิรคุณ ส่งเสริมองค์ความรู้ด้านเศษรฐกิจพอเพียง มัธยัสถ์การใช้จ่ายพอดี พร้อมพัฒนาสติปัญญา โดยการปฏิบัติธรรม มีสติอย่างรู้เท่าทัน 4) เจ้าพ่อพญาแล เป็นนักปกครองที่ฉลาดหลักแหลมเป็นแบบอย่างที่ดีต่อผู้นำชุมชน ยอมเสียสละ และจงรักภักดีต่อแผ่นดิน สร้างความสามัคคีในชุมชน ฉลาดไหวพริบ อ่อนโยน</p> กาญจนพงศ์ สุวรรณ; พระมหาสังคม ชยานนฺโท, สิรภพ สวนดง, สงวน หล้าโพนทัน , เกรียงไกร ทองจิตติ Copyright (c) 2025 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcr/article/view/274452 Wed, 09 Apr 2025 00:00:00 +0700 กระบวนการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุตามแนวภาวนา 4 ของชุมชนวัดสุทธาวาส อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcr/article/view/274315 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุตามแนวภาวนา 4 เพื่อพัฒนากิจกรรมการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุตามแนวภาวนา 4 และเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุตามแนวภาวนา 4 โดยใช้วัดเป็นฐานของชุมชนวัดสุทธาวาส อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้สูงอายุชนชุมชนวัดสุทธาวาส โดยการแจกแบบสอบถาม จำนวน 186 คน และสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูป/คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และสัมภาษณ์แบบเจาะลึก</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า</p> <ol> <li>กระบวนการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุตามแนวภาวนา 4 ของชุมชนวัดสุทธาวาส อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา พบว่า มีการเสริมสร้างสุขภาวะที่เป็นกระบวนการที่ครอบคลุมทั้งด้านกาย จิต ปัญญา และสังคม สำหรับผู้สูงอายุ การดูแลสุขภาพกายยังรวมถึงการป้องกันการล้ม การรักษาโรคเรื้อรัง และการฝึกสมาธิผ่านการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัย</li> <li>การพัฒนากิจกรรมการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุตามแนวภาวนา 4 ของชุมชนวัดสุทธาวาส อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา พบว่า ด้านกายภาวนา การจัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับสภาพกายภาพและความต้องการของผู้สูงอายุ ด้านสีลภาวนา เน้นไปที่การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัวและชุมชน ด้านจิตตภาวนา เป็นการฝึกฝนจิตใจให้มีความสงบ สามารถยอมรับและเข้าใจความแตกต่างของผู้อื่น ด้านปัญญาภาวนา เน้นไปที่การเสริมสร้างความรู้ การศึกษา และการมีสติปัญญาในการดูแลตนเองและคนรอบข้าง</li> <li>การเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุตามแนวภาวนา 4 โดยใช้วัดเป็นฐาน ของชุมชนวัดสุทธาวาส อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมากทุกด้าน</li> </ol> พระครูโอภาสสราธิคุณ โหมดศิริ; พระครูวิมลปริยัติวัฒน์ สิริวฑฺฒโน, ภูริทัต ศรีอร่าม, เจตนิพัทธ์ พิธิยานุวัฒน์, พรภิรมย์ ยอดบุญ Copyright (c) 2025 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcr/article/view/274315 Wed, 09 Apr 2025 00:00:00 +0700 การพัฒนาผลิตภัณฑ์ลำไยแปรรูปของกลุ่มอาชีพสู่ความมั่นคง ของเศรษฐกิจฐานรากในจังหวัดลำพูน https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcr/article/view/274014 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาผลิตภัณฑ์ลำไยแปรรูปต้นแบบในจังหวัดลำพูน 2) เพื่อยกระดับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ลำไยแปรรูป และพัฒนากลไกการตลาดผลิตภัณฑ์ลำไยแปรรูปของกลุ่มอาชีพสู่ความมั่นคงของเศรษฐกิจฐานรากในจังหวัดลำพูน ใช้ระเบียบวิจัยแบบผสานวิธีระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 19 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ และการวิจัยเชิงปฏิบัติการ การฝึกอบรมในกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการพัฒนา จำนวน 13 คน </p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <p> 1) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ลำไยแปรรูปต้นแบบในจังหวัดลำพูน พบปัญหาด้านค่าใช้จ่ายในการผลิตสูง ผลิตภัณฑ์ขาดความหลากหลาย การเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ ขาดความรู้และเครื่องมือการผลิตที่เหมาะสม</p> <p> 2) การยกระดับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ลำไยแปรรูป เป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ลำไยสดเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูป “เยลลี่ลำไย” 3 ผลิตภัณฑ์ คือ เยลลี่รสลำไย, เยลลี่รสลำไยกับเบอรรี่ และเยลลี่รสลำไยกับแคนตาลูป ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลายและตอบโจทย์ตลาดด้านสุขภาพ มีปริมาณน้ำตาลต่ำและสอดคล้องกับเทรนด์สุขภาพในปัจจุบัน มีการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการแปรรูปและใช้บรรจุภัณฑ์ที่สามารถรักษาคุณภาพและยืดอายุการเก็บรักษาได้นาน รวมถึงออกแบบตราสินค้าที่เน้นความเป็นเอกลักษณ์และสร้างความน่าเชื่อถือเพื่อเพิ่มโอกาสในการแข่งขันในตลาด มีการควบคุมคุณภาพในทุกขั้นตอนของการผลิต และการพัฒนากลไกการตลาดผลิตภัณฑ์ลำไยแปรรูป พบว่า ได้สร้างตลาดรองรับ ช่องทางการจัดจำหน่าย ตลาดส่งออก และการโปรโมทผลิตภัณฑ์ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์และออฟไลน์</p> นฤพันธ์ สมเจริญ; นิกร ยาอินตา, เสน่ห์ ใจสิทธิ์, ธนวิชญ์ กิจเดช, พระมหาศรีพยัคฆ์ สิริวิญฺญู กงพาน, บุญญาดา ประภัทรสิริ, เมธัส กวินกุล, วัชรวลี กวินกุล Copyright (c) 2025 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcr/article/view/274014 Wed, 09 Apr 2025 00:00:00 +0700 ผลกระทบของทุนทางจิตวิทยาต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท ไฮเทคชัยภูมิ แอพพาเรล จำกัด https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcr/article/view/274444 <p>การวิจัยเรื่องผลกระทบของทุนทางจิตวิทยาต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท ไฮเทคชัยภูมิ แอพพาเรล จำกัด ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาระดับของทุนทางจิตวิทยาของพนักงานระดับปฏิบัติงานภายในองค์กรเอกชน บริษัทไฮเทคชัยภูมิ แอพพาเรล จำกัด 2) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติงานภายในองค์กรเอกชน บริษัทไฮเทคชัยภูมิ แอพพาเรล จำกัด และ 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของทุนทางจิตที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติงานภายในองค์กรเอกชน บริษัทไฮเทค ชัยภูมิ แอพพาเรล จำกัด กลุม ตัวอย่างที่ใชในการวิจัยคือ พนักงานที่ปฏิบัติงานในบริษัทไฮเทคชัยภูมิ แอพพาเรล จำกัด จำนวน 286 คน &nbsp;การเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ Independent Samples t-test, &nbsp;One-way ANOVA และ Multiple Regression Analysis ผลการศึกษาพบว่าทุนทางจิตวิทยาในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการมองโลกในแง่ดีมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด &nbsp;รองลงมาคือ ด้านการมีความหวังในการทำงาน ด้านความเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเอง&nbsp; และด้านความยืดหยุ่นในการทำงาน ตามลำดับ ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ ด้านปริมาณของงาน รองลงมาคือด้านคุณภาพของงาน ด้านเวลา และด้านค่าใช้จ่าย ตามลำดับ&nbsp; พนักงานที่มีเพศ อายุ และรายได้ต่อเดือนแตกต่างกัน มีประสิทธิภาพการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกันทั้งในด้านคุณภาพของงาน ด้านปริมาณงาน ด้านเวลา และด้านค่าใช้จ่าย พนักงานที่มีประสบการณ์การทำงานแตกต่างกัน มีประสิทธิภาพการปฏิบัติงานแตกต่างกันในด้านเวลาที่ระดับนัยสำคัญ .05 พนักงานที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกัน&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;มีประสิทธิภาพการปฏิบัติงานแตกต่างกันในด้านปริมาณของงาน และด้านเวลาที่ระดับนัยสำคัญ .05 &nbsp;ทุนทางจิตวิทยาด้านความยืดหยุ่นในการทำงาน ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนทุนทางจิตวิทยาด้านการมีความหวังในการทำงาน ด้านการมองโลกในแง่ดี และด้านความเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเอง ไม่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงาน</p> ศศินันท์ ประสานศักดิ์ทวี ; สำเริง ไกยวงค์ Copyright (c) 2025 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcr/article/view/274444 Wed, 09 Apr 2025 00:00:00 +0700 การตลาดสำหรับธุรกิจให้เช่าเครื่องประดับอัญมณีภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจแบ่งปัน กรณีศึกษา : ธุรกิจอัญมณีบางแห่งในเขตกรุงเทพมหานคร https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcr/article/view/276033 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นของผู้ประกอบการกรณีศึกษาและสำรวจความคิดเห็นของลูกค้าเกี่ยวกับการตลาดธุรกิจให้เช่าเครื่องประดับอัญมณี 2) เพื่อเสนอแนวทางการปรับปรุงการตลาดให้ผู้ประกอบการธุรกิจกรณีศึกษา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร ได้แก่ ลูกค้าของผู้ประกอบการ 4 แห่ง จำนวน 320 คน เป็นการเลือกแบบเจาะจง การวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้ประกอบการ 4 แห่ง จำนวน 4 คน เครื่องมือที่ใช้การวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p> <strong>ผลการวิจัยพบว่า</strong></p> <p> 1.การตลาดสำหรับธุรกิจให้เช่าเครื่องประดับอัญมณี พบว่า โอกาสทางธุรกิจสำหรับการให้เช่าเครื่องประดับเป็นไปได้สูง เป็นการตอบสนองความต้องการของลูกค้าแล้วยังเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับธุรกิจแต่ต้องมีการจัดการตลาดให้เหมาะสม เช่น ต้องมีการจัดหาสินค้าที่ถูกใจลูกค้า มีการกำหนดราคาค่าเช่าที่เหมาะสม มีช่องทางให้ลูกค้าใช้เพื่อการติดต่อ มีการส่งเสริมให้ลูกค้าตัดสินใจ นอกจากนั้นต้องมีการให้บริการด้วยขั้นตอนที่สะดวกและต้องจัดให้มีหลักฐานเพื่อให้ลูกค้ามั่นใจ ความคิดเห็นของลูกค้าส่วนใหญ่พบว่า มีความตั้งใจใช้บริการเช่าเครื่องประดับอัญมณี โดยพิจารณาอันดับแรก คือ ด้านผลิตภัณฑ์ รองลงมาด้านราคา ด้านช่องทางจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านพนักงาน ด้านขั้นตอนการให้บริการ และด้านหลักฐานเชิงประจักษ์</p> <p> 2.แนวทางในการปรับปรุงการตลาดสำหรับธุรกิจการให้เช่าเครื่องประดับสรุปได้ว่า ลูกค้าไม่ประสงค์ติดต่อผ่านพนักงานเนื่องจากมีความห่วงใยเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลจึงควรลดการใช้พนักงานและเปิดช่องทางติดต่อเป็นการส่วนตัวกับผู้ประกอบการ</p> มนัสวี กล้าหาญ; เดชา โลจนสิริศิลป Copyright (c) 2025 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcr/article/view/276033 Wed, 09 Apr 2025 00:00:00 +0700 การจัดกิจกรรมดนตรีบำบัดและการสวดมนต์ ในการสร้างอารมณ์ ของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ บ้านเรียนชัยปรีญา ตำบลห้วยไร่ อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcr/article/view/273419 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอน 2) พัฒนากิจกรรมทางดนตรีและการสวดมนต์ 3) ประเมินกิจกรรมทางดนตรีและการสวดมนต์การจัดกิจกรรมดนตรีบำบัดและการสวดมนต์ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง 4 กลุ่มผู้ปกครองเด็กที่มีความต้องการพิเศษ จำนวน 8 คน ครูผู้สอนดนตรี จำนวน 1 คน วิทยากรธรรมศึกษา จำนวน 1 คน ครูผู้สอนศูนย์การศึกษาพิเศษ จำนวน 1 คนสุ่มโดยเจาะจง เครื่องมือการวิจัยแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์จากประชากร การเก็บรวบรวมข้อมูลเก็บแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์รวบรวม และสรุปข้อมูลทั้งหมด</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า สภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอนกระบวนการจัดการเรียนรู้บางรายวิชา ซึ่งผู้ปกครอง ไม่มีความถนัดเช่นวิชาดนตรี ทางผู้จัดการศึกษาจึงได้ทำหนังสือขออนุญาตเรียนร่วมกับโรงเรียนในเครือข่ายที่อยู่ใกล้เคียงที่มีครูผู้สอนดนตรีโดยตรง </p> <p>พัฒนากิจกรรมทางดนตรีและการสวดมนต์ ทำให้เด็กได้มีสมาธิ จดจ่อกับการเรียนดนตรี เด็กนั่งสมาธิก่อนเรียนดนตรีทุกครั้ง ทำให้เด็กเกิดสมาธิให้มีความสงบ ลดความกังวล การเรียนรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ </p> <p>ประเมินกิจกรรม พบว่าการจัดกิจกรรมดนตรีบำบัดและการสวดมนต์ ในการสร้างอารมณ์ของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ บ้านเรียนชัยปรีญา ตำบลห้วยไร่ อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ มีความคิดเห็นว่าพฤติกรรมของเด็กจะ ลุกขึ้น เดินไปมา คิดเป็นค่าเฉลี่ย 2.75 หงุดหงิดง่าย เมื่อไม่พอใจ คิดเป็นค่าเฉลี่ย 4.50 ร้องไห้เอาแต่ใจตนเอง คิดเป็นค่าเฉลี่ย 2.75ไม่กล้าพูด พูดน้อยมากหรือไม่แสดงอารมณ์ตอบโต้เมื่อมีการสนทนา คิดเป็นค่าเฉลี่ย 2.63ไม่รู้จักการรอคอย คิดเป็นค่าเฉลี่ย 2.50 ก้าวร้าวทำลายสิ่งของเมื่อมีอารมณ์โกรธ คิดเป็นค่าเฉลี่ย 2.38 ไม่กล้าแสดงออก ชอบอยู่นิ่ง ไม่ชอบเข้าร่วมกิจกรรม คิดเป็นค่าเฉลี่ย 2.25 </p> สรรค์ชัย ไชยสกุลวงศ์ Copyright (c) 2025 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcr/article/view/273419 Wed, 09 Apr 2025 00:00:00 +0700 แนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทยทรงดำเพื่อการท่องเที่ยวตำบลตลาดจินดา และตำบลดอนยายหอม จังหวัดนครปฐม https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcr/article/view/275536 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาบริบทพื้นที่กลุ่มวัฒนธรรมไทยทรงดำบ้านลำเอียก ตำบลตลาดจินดา และบ้านสะแกราย ตำบลดอนยายหอม จังหวัดนครปฐม 2) เพื่อศึกษาศักยภาพชุมชนด้านการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนวัฒนธรรมไทยทรงดำบ้านลำเอียก และชุมชนวัฒนธรรมไทยทรงดำบ้านสะแกรายเพื่อรองรับการจัดการท่องเที่ยว และ 3) เพื่อหาแนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทยทรงดำเพื่อการท่องเที่ยวตำบลตลาดจินดา และตำบลดอนยายหอม โดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรท้องถิ่น โดยใช้แนวทางการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา เก็บรวบรวมข้อมูลจากการค้นคว้าข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 60 คน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มวัฒนธรรมไทยทรงดำบ้านลำเอียกและบ้านสะแกราย เป็นชาติพันธุ์ไทยทรงดำกลุ่มหนึ่ง ที่สืบเชื้อสายเดียวกันกับกลุ่มชาติพันธุ์ไทยทรงดำที่ถูกกวาดต้อนมารวมอาศัยอยู่ที่บริเวณ อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตร คนรุ่นใหม่ส่วนใหญ่นิยมทำงานในโรงงาน มีการใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านเป็นเครื่องมือในการดำเนินงานทางประเพณีวัฒนธรรม มีการผสมผสานวัฒนธรรมพื้นถิ่นและวัฒนธรรมสมัยใหม่ที่รับจากสังคมนอกชุมชนโดยผ่านช่องทางการศึกษา เรียนรู้ และประสบการณ์ 2) กลุ่มวัฒนธรรมไทยทรงดำบ้านลำเอียกและบ้านสะแกราย มีศักยภาพในการถ่ายทอดและการเรียนรู้ เป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากองค์ความรู้ของชุมชนหรือภูมิปัญญาท้องถิ่น และ3) แนวทางในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทยทรงดำ ได้แก่ เพิ่มการเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวชุมชน และจัดทำเส้นทางแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน กระตุ้นให้คนในชุมชนตระหนักถึงคุณค่าภูมิปัญญาท้องถิ่น มีการบูรณาการประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ส่งเสริมการจัดกิจกรรมอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทยทรงดำ โดยใช้วิธีการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของชุมชน ส่งเสริมเครือข่ายชุมชนวัฒนธรรมไทยทรงดำกับชุมชนวัฒนธรรมไทยทรงดำอื่น ๆ ให้มีความเข้มแข็ง และส่งเสริมความรู้และถ่ายทอดความรู้ที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมไทยทรงดำ เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม</p> ชนิษฐา ใจเป็ง; โชติมา ดีพลพันธ์ Copyright (c) 2025 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcr/article/view/275536 Wed, 09 Apr 2025 00:00:00 +0700 การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในพื้นที่การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ในจังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดลำปาง และจังหวัดสุโขทัย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcr/article/view/275712 <p> </p> <p>การศึกษาวิจัยในครั้งนี้เพื่อนำทุนทางวัฒนธรรมมาส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและเพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดลำปางและจังหวัดสุโขทัย โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ในการเก็บข้อมูล ผลการวิจัยพบดังนี้</p> <p>ผลการวิเคราะห์ข้อมูลของงานวิจัยเชิงปริมาณพบว่าข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 400 คน แยกผลการวิเคราะห์ข้อมูลเป็น 3 จังหวัด ดังนี้</p> <p> จังหวัดกำแพงเพชร ผลการวิเคราะห์ ค่าเฉลี่ยผลรวม 4.40 ค่าเฉลี่ยสูงสุดรายข้อ คือ ภายในจังหวัดมีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สามารถนำมาเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพได้ ค่าเฉลี่ย 4.76 ในส่วนของจังหวัดลำปาง ค่าเฉลี่ยผลรวม 4.22 ค่าเฉลี่ยสูงสุดรายข้อ คือ ควรมีการส่งเสริมการจัดกิจกรรมเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมภายในจังหวัด ค่าเฉลี่ย 4.60และในจังหวัดสุโขทัยผลการวิเคราะห์ คือ มีค่าเฉลี่ยผลรวม 4.23 ค่าเฉลี่ยสูงสุดรายข้อ คือ ภายในจังหวัดมีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สามารถนำมาเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพได้พบมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.70</p> <p> ผลการวิเคราะห์ข้อมูลของงานวิจัยเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างถึงแนวทางในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ใน 3 จังหวัด ประกอบด้วย นักท่องเที่ยว หัวหน้าและผู้บริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในบ่อน้ำพุร้อนพระร่วงจังหวัดกำแพงเพชร น้ำพุร้อนแจ้ซ้อนจังหวัดลำปางและอุทยานแห่งชาติเขาหลวงจังหวัดสุโขทัย รวมทั้งสิ้น 9 คน โดยการมีส่วนร่วมของปราชญ์ชุมชนและคนในชุมชน โดยสามารถเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพภายในพื้นที่กับแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพและโอกาสเชิงพื้นที่พบแนวทางในการพัฒนาการเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพกับแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 3 ด้าน คือ ด้านส่งเสริมการท่องเที่ยว ด้านการพัฒนาชุมชนท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยวและด้านการพัฒนาการตลาดและการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวซึ่งทั้ง 3 ด้านนี้จะก่อให้เกิดการพัฒนาต่อยอดแหล่งท่องเที่ยวภายในพื้นที่สู่ความยั่งยืน</p> บงกชกร ทองสุก Copyright (c) 2025 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcr/article/view/275712 Wed, 09 Apr 2025 00:00:00 +0700 การประยุกต์ใช้เมทริกฑ์การวางแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจของ บริษัท เอสอีดับบลิวเคเทอริ่งแมเนจเมนท์ จำกัด https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcr/article/view/276608 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากลยุทธ์ทางการตลาดและผลการดำเนินงาน และ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์ทางการตลาดกับผลดำเนินการของบริษัทเอสอี ดับบลิวเคเทอเริ่งเมเนจเมนท์ จำกัด สอบถามข้อมูลจากพนักงานและลูกค้าจำนวน 387 คนด้วยแบบสอบถาม และสนทนากลุ่มจากพนักงานจำนวน 10 คน แบ่งออกเป็นผู้บริหาร พนักงานหลายระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย SWOT, IFE &amp; EFE matrix และ QSPM matrix นำเสนอข้อมูลสถิติเชิงพรรณนาบรรยายผลการศึกษา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า กลยุทธ์ “การสร้างความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์” เป็นกลยุทธ์การพัฒนาที่สำคัญที่จะสร้างความแตกต่างด้านการตลาด การดำเนินการจำเป็นต้องปรับโครงสร้างองค์กร ปรับปรุงกระบวนการระบบการจัดการภายใน รักษาเสถียรภาพของผลิตภัณฑ์ที่ได้เปรียบไว้ พร้อมกับพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่อย่างจริงจัง สร้างการโปรโมตแบรนด์ใหม่ ใช้กลไกการคัดเลือกความสามารถและการฝึกอบรม ยกระดับการบริการลูกค้าให้อยู่ในระดับความสามารถในการแข่งขันหลักของบริษัท เสริมสร้างการตลาดใหม่และส่งเสริมการสร้างวัฒนธรรมองค์กร</p> Zhou Beijia; สำราญ วานนท์ Copyright (c) 2025 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcr/article/view/276608 Wed, 09 Apr 2025 00:00:00 +0700 การปรับปรุงการส่งเสริมการตลาดเพื่อรักษาฐานลูกค้าและเพิ่มการซื้อซ้ำ กรณีศึกษา : ห้างค้าปลีกท้องถิ่นแห่งหนึ่งในจังหวัดสิงห์บุรี https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcr/article/view/276245 <p>ธุรกิจค้าปลีกในปัจจุบันเผชิญกับหลายสภาพปัญหาที่มีผลต่อการดำเนินงานและความสามารถในการเติบโต ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภค การแข่งขันในตลาดค้าปลีกโดยเฉพาะการเข้ามาเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น อีคอมเมิร์ซ, แอปพลิเคชันซื้อของออนไลน์ หรือแพลตฟอร์มต่างๆ ที่ให้บริการสะดวกสบายและรวดเร็ว โดยบทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการจัดการการส่งเสริมการตลาดของธุรกิจค้าปลีกกรณีศึกษา และ 2) เสนอข้อแนะนำการปรับปรุงการส่งเสริมการตลาดให้กับฝ่ายบริหาร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร ได้แก่ ลูกค้าของห้างค้าปลีกฐานข้อมูลในทะเบียนจำนวน 75,000 ราย กลุ่มตัวอย่าง 385 ราย (Krejcie &amp; Morgan) การวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้บริหารธุรกิจค้าปลีก 2 ราย เครื่องมือที่ใช้การวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา สถิติอนุมาน และสถิติไร้พารามิเตอร์ และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1.การจัดการการส่งเสริมการตลาดของธุรกิจค้าปลีก การจัดกิจกรรมการสะสมคะแนนของลูกค้าเพื่อชิงโชคลุ้นรางวัล การจัดรายการสินค้าราคาพิเศษ การแจกผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อทดลองใช้ มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับผลการดำเนินงานทางการตลาดโดยรวม</p> <p> สรุปผลการวิจัย กลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่มีความตั้งใจเป็นลูกค้าของห้างฯ และต้องการมาซื้อซ้ำ โดยกลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าเมื่อสินค้ามีคุณภาพและความหลากหลายสินค้า มีการสะสมคะแนนของลูกค้าเพื่อชิงโชคลุ้นรางวัล การจัดรายการสินค้าราคาพิเศษเพื่อดึงดูดให้กลับมาซื้อซ้ำ</p> <p> 2.ข้อเสนอแนะ สินค้ามีความหลากหลายครบครัน มีราคาพิเศษ รางวัลชิงโชคควรมีความหลากหลาย</p> สายฝน แซ่จู; เดชา โลจนสิริศิลป Copyright (c) 2025 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcr/article/view/276245 Wed, 09 Apr 2025 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารงานโรงเรียนคุณธรรม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcr/article/view/276564 <p>บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยการบริหารโรงเรียนคุณธรรมสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5 2) ศึกษาระดับความสำเร็จในการบริหารงานโรงเรียนคุณธรรม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5 3) ศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยความสำเร็จในการบริหารงานโรงเรียนคุณธรรม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5 4) สร้างสมการพยากรณ์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารงานโรงเรียนคุณธรรม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 479 คน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ตารางสำเร็จรูปของ Taro Yamane เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับนิยามศัพท์ที่มีค่าตั้งแต่ 0.60-1.00 มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.340 – 0.522 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับของตัวแปรพยากรณ์ เท่ากับ 0.899 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับของตัวแปรเกณฑ์ เท่ากับ 0.939 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และสถิติการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยการบริหารโรงเรียนคุณธรรมสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมาเขต 5 โดยภาพรวมอยู่ระดับมากที่สุด 2) ความสำเร็จในการบริหารงานโรงเรียนคุณธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5 ภาพรวมอยู่ระดับมากที่สุด 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารงานโรงเรียนคุณธรรมสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมาเขต 5 มีความสัมพันธ์กันทางบวกอยู่ในระดับมากถึงระดับมากที่สุด .753-.868 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารโรงเรียนคุณธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมาเขต 5 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ถดถอยพหุคูณเท่ากับ .871 อยู่ในระดับมากที่สุด คือ ด้านนโยบายและการปฏิบัติ (X<sub>3</sub>) (<strong>B</strong> = .768) รองลงมา คือ ด้านบุคคล (X<sub>1</sub>) (<strong>B</strong> = .441) ด้านสภาพแวดล้อม (X<sub>2</sub>) (<strong>B</strong> = 0.183) ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์การถดถอยในรูปของคะแนนมาตรฐาน (β ) เท่ากับ .813, .451 และ.185 ตามลำดับ</p> <p>สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ</p> <p>= 0.364 + 0.768X<sub>3</sub> + 0.441X<sub>1</sub> + 0.183X<sub>2</sub></p> <p>สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน</p> <p> = .813X<sub>3</sub> + .451X<sub>1</sub> +.185X<sub>2</sub></p> หนึ่งฤทัย พาณิชย์ศิริไพบูรณ์ ; เพียงแข ภูผายาง Copyright (c) 2025 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcr/article/view/276564 Wed, 09 Apr 2025 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcr/article/view/276561 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 2) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 4) เพื่อสร้างสมการพยากรณ์ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 จำนวน 324 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้การสุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของ Yamane เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับนิยามศัพท์ที่มีค่าตั้งแต่ 0.60-1.00 มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.515-0.938 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.994 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า</p> <ol> <li>ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนมีความคิดเห็นต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก</li> <li>ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนมีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก</li> <li>ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 มีความสัมพันธ์ทางบวก ในระดับสูงมากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</li> <li>ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 พบว่า มีตัวแปรพยากรณ์ 5 ด้าน คือ X5 ด้านการบริหารหลักสูตร X3 ด้านสภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษา X6 ด้านการนิเทศการสอน X4 ด้านการกำหนดวิสัยทัศน์และนโยบาย X2 ด้านการพัฒนาครูและบุคลากร สามารถพยากรณ์ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 ได้ร้อยละ 89.9 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</li> </ol> <p> สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน คือ</p> <p>= .275+ .858(X5) + .190(X3) +.320(X6) + .129(X4) + .084(X2)</p> <p> = .907(X5) + .252(X3) +.344(X6) + .142(X4) + .099 (X2)</p> สิริกร เขตกิ่ง ; เพียงแข ภูผายาง , เกษกนก วรรณวัลย์ Copyright (c) 2025 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcr/article/view/276561 Wed, 09 Apr 2025 00:00:00 +0700 การพัฒนาพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเล่น เกมเบ็ดเตล็ดประกอบสถานการณ์จำลอง https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcr/article/view/276993 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์พฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมการเล่นเกมเบ็ดเตล็ดประกอบสถานการณ์จำลอง และ 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมการเล่นเกมเบ็ดเตล็ดประกอบสถานการณ์จำลอง ประชากรได้แก่เด็กปฐมวัยชาย - หญิง อายุระหว่าง 4 - 5 ปี ศึกษาในชั้นอนุบาล ปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ที่โรงเรียนวัดถนนแค อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี จำนวน 16 คน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองกลุ่มเดียว ทดสอบก่อนและหลังการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเล่นเกมเบ็ดเตล็ดประกอบสถานการณ์จำลอง จำนวน 24 แผน และแบบสังเกตพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัย ทั้งหมด 3 ด้าน คือ ด้านการมีวินัยในตนเอง ด้านเป็นสมาชิกที่ดีต่อสังคม และด้านการรับผิดชอบ ระยะเวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน คือ วันอังคาร วันพุธ และวันพฤหัสบดี วันละ 40 นาที ในช่วงกิจกรรมกลางแจ้ง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย (μ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ) และสถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน คือ ค่าสถิติไค – สแควร์ และค่าความแตกต่าง</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า1) พฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมการเล่นเกมเบ็ดเตล็ดประกอบสถานการณ์จำลองมีความสัมพันธ์กันทั้งโดยภาพรวมและจำแนกรายด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) พฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดกิจกรรมการเล่นเกมเบ็ดเตล็ดประกอบสถานการณ์จำลองสูงกว่าก่อนการทดลอง ทั้งโดยภาพรวมและจำแนกรายด้าน</p> สาธนี การะเกตุ ; ดารารัตน์ อุทัยพยัคฆ์ , ปิยะดา จุลวรรณา Copyright (c) 2025 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcr/article/view/276993 Wed, 09 Apr 2025 00:00:00 +0700