https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcr/issue/feed วารสารชัยภูมิปริทรรศน์ 2024-04-27T23:46:13+07:00 พระศรีสัจญาณมุนี, ผศ. ดร. Sumin.yati@mcu.ac.th Open Journal Systems <p>วารสารชัยภูมิปริทรรศน์เป็นวารสารวิชาการ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการศึกษาค้นคว้า และเพื่อเผยแพร่บทความวิจัย บทความพิเศษ บทความวิชาการ บทความปริทรรศน์ บทวิจารณ์หนังสือ และปกิณกะ แก่ นักวิจัย นักวิชาการ คณาจารย์ และนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา โดยที่ครอบคลุมเนื้อหาในมิติทางด้านพระพุทธศาสนา ที่เกี่ยวข้องกับสาขาพระพุทธศาสนา ปรัชญา กฎหมาย การศึกษารัฐศาสตร์ การปกครอง ศิลปะวัฒนธรรมและประเพณี ทั้งพระพุทธศาสนาแนวคัมภีร์ และพระพุทธศาสนาแนวประยุกต์กับศาสตร์สมัยใหม่</p> <p>วารสารชัยภูมิปริทรรศน์ มีกำหนดออกเผยแพร่ปีละ 3 ฉบับ</p> <p>ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน</p> <p>ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม</p> <p>ฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม</p> https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcr/article/view/268236 การบริหารจัดการโบราณสถานในวัดเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 2024-02-11T10:52:21+07:00 พระมหามงคลกานต์ ฐิตธมฺโม Mongkholkan1977@gmail.com พระวรพนธ์ วรธมฺโม ตัณฑ์พูนเกียรติ varadharmmo@gmail.com พระสุขีศม สีลเตชปุตฺติโย จิรมหาสุวรรณ jiramahasuwan@gmail.com <p>การศึกษาครั้งนี้เพื่อให้เกิดความเข้าใจในการบริหารวัดของเจ้าอาวาสที่มีโบราณสถานในการบริหารจัดการโบราณสถานในวัดเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเน้นความสำคัญของวัดที่มีโบราณสถานเพื่อสร้างความยั่งยืนให้เกิดขึ้น</p> <p> ดังนั้น หน้าที่ของเจ้าอาวาสในการบริหารวัด จึงต้องการการมีส่วนร่วมและมีการพัฒนาที่ยั่งยืนในรูปแบบของการอนุรักษ์ในเชิงวัฒนธรรมและอนุรักษ์โบราณสถานอันเป็นเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ของสถานที่นั้น ๆ จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากในการที่จะเข้าใจ และให้การร่วมมือของเจ้าของถิ่นอันมีประชาชนและองค์กรท้องถิ่น โดยมีเจ้าอาวาสเป็นผู้นำและสร้างความเข้าใจให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของวัดให้เกิดขึ้นต่อไป</p> 2024-04-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcr/article/view/267301 พระพุทธศาสนากับรากฐานทางวัฒนธรรมในวิถีชีวิตชาวหนองคาย 2024-01-04T20:45:28+07:00 พระมหานิพิฐพนธ์ จิรวฑฺฒโน nipitpon.von@mcu.ac.th <p>การสร้างความตระหนักและจิตสำนึก อย่างมีส่วนร่วมให้กับคนในชุมชนท้องถิ่นให้เห็นคุณค่าของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมและทรัพยากรในท้องถิ่น เพราะเป็นต้นทุนสำคัญในการพัฒนาต่อยอดสู่การพัฒนาท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ซึ่งเป็นการบูรณาการองค์ความรู้จากสหวิทยาการและความรู้สมัยใหม่เข้ากับความรู้และภูมิปัญญาของท้องถิ่น ดังนั้น การพัฒนาวิถีชีวิตในชุมชนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จึงไม่สามารถพัฒนาขึ้นได้โดยปัจจัยภายในหรือศักยภาพที่มีอยู่เดิมในชุมชนท้องถิ่นเพียงอย่างเดียว จำเป็นที่จะต้องเข้าใจสถานการณ์ภายนอกที่เป็นทั้งโอกาส ผลกระทบ และภาวะคุกคาม ในการพัฒนาที่เหมาะสมกับบริบทของชุมชนท้องถิ่นนั้น ๆ</p> <p> พระพุทธศาสนากับรากฐานทางวัฒนธรรมในวิถีชีวิตถือเป็นแนวทางหรือทางเลือกหนึ่งของการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น โดยใช้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการจัดการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมและทรัพยากรในท้องถิ่น เพื่อให้เกิดการสร้างจิตสำนึกและการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ต่อยอด และเผยแพร่ มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมและทรัพยากรในท้องถิ่น ทั้งที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ นำไปสู่การสร้างมูลค่าและโอกาสทางเศรษฐกิจรวมถึงกระบวนการทางสังคมและการเรียนรู้ทางวัฒนธรรมร่วมกัน</p> 2024-04-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcr/article/view/268103 การสร้างทักษะผู้เรียนให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลก 2024-03-05T23:20:22+07:00 พระมหานิพิฐพนธ์ จิรวฑฺฒโน nipitpon.von@mcu.ac.th <p> </p> <p><strong> </strong>เมื่อโลกเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ผู้ปกครองคงเห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นแทบทุกมิติ ไม่ว่าจะการติดต่อสื่อสารที่ผู้คนจากทั่วโลกสามารถเชื่อมต่อกันได้อย่างรวดเร็ว มีเทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน โทรศัพท์มือถือ คือศูนย์รวมทุกอย่างที่ต้องการ หุ่นยนต์เข้ามาทำงานร่วมกับคนมากขึ้น และเมื่อลูกเติบโตขึ้นโลกก็จะยิ่งเปลี่ยนแปลงมากขึ้น จากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด ทำให้องค์ความรู้และเทคโนโลยีมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว และรูปแบบวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปสู่วิถีแบบหลายช่วง เนื่องจากประชากรมีแนวโน้มที่จะมีอายุยืนยาวขึ้น และมีแนวโน้มที่จะทำงานมากกว่าหนึ่งอาชีพในตลอดช่วงชีวิต และการสร้างทักษะให้กับผู้เรียนเพื่อให้พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในโลกมีความสำคัญอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากโลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ด้วยการพัฒนาทักษะที่เหมาะสม เช่น การคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล เชื่อมโยงข้อมูล แก้ไขปัญหา และการทำงานร่วมกับผู้อื่น ผู้เรียนจะสามารถปรับตัวและเข้ากันได้กับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้มากยิ่งขึ้น ด้วยทักษะเหล่านี้ พวกเขาจะมีสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและการประกอบอาชีพในอนาคตที่ท้าทายและเป็นไปได้สูงในโลกปัจจุบัน</p> <p> ดังนั้น การเรียนจากระบบการศึกษาเพียงครั้งเดียวเพื่อใช้งานตลอดชีวิตจึงไม่เพียงพอ รูปแบบการเรียนรู้จะเปลี่ยนไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา การเพิ่มโอกาสทางการศึกษาและเรียนรู้ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงพัฒนารูปแบบวิธีการจัดการเรียนการสอนที่จะต้องเน้นการพัฒนาทักษะ กระบวนการคิดวิเคราะห์ ให้ผู้เรียนได้เป็นเจ้าของการเรียนรู้อย่างแท้จริง พร้อมทั้งการเปลี่ยนแปลงวิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ที่จะต้องให้มีความสอดคล้องกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้</p> 2024-04-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcr/article/view/268907 พุทธวิธีการจัดการรายได้ตามหลักโยนิโสมนสิการ 2024-04-08T10:22:25+07:00 เรืองวิทย์ เพชรไกร rurngvitukkhadhammo@ibsc.mcu.ac.th <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาพุทธวิธีจัดการรายได้ตามหลักโยนิโสมนสิการนั้น ผลจากการศึกษาพบว่า จะใช้หลักการคิด 10 วิธี ที่ท่านพระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต) ได้จำแนกแจกแจงไว้ มาประกอบรวมเข้ากับหลักธรรมอื่นๆ ในพระพุทธศาสนาและแนวคิดอื่นๆ จากหนังสือบางเล่ม เพื่อที่จะใช้เป็นแนวทางในการจัดการรายได้และปลดหนี้สินของพุทธศาสนิกชนไทยและครอบครัว ซึ่งบทความนี้ได้ถูกเขียนขึ้นด้วยทัศนคติที่ว่า พุทธศาสนิกชนผู้มีปัญญาสามารถใช้หลักโยนิโสมนสิการเข้าช่วยแก้ไขและเบาเทาทุกข์ในเรื่องนี้ได้</p> <p> ในบรรดาหลักการคิดทั้ง 10 ข้อ บทความนี้ได้แนะนำให้ตั้งการคิดตามแบบอริยสัจ 4 เป็นหลัก และนำมาผสมกับการคิดแบบอื่นและหลักธรรมอื่นๆ จนพุทธวิธีดังกล่าวสามารถสรุปลงได้ 4 ข้อใหญ่ และ 4 ข้อย่อย คือ 1. พิจารณาปัญหารายได้หนี้สิน ซึ่งเป็นการมองเข้าไปดูความทุกข์ในเรื่องรายได้และหนี้สินในปัจจุบัน 2. พิจารณาเหตุและปัจจัยของหนี้สิน โดยการใช้หลักโยนิโสมนสิการ คือ พิจารณาตามหลักเหตุและปัจจัยที่ก่อให้เกิด ซึ่งเหตุมันเป็นเพราะว่า รายได้เรานั้นน้อยกว่ารายจ่าย 3. พิจารณาความพอเพียงร่ำรวยไม่มีหนี้สิน การที่เราไม่มีหนี้นั้น ย่อมเป็นลาภอันประเสริฐ และมีคนไทยจำนวนหนึ่งที่ไม่มีหนี้และสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างพอเพียง บางคนถึงกับร่ำรวยด้วยซ้ำ จึงสามารถบ่งชี้ได้ว่าปัญหานี้มีทางออก 4. ทางแห่งการดำรงชีวิตอยู่อย่างพอเพียงและปราศจากหนี้สิน ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ข้อย่อย ได้แก่ 4.1 ลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นลง จะช่วยทำให้วิธีการทำรายได้ให้ได้มากกว่ารายจ่ายสมฤทธิ์ผลได้ง่ายขึ้น 4.2 ป้องกันตัวจากรายจ่ายที่ไม่จำเป็น เช่น การคิดแบบเร้าคุณธรรม รักษาศีล 5 ให้บริบูรณ์ 4.3 หาทางทำรายได้ให้ได้มากขึ้น ซึ่งถือหลัก “รายได้จำเป็นต้องมากกว่ารายจ่าย” เป็นหัวใจสำคัญในการบริหารจัดการรายได้ให้สามารถดำรงชีวิตอยู่อย่างพอเพียงและปราศจากหนี้สิน 4.4. ป้องกันรายได้ที่มีอยู่ไม่ให้ลดลง ข้อนี้จะใช้โยนิโสมนสิการเพื่อยับยั้งหรือบรรเทาการเสียรายได้ที่เรามีอยู่ไม่ให้สูญหายหรือลดลงให้น้อยที่สุด</p> 2024-04-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcr/article/view/269005 อุปสรรคและแนวทางในการจัดการศึกษาออนไลน์ 2024-03-14T14:17:31+07:00 จงรักษ์ ภูพิษ rak26.275@gmail.com <p>การศึกษาออนไลน์เป็นทางเลือกที่สำคัญในการเรียนรู้ในยุคปัจจุบัน อย่างไรก็ตามมีอุปสรรค ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทำให้การจัดการการศึกษาออนไลน์มีความซับซ้อนมากขึ้นอุปสรรคที่พบบ่อย ได้แก่ปัญหาเทคนิคที่สอนไม่ได้มีประสิทธิภาพเทียบกับการเรียนแบบดั้งเดิม และปัญหาทางเทคนิคที่ทำให้การใช้เทคโนโลยีไม่ราบรื่น เพื่อพัฒนาวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่เหมาะสมกับรูปแบบการสอนออนไลน์ การพัฒนาเทคโนโลยีที่ใช้ในการสอนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้วยการนำเสนอและดำเนินแนวทางที่เหมาะสม การเรียนรู้ออนไลน์สามารถมีประสิทธิภาพและมีคุณภาพสูงได้โดยให้ผู้เรียนเข้าร่วมในกระบวนการ สนับสนุนทางด้านทักษะการคิด และทางด้านอารมณ์ของผู้เรียนให้เหมาะสม เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์ในการพัฒนาความรู้ ทักษะ ของผู้เรียนในยุคปัจจุบัน ทั้งนี้เพื่อให้การศึกษาออนไลน์เป็นทางเลือกที่มีคุณภาพและมีผลลัพธ์ที่ดีในการพัฒนาความรู้ของผู้เรียน</p> <p> ดังนั้น การให้ความสนใจต่อความต้องการและความพร้อมของผู้เรียนช่วยให้การศึกษาออนไลน์เป็นทางเลือกที่มีผลลัพธ์ที่ดี ในการส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาทักษะในยุคที่เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในการจัดทำแผนการสนับสนุนที่สามารถช่วยให้ผู้เรียนมีประสบการณ์การเรียนรู้ที่ดี</p> 2024-04-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcr/article/view/266864 พระพุทธศาสนาในประเทศไทย:เอกภาพในความหลากหลาย 2024-01-08T20:51:20+07:00 พระมหาชาญ สร้อยสุวรรณ chansoi2517@gmail.com <p><strong>บทนำ</strong></p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; หนังสือเรื่อง พระพุทธศาสนาในประเทศไทย: เอกภาพในความหลากหลาย ที่เขียนโดย ดร.ภัทร &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;สิริกาญจน นี้ เป็นการพิมพ์ครั้งที่ 1 มีทั้งหมด 9 บท รวมจำนวนหน้าตั้งแต่ บทที่ 1-บทที่ 9 &nbsp;เชิงอรรถท้ายบท คำถามท้ายบท บรรณานุกรม ดัชนี และประวัติผู้เขียน รวมได้ทั้งหมด 309 ซึ่งมุ่งอธิบายสาระสำคัญที่ส่งผลให้เห็นความหลากหลายของพระพุทธศาสนาในประเทศไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อที่จะนำเสนอแง่มุมทางด้านการศึกษา ด้านค่านิยม แนวความคิด และแนวทางนำไปปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ของชาวพุทธในประเทศไทย</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; หนังสือเล่มนี้แต่งโดย ดร.ภัทรพร สิริกาญจน (ขณะเขียนหนังเล่มนี้) เป็นอาจารย์ประจำภาควิชาปรัชญา คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หนังสือของท่านเป็นงานที่อาศัยการค้นคว้าจากตำราทางพระพุทธศาสนาทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายาน เป็นหนังสือด้านปรัชญาและศาสนา ที่ได้รับความเชื่อถือจากวงการนักวิชาการ คณาจารย์ นิสิตนักศึกษาจากสถาบันต่าง ๆ ของประเทศไทย จึงเกิดแรงบันดาลใจที่ผู้วิจารณ์นำหนังสือเล่มนี้มาวิจารณ์</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผู้วิจารณ์ได้อ่านหนังสือเล่มนี้ครั้งแรก รู้สึกสนใจเป็นพิเศษ ซึ่งได้รับความรู้ต่าง ๆ มากมายจากหนังสือเล่มนี้&nbsp; มีความเข้าใจในความหลากหลายของพระพุทธศาสนาในประเทศไทย เพราะถึงจะมีความหลากหลายในด้านการศึกษา ด้านแนวความคิด และด้านแนวทางในการปฏิบัติ แต่จุดมุ่งหมายก็ไปในทางเดียวกันคือความพ้นทุกข์ หรือเป็นไปเพื่อความสันติสุขที่เกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอก มุ่งเน้นประโยชน์สุขของตนและของสังคมโดยส่วนรวม</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ดร.ภัทรพร สิริกาญจน ในขณะที่เขียนหนังสือเล่มนี้ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ ประจำคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จบปริญญาตรี อักษรศาสตรบัณฑิต สาขาปรัชญา (เกียรตินิยมอันดับสอง) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จบปริญญาโท อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาปรัชญา จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาเอก Ph.D สาขาศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย (University of Pennsylvania) สหรัฐอเมริกา เป็นรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งโลก (ม.พ.ล.) และตำแหน่งสำคัญ ๆ อีกมากหมาย ได้รับรางวัลผลงานดีเด่นในสาขาปรัชญาจากมูลนิธิจำนงค์ ทองประเสริฐประจำปี พ.ศ.2552 และมีผลงานทางวิชาการทั้งด้านงานแปลบทความภาคภาษาอังกฤษ และภาคภาษาไทย รวมทั้งบทความทางปรัชญาประยุกต์</p> 2024-04-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcr/article/view/266896 รูปแบบการพัฒนาศาสนทายาทอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษาวัดเกียรติแก้วสามัคคี อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ 2023-12-17T18:20:11+07:00 พระอธิการอำพน จารุโภ ดาราศาสตร์ Darasas11355@gmail.com พระครูสุตธรรมาภิรัต ยืนยง Darasas11355@gmail.com พระครูปริยัติกิตติวรรณ ได้ทุกทาง Darasas11355@gmail.com พระเสกสรรค์ ฐานยุตฺโต ศรีทน Darasas11355@gmail.com ธนรัฐ สะอาดเอี่ยม Darasas11355@gmail.com <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาหลักการพัฒนาศาสนทายาทตามแนวทางพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และ3) เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการพัฒนาศาสนทายาทของวัดแก้วสามัคคี อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ/ภาคสนาม โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง และการสนทนากลุ่ม (Focus Group) แล้วนำเสนอเชิงพรรณนาวิเคราะห์</p> <p> <strong>ผลการศึกษาพบว่า 1)</strong> หลักการพัฒนาศาสนทายาทตามแนวทางพระพุทธศาสนานั้น คือ คันถธุระ และวิปัสสนาธุระ อันเป็นหลักการที่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำให้พระภิกษุทั้งหลายได้ทำหน้าที่ เป็นกิจธุระ ที่พึงกระทำและศึกษาในด้าน ศีล สมาธิ และปัญญา ให้สมบูรณ์ต่อการดำเนินชีวิต2) แนวคิดเรื่อง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน คือ การฝึกอบรมเป็นการเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจ จากกระบวนการศึกษา อันเป็นความรู้ที่จะเกิดขึ้นกับทุกคน แล้วนำมาพัฒนาตนใช้ในการดำเนินชีวิต ตามความเหมาะสมของสถานการณ์ในปัจจุบัน 3) รูปแบบการพัฒนาศาสนทายาทของวัดแก้วสามัคคี อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน คือ เน้นศึกษาพระบาลีเป็นหลักส่วนวิชาสามัญจะเป็นวิชารอง โดยยึดแนวทางในพระพุทธศาสนา คือ คันถธุระอันเป็นหน้าที่หลักของพระภิกษุสามเณร ที่ต้องเรียนด้านปริยัติ ศึกษาหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า และวิปัสสนาธุระอันเป็นกิจที่เนื่องจากคันถธุระ นำมาปฏิบัติเรียนรู้ให้เข้าใจ ตามความเป็นจริง</p> 2024-04-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcr/article/view/267853 การพัฒนาความสามารถการอ่านและเขียนวิเคราะห์ วิจารณ์วรรณกรรม ของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย โดยใช้การจัดการเรียนรู้กลวิธี REAP 2024-02-16T12:07:02+07:00 Phatthanant Phapor phathanant.ph@cpru.ac.th พัทธนันท์ พาป้อ phathanant.ph@cpru.ac.th <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถการอ่านและเขียนวิเคราะห์ วิจารณ์วรรณกรรมของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทยก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้กลวิธี REAP .2) เพื่อประเมินพัฒนาการความสามารถการอ่านและเขียนวิเคราะห์ วิจารณ์วรรณกรรมของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย ภายหลังที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้กลวิธี REAP และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้กลวิธี REAP ภายหลังที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้กลวิธี REAP กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย ชั้นปีที่ 3 ปีการศึกษา 2566 ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาวรรณกรรมกับการวิจารณ์อย่างสร้างสรรค์ จำนวน 54 คน โดยได้มาจากวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) แผนการสอนอ่านและเขียนวิเคราะห์วิจารณ์วรรณกรรมด้วยการจัดการเรียนรู้กลวิธี REAP 2) แบบทดสอบความสามารถการอ่านและเขียนวิเคราะห์ วิจารณ์วรรณกรรม และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษามีต่อการสอนอ่านและเขียนวิเคราะห์ วิจารณ์วรรณกรรมด้วยการจัดการเรียนรู้กลวิธี REAP สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลความแตกต่างของคะแนนผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังเรียนของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตร t-test แบบ Dependent</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>ผลการเปรียบเทียบความสามารถการอ่านและเขียนวิเคราะห์ วิจารณ์วรรณกรรมของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทยก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้กลวิธี REAP พบว่า คะแนนการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</li> <li>ผลการประเมินพัฒนาความสามารถการอ่านและเขียนวิเคราะห์ วิจารณ์วรรณกรรมของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย ภายหลังที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้กลวิธี REAP โดยใช้สูตรคำนวณหาค่าระดับคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ พบว่า นักศึกษาภายหลังที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้กลวิธี REAP มีพัฒนาการความสามารถการอ่านและเขียนวิเคราะห์ วิจารณ์วรรณกรรมอยู่ในระดับ สูง</li> <li>ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้กลวิธี REAP ภายหลังที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้กลวิธี REAP โดยรวมพบว่า นักศึกษามีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด</li> </ol> 2024-04-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcr/article/view/267958 การศึกษาผลการใช้โปรแกรมการฝึกความเร็วเพื่อพัฒนาทักษะการวิ่งระยะสั้น ของนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ 2024-03-05T23:29:13+07:00 อัจฉราภรณ์ เชื้อช้าง phathanant.ph@cpru.ac.th <p><strong> </strong>วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาโปรแกรมฝึกความเร็วที่มีต่อความยาวของช่วงก้าวและความถี่ในการก้าว 2) เพื่อเปรียบเทียบความเร็ว 3) เพื่อเปรียบเทียบความยาวของช่วงก้าว และ 4) เพื่อเปรียบเทียบความถี่ในการก้าว ก่อนและหลังการใช้โปรแกรมฝึกความเร็วที่มีต่อความยาวของช่วงก้าวและความถี่ในการก้าวของนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ นักศึกษาสาขาวิชาพบศึกษา ชั้นปีที่ 1 ที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการวิจัย จำนวน 30 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยจะเข้าร่วมโปรแกรม โดยจะเข้าร่วมโปรแกรมฝึกความเร็วที่มีต่อความยาวของช่วงก้าวและความถี่ในการก้าว เป็นระยะ เวลา 8 สัปดาห์ จะทำการทดสอบความเร็วโดยแบบทดสอบวิ่ง 100 เมตร เก็บข้อมูลการทดสอบความโดยใช้ 1) โปรแกรมฝึกความเร็วที่มีต่อความยาวของช่วงก้าวและความถี่ในการก้าว และ 2) แบบประเมินการทดสอบ (แบบบันทึก) ของโปรแกรมฝึกความเร็วที่มีต่อความยาวของช่วงก้าวและความถี่ในการก้าวของนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ประกอบด้วย 3 แบบประเมินย่อย ได้แก่ 1) แบบประเมินความเร็วในการวิ่งระยะสั้น 2) แบบประเมินความยาวของช่วงก้าว และ 3) แบบประเมินความถี่ในการก้าว นำข้อมูลจากการทดสอบมาวิเคราะห์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้เพื่อเปรียบเทียบผลการทดสอบก่อนกับหลังการใช้โปรแกรมฝึกความเร็วที่มีต่อความยาวของช่วงก้าวและความถี่ในการก้าว คือ การทดสอบค่า t แบบ dependent และกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>การพัฒนาโปรแกรมฝึกความเร็วที่มีต่อความยาวของช่วงก้าวและความถี่ในการก้าวของนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ พบว่า โปรแกรมฝึกที่ผู้วิจัยสร้างและพัฒนาขึ้น มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาตามความเหมาะสมของโปรแกรมร้อยละ 100 จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน</li> <li>ผลการเปรียบเทียบความเร็ว ก่อนและหลังการใช้โปรแกรมฝึกความเร็วที่มีต่อความยาวของช่วงก้าวและความถี่ในการก้าวของนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ พบว่า</li> </ol> <p>ค่าเฉลี่ยความเร็วในการวิ่งหลังการฝึกตามโปรแกรม ( = 12.52) ดีกว่าก่อนการฝึกตามโปรแกรม ( = 13.06) ผลการฝึกแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05</p> <ol start="3"> <li>ผลการเปรียบเทียบความยาวของช่วงก้าว ก่อนและหลังการใช้โปรแกรมฝึกความเร็วที่มีต่อความยาวของช่วงก้าวและความถี่ในการก้าวของนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ พบว่า ค่าเฉลี่ยความยาวของการก้าวหลังฝึกตามโปรแกรม ( = 13.06) ดีกว่าก่อนการฝึก<br />ตามโปรแกรม ( = 12.52) ผลการฝึกแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05</li> </ol> <p> 4 ผลการเปรียบเทียบความถี่ในการก้าว ก่อนและหลังการใช้โปรแกรมฝึกความเร็วที่มีต่อความยาวของช่วงก้าวและความถี่ในการก้าวของนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ พบว่า ค่าเฉลี่ยความถี่ในการก้าวเท้าวิ่งหลังการฝึกตามโปรแกรม ( = 3.77) ดีกว่าก่อนฝึก ( = 3.47) ตามโปรแกรม ผลการฝึกแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05</p> 2024-04-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcr/article/view/268462 การนำนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครราชสีมา กรณีศึกษา : เทศบาลเมือง จังหวัดนครราชสีมา 2024-02-24T22:19:06+07:00 ชลิดา กันหาลิลา chalida.nmc@gmail.com วราภรณ์ รุ่งเรืองกลกิจ chalida.nmc@gmail.com รชพล ศรีขาวรส chalida.nmc@gmail.com <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การนำนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดนครราชสีมา (2) ปัญหา อุปสรรคในการนำนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดนครราชสีมา และ (3) ข้อเสนอแนะการนำนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปปฏิบัติ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการศึกษาในเขตเทศบาลเมือง 4 แห่ง ได้แก่ เทศบาลเมืองบัวใหญ่ เทศบาลเมืองสีคิ้ว เทศบาลเมืองเมืองปัก และเทศบาลเมืองปากช่อง โดยผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ กลุ่มผู้บริหารและกลุ่มเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้การวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบ</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1.การนำนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดนครราชสีมา การนำนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปปฏิบัติจะถูกกำหนดมาจากส่วนกลาง โดยมีเจ้าหน้าที่สวัสดิการสังคมเป็นผู้ดูแลการจัดสรรงบประมาณการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุโดยเฉพาะ สำนักงานเทศบาลเมืองเป็นสถานที่ขึ้นทะเบียนผู้สูงอายุซึ่งมีวัสดุอุปกรณ์อย่างเพียงพอ</p> <p> 2.ปัญหา อุปสรรคในการนำนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดนครราชสีมา พบว่าบุคลากร เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการไม่เพียงพอ เนื่องจากมีภาระงานส่วนอื่นที่ทับซ้อนอยู่เป็นจำนวนมากไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริมดูแลสวัสดิภาพในเด็ก เยาวชน สตรี ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาส และเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไม่เพียงพอต่อค่าครองชีพ</p> <p> 3.ข้อเสนอแนะ เสริมสร้างพัฒนาบุคลากรเข้ารับการอบรมเพื่อเพิ่มพูนศักยภาพ ความเชี่ยวชาญ ศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องอยู่เสมอ การจัดสรรเงินงบประมาณที่มีความเหมาะสม ข้อค้นพบเพิ่มเติม : ความร่วมมือผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการจะทำให้การนำนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเกิดผลสำเร็จ</p> 2024-04-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcr/article/view/268665 แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ ศาสนาและวัฒนธรรม จังหวัดชัยภูมิ ในยุคขอม 2024-03-04T10:15:35+07:00 กาญจนพงศ์ สุวรรณ kancanapong24@hotmail.com พระครูสุตภัทรธรรม พระครูสุตภัทรธรรม Kancanapong24@hotmail.com <p>งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสำรวจแหล่งเรียนรูทางประวัติศาสตร์ ศาสนาและวัฒนธรรม จังหวัดชัยภูมิในยุคขอม 2) เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ ศาสนาและวัฒนธรรม จังหวัดชัยภูมิในยุคขอม 3) เพื่อเชื่อมโยงแหล่งเรียนรูทางประวัติศาสตร์ ศาสนาและวัฒนธรรม ในยุคขอม ของจังหวัดชัยภูมิ โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยค้นหาข้อมูลปฐมภูมิจากการสำรวจ การสนทนากลุ่ม ด้วยการลงพื้นที่สัมภาษณ์</p> <p> <strong>ผลการศึกษาพบว่า 1)</strong> สำรวจแหล่งเรียนรูทางประวัติศาสตร์ ศาสนาและวัฒนธรรม จังหวัดชัยภูมิในยุคขอม สร้างขึ้นในสมัยพุทธศตวรรษที่ 18 ในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรขอม ปรางค์กู่ทั้งสามที่ กรมศิลปากรได้สำรวจและขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานไว้แล้ว ผู้วิจัยสำรวจพบว่า 1. ปรางค์กู่ อำเภอเมืองชัยภูมิ มีลักษณะเป็นศิลปะขอมแบบบายน ทับหลังมีรูปหน้ากาลอยู่ตรงกลาง ด้านบนเป็นรูปพระพุทธรูปและพระโพธิสัตว์ประทับยืน 2. ปรางค์กู่ อำเภอบ้านแท่น เป็นโบราณสถานสมัยวัฒนธรรมขอม สร้างด้วยศิลาแลง 3. ปรางค์กู่แดง อำเภอเขว้า เป็นโบราณสถานกู่แดงเทวาลัยศิลปะขอม ศตวรรษที่ 16 ราว พ.ศ.1650-1725 ก่อสร้างด้วยศิลาแลง ทรายและอิฐเผา</p> <p> ส่งเสริมการอนุรักษ์แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ ศาสนาและวัฒนธรรม จังหวัดชัยภูมิในยุคขอม เป็นการส่งเสริม ด้านวิชาการ คือการเขียนประวัติศาสตร์ต่างๆ ศาสนาและวัฒนธรรมให้ปรากฎอยู่ในหนังสือ เวปไซค์ รวมทั้งเข้าร่วมส่งเสริมกิจกรรมบุญประเพณี ประจำปี ทุกปี เพื่อให้ประชาชน ตระหนักถึงแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ ศาสนาและวัฒนธรรมของขอม</p> <p> เชื่อมโยงแหล่งเรียนรูทางประวัติศาสตร์ ศาสนาและวัฒนธรรม จังหวัดชัยภูมิในยุดขอม โดยใช้กิจกรรมในการเชื่อมโยง เป็นกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา คือ รักษาศีล การทำบุญตักบาตร เจริญจิตภาวนา สวดมนต์ไหว้พระ และการบูชาด้วยดอกไม้ธูปเทียน เพื่อสักการะ ปรางค์กู่แดงอำเภอเข้วา ปรางค์กู่อำเภอบ้านแท่น ปรางค์กู่อำเภอเมืองชัยภูมิ ทำให้จิตใจสงบ ชุมชนสามัคคี มีสติยิ่งขึ้น</p> 2024-04-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcr/article/view/269407 วิเคราะห์บทบาทการเผยแผ่ธรรมของครูบาเจ้าศรีวิชัย 2024-04-03T09:21:17+07:00 กาญจนพงศ์ สุวรรณ kancanapong24@hotmail.com พระวัฒนา อตฺถกาโม Darasas11355@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาบทบาทการเผยแผ่ธรรมะตามแนวทางพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาบทบาทการเผยแผ่ธรรมะตามแนวทางของครูบาเจ้าศรีวิชัย 3) เพื่อวิเคราะห์บทบาทการเผยแผ่ธรรมะของครูบาเจ้าศรีวิชัย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยศึกษาประเด็นการเผยแผ่พระพุทธศาสนา การเผยแผ่ธรรมะของพระครูบาศรีวิชัย สิริวิชโย และวิเคราะห์บทบาทการเผยแผ่ธรรมะของครูบาเจ้าศรีวิชัย สิริวิชโย</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า บทบาทการเผยแผ่ธรรมะตามแนวทางพระพุทธศาสนา วัดเป็นทุกอย่างของสังคม เป็นศูนย์กลางที่รวมจิตใจของประชาชน ส่วนพระสงฆ์ซึ่งเป็นตัวแทนของวัดในบทบาทเหล่านี้ ก็กลายเป็นผู้นำทางจิตใจของประชาชนเป็นศูนย์รวมแห่งความเคารพเชื่อถือและการร่วมมือ โดยนัยนี้วัดก็กลายเป็นหลักประกันความมั่นคงของประเทศชาติในฐานะเป็นที่ยึดเหนี่ยวประชาชนให้มีความสามัคคี โดยพระครูบาครีวิชัย จะมีแนวคิดและวิธีการสร้างงานและมีบทบาทต่อการเผยแผ่ธรรมะที่มักจะเป็นการปฏิบัติ และสร้างงานเพื่อให้คนศรัทธาเลื่อมใสจากการลงมือปฏิบัติให้ดู สร้างแล้วแฝงด้วยคติธรรมให้ผู้คนได้ข้อคิด ในด้านพระธรรมคำสอน พระครูบาศรีวิชัยได้สร้างไว้เป็นจำนวนมาก เละได้ปฏิบัติตนบำเพ็ญเพียรภาวนาสิกขาวินัยตามรอยของพระบรมศาสดาด้วยข้อวัตรปฏิบัติ ส่งเสริมให้บุคลิกภาพของท่านมีความน่าเลื่อมใสเป็นอย่างมากอันเป็นลักษณะพิเศษที่เรียกว่า “ตนบุญ”พระครูบาศรีวิชัย เป็น พระสงฆ์ที่มีชื่อเสียงที่สุดรูปหนึ่งของล้านนา มีบทบาทและความสำคัญในฐานะผู้นำชุมชนและศูนย์รวมของความเชื่อความศรัทธา ที่มาจากวัตรปฏิบัติและแนวทางการบำเพ็ญเพียรที่เคร่งครัด น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยกับบริบททางสังคม รวมทั้งงานสาธารณะประโยชน์ต่างๆ ได้แก่ ถนนสะพาน เป็นผลงานที่สร้างกระจายในพื้นที่ภาคเหนือ ล้วนเป็นตัวแทนของอาวาสทาน ซึ่งหมายถึงทานบารมีอย่างหนึ่ง</p> 2024-04-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcr/article/view/268913 ความอ่อนน้อมในพระพุทธศาสนาเถรวาทกับศาสนาเต๋า 2024-03-29T08:43:19+07:00 พระมหามงคลกานต์ ฐิตธมฺโม Mongkholkan1977@gmail.com พระครูปลัดสัมพิพัฒนธีราจารย์ กิตติเชษฐ์ สิริวฑฺฒโก Kittiched_prem@hotmail.com พระวิระชัย เมตฺตาธีโร narumonji@gmail.com พระวรพนธ์ วรธมฺโม varadharmmo@gmail.com พระสุขีศม สีลเตชปุตฺติโย jiramahasuwan@gmail.com นฤมล จิวัฒนาสุข narumonji@gmail.com <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการคือ (๑) เพื่อศึกษาคำสอนเรื่องความอ่อนน้อมในพระพุทธศาสนาเถรวาท (๒) เพื่อศึกษาคำสอนเรื่องความอ่อนน้อมของศาสนาเต๋า (๓) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความเหมือนความต่างเรื่องความอ่อนน้อมของพระพุทธศาสนาเถรวาทกับศาสนาเต๋า ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ความอ่อนน้อมในพระพุทธศาสนาเถรวาท เกิดจากการเรียนรู้ประเพณีวัฒนธรรมอย่างถูกต้องเป็นพื้นฐานก่อนเพื่อ สร้างความอ่อนน้อมให้เกิดขึ้นในครอบครัวและสังคม ด้วยการกระทำความอ่อนน้อมให้เข้าถึงความจริงแท้ของชีวิต</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ความอ่อนน้อมของศาสนาเต๋าสอนให้เกิดความสำนึก เข้าใจความอ่อนน้อมที่เกิดจากการฝึกฝน อบรมให้เรียนรู้ธรรมชาติของชีวิต ของสังคม ของสิ่งแวดล้อม มีความเมตตารู้จักพอ เช่น ความอ่อนของน้ำ น้ำใช้หล่อเลี้ยงชีวิต แต่น้ำทำให้หินกร่อนได้</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; เปรียบเทียบความเหมือนและความต่าง เหมือนกันโดยเนื้อหา ต่างกันที่ ความอ่อนน้อมพุทธศาสนามีชาดก มีพระสูตรรองรับ มีแนวคิด มีบทบาทหน้าที่ วิธีปฏิบัติ และมีเป้าหมายอย่างเป็นระบบชัดเจน เข้าใจง่าย ศาสนาเต๋าเน้นสอนให้อ่อนน้อมต่อธรรมชาติ ความรู้สึกดี สำนึกดีจะเกิดเอง มีความอ่อนน้อมโดยธรรมชาติเมื่อเริ่มเรียนรู้ ฝึกฝนตนให้คล้อยตาม</p> 2024-04-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcr/article/view/268889 การพัฒนาองค์ความรู้และการสร้างสรรค์พุทธศิลปกรรมของกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขง 2024-03-09T21:51:51+07:00 พระครูวุฒิธรรมบัณฑิต พระครูวุฒิธรรมบัณฑิต sripracho2515@gmail.com พระสฤทธิ์ สุมโน sripracho2515@gmail.com พูลศักดิ์ หอมสมบัติ sripracho2515@gmail.com <p>การศึกษาเรื่อง“การพัฒนาองค์ความรู้และการสร้างสรรค์พุทธศิลปกรรมของกลุ่ม ประเทศลุ่มน้ำโขง” มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาองค์ความรู้และการสร้างสรรค์พุทธศิลปกรรมของกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขง 2) เพื่อจัดกิจกรรมส่งเสริมกระบวนการในการพัฒนาองค์ความรู้และการสร้างสรรค์พุทธศิลปกรรมของกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขง 3) เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาองค์ความรู้ด้านพุทธศิลปกรรมของกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขงอย่างยั่งยืน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสารและวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรและกลุ่มเป้าหมาย คือ คือ พระสงฆ์ นักวิชาการ ผู้นำชุมชน มัคทายก และนักท่องเที่ยว รวมจำนวน 30 คน โดยใช้การสัมภาษณ์ในเชิงลึก (Interviews) เป็นเครื่องมือในการศึกษาแล้วนำข้อมูลที่ได้จากกระบวนการวิจัยมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่ออธิบายผลการวิจัยตามที่กำหนดไว้ในวัตถุประสงค์การวิจัย</p> <p> ผลการศึกษา พบว่า</p> <p><strong> </strong>1.องค์ความรู้และการสร้างสรรค์พุทธศิลปกรรมของกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขง พุทธศิลปกรรมมีพื้นฐานมาจากพุทธศาสนา คือ 1) หอไตรวัดทุ่งศรีเมือง และหอพระบาท ซึ่งเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นศิลปะผสมระหว่างพื้นบ้านอีสานกับศิลปะแบบไทยภาคกลาง เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธบาทจำลอง ภายในมีจิตรกรรมฝาผนังทุกด้าน เป็นงานจิตรกรรมที่มีคุณค่ามากแห่งหนึ่งของเมืองอุบลราชธานี 2) สิมวัดแจ้ง เป็นสิมทรงท้องถิ่นอีสานอิทธิพลศิลปะรัตนโกสินทร์ ก่ออิฐถือปูน ผัง สี่เหลี่ยมผืนผ้าบนฐานเอวขัน หันหน้าไปทางทิศตะวันออก และ 3) วัดเมืองกลาง สปป.ลาว เป็นวัดเก่าแก่ที่สุดในแขวงจำปาสัก ตั้งอยู่แคมแม่น้ำโขง บ้านเมืองกลาง เมืองจำปาสัก แขวงจำปาสัก เป็นที่เก็บรักษาคัมภีร์ใบลาน เป็นมรดกอันล้ำค่า ทางศิลปวัฒนธรรมธรรมที่ควรค่าแก่การบูรณะ และปกปักรักษาไว้</p> <ol start="2"> <li>การจัดกิจกรรมในการพัฒนาองค์ความรู้และการสร้างสรรค์พุทธศิลปกรรม คือ การบูรณะหอไตรวัดทุ่งศรีเมือง ซึ่งจัดให้เป็นหนึ่งใน ๓ ของดีเมืองอุบลราชธานี ดังมีคำพังเพยว่า“พระบทม์วัดกลาง พระบางวัดใต้ หอไตรวัดทุ่ง”และการบูรณะสิมวัดแจ้ง ซึ่งเป็นกิจกรรมในการสร้างสรรค์พุทธศิลปกรรมสิมวัดแจ้ง ได้รับการบูรณะเรื่อยมา โดยพยายามให้คงสภาพใกล้เคียงของเดิมมากที่สุด ด้วยความงดงามของศิลปะแบบอีสานแท้ๆและด้วยความมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์</li> <li>การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาองค์ความรู้ด้านพุทธศิลปกรรมของกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขงอย่างยั่งยืน ได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ในการเป็นเครือข่ายพัฒนาองค์ความรู้ด้านพุทธศิลปกรรมกับวัดทุ่งศรีเมือง และวัดแจ้ง อำเภอเมืองอุบล จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งถือว่าวัดเป็นศูนย์กลางทางด้านศิลปกรรมเป็นที่ศึกษาค้นคว้า มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนความร่วมมือในการพัฒนาองค์ความรู้ด้านศิลปกรรมอย่างเป็นระบบ และสร้างความเชื่อมโยงของการเป็นแหล่งเรียนรู้พุทธศิลปกรรม และแหล่งจูงใจพุทธศิลป์ที่เป็นทัศนูปกรณ์ ในการเป็นสื่อสอนธรรมะได้อย่างยอดเยี่ยม พุทธศิลป์จึงมีคุณค่าต่อการสังคมและประเทศชาติเป็นอย่างยิ่ง</li> </ol> 2024-04-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcr/article/view/268379 ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 กับการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4 2024-02-26T00:03:19+07:00 ขนิษฐา พูลเพิ่ม Kanittha.poopea@gmail.com สุรางคณา มัณยานนท์ Kanittha.poopea@gmail.com <p>การวิจัยเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 กับการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4 นี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษ ที่ 21 2) เพื่อศึกษาระดับการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทักษะของผู้บริหารในศตวรรษที่ 21 กับการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา 100 คน และหัวหน้าฝ่ายวิชาการ 100 คน รวมทั้งสิ้น 200 คน ได้มาโดยการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากตารางเครจซี่ และมอร์แกน (Krejcie &amp; Morgan) โดยใช้วิธีสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 กับการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา</p> <p>ศรีสะเกษ เขต 4 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า</p> <p> 1.ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา ในศตวรรษที่ 21 อยู่ในระดับมาก</p> <p> 2.การบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4 อยู่ในระดับ มาก</p> <p> 3.ความสัมพันธ์ระหว่าง ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษา ในศตวรรษที่ 21 กับการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับสูง (x = .836) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> 2024-04-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ