วารสารชัยภูมิปริทรรศน์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcr <p>วารสารชัยภูมิปริทรรศน์เป็นวารสารวิชาการ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการศึกษาค้นคว้า และเพื่อเผยแพร่บทความวิจัย บทความพิเศษ บทความวิชาการ บทความปริทรรศน์ บทวิจารณ์หนังสือ และปกิณกะ แก่ นักวิจัย นักวิชาการ คณาจารย์ และนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา โดยที่ครอบคลุมเนื้อหาในมิติทางด้านพระพุทธศาสนา ที่เกี่ยวข้องกับสาขาพระพุทธศาสนา ปรัชญา กฎหมาย การศึกษารัฐศาสตร์ การปกครอง ศิลปะวัฒนธรรมและประเพณี ทั้งพระพุทธศาสนาแนวคัมภีร์ และพระพุทธศาสนาแนวประยุกต์กับศาสตร์สมัยใหม่</p> <p>วารสารชัยภูมิปริทรรศน์ มีกำหนดออกเผยแพร่ปีละ 3 ฉบับ</p> <p>ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน</p> <p>ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม</p> <p>ฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม</p> Chaiyaphum Buddhist College Mahachulalongkornrajavidyalaya University th-TH วารสารชัยภูมิปริทรรศน์ 3027-818X <p>ข้อความลิขสิทธิ์</p> ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบล กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลนาเสียว อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcr/article/view/269845 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกนายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาเสียว อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ 2. เพื่อศึกษาระดับการตัดสินใจเลือกนายกองค์การบริหารส่วนตำบลของประชาชนต่อปัจจัยที่มีผลในการตัดสินใจเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลและการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นของประชาชนตำบลนาเสียว อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน ประชากรและกลุ่มตัวอย่างคือประชาชนในตำบลนาเสียว อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 380 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้ใช้เครื่องมือในการวิจัยคือ แบบสอบถาม และใช้การสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า T-Test และค่า F-Test โดยกำหนดในทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>1.ปจจัยในการตัดสินใจเลือกตั้งนายกองคการบริหารสวนตําบลนาเสียว อําเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ โดยส่วนใหญประชาชนจะใหความสําคัญกับนโยบายมากที่สุด อีกปจจัยที่ประชาชนในชุมชนใหความสําคัญกับการตัดสินใจเลือกตั้งคือ ผูสมัครตองเปนคนใกลชิด เปนคนที่รูจัก ซึ่งปจจัยในการตัดสินใจเลือกตั้ง</p> <p>2.ระดับการตัดสินใจเลือกนายกองคการบริหารสวนตําบลของประชาชนตอปจจัยที่มีผลในการตัดสินใจเลือกตั้งนายกองคการบริหารสวนตําบล ระดับการตัดสินใจของประชาชนในชุมชนอยูในระดับมาก การมีสวนรวมของประชาชนในการเลือกตั้งระดับทองถิ่น การมีสวนรวมของประชาชนในการเลือกตั้งทองถิ่นอยูในระดับปานกลาง</p> ปูรณัช ขำสุวรรณ พิทักษ์พงศ์ กางการ ณัฐดนัย แก้วโพนงาม Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-18 2024-07-18 7 2 12 24 ระดับความเป็นธรรมาภิบาลในการบริหารงานของวัดมงคลโกวิทาราม ตำบลปทุม อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcr/article/view/268940 <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเป็นธรรมาภิบาลและแนวทางในการสร้างความเป็นธรรมาภิบาลในการบริหารงานของวัดมงคลโกวิทาราม ตำบลปทุม อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อนำไปใช้ในแนวทางในการสร้างความเป็นธรรมาภิบาลในการบริหารงานของวัดมงคลโกวิทาราม โดยใช้วิธีผสมผสานกันทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการแจกแบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 245 รูป/คน สัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 18 รูป /คน รวมทั้งการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม และการวิเคราะห์จากเอกสาร ผลการวิจัย พบว่า ระดับความเป็นธรรมาภิบาลในการบริหารงานของวัดมงคลโกวิทารามในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านการบริหารจัดการตามหลักนิติธรรม โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่ด้านการบริหารจัดการตามหลักคุณธรรม ด้านการบริหารจัดการตามหลักการมีส่วนร่วม ด้านการบริหารจัดการตามหลักความคุ้มค่า ด้านการบริหารจัดการตามหลักความรับผิดชอบ และด้านการบริหารจัดการตามหลักความโปร่งใส ตามลำดับ สอดคล้องกับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์เชิงลึก</p> <p>ส่วนแนวทางการสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารงานของวัดมงคลโกวิทารามนั้น ที่สำคัญ พบว่าหลักนิติธรรม วัดควรมีการวางแผน มีการปรับปรุงแก้ไข วางกฎระเบียบ ในการปกครองให้ดียิ่งขึ้นเข้มงวดสอดส่องดูแลให้บรรพชิต และคฤหัสถ์ในวัดเคร่งครัดต่อพระธรรมวินัยมากยิ่งขึ้น หลักคุณธรรม วัดควรเป็นที่ยึดมั่นใน ความถูกต้องดีงาม สนับสนุนให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ องค์การพัฒนาตนเองให้มีความซื่อสัตย์จริงใจขยันอดทน มีระเบียบวินัยประกอบอาชีพสุจริตจนเป็นนิสัยประจำตน ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่สังคม หลักความโปร่งใส วัดควรมีการรับฟังข้อคิดเห็นจากกลุ่มบุคคลที่ได้รับผลประโยชน์และเสียประโยชน์หรือกลุ่มที่ได้รับผลกระทบโดยตรง และเปิดโอกาสให้ชุมชนมาร่วมดูแลผลประโยชน์ภายในวัด</p> พระมหาจักรพล จกฺกวโร ศรีทิม พระครูสังฆรักษ์บุญเกิด ปญฺญาวชิโร พระครูสมุห์ธนัย กลฺยาณกิตฺติ พระมหาคำพันธ์ ปภากโร พระเสกสรรค์ ฐานยุตฺโต Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-18 2024-07-18 7 2 25 37 แนวทางการบริหารจัดการวัดในอำเภอเมืองชัยภูมิจังหวัดชัยภูมิ ตามหลักพระพุทธศาสนา https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcr/article/view/270597 <p>บทความนี้ศึกษาโดยมีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑)เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีและสภาพการบริหารจัดการวัดในจังหวัดชัยภูมิ ๒)เพื่อศึกษาการบริหารจัดการวัดตามหลักพระพุทธศาสนา ๓)เพื่อเสนอแนวทางการบริหารจัดการวัดในอำเภอเมืองชัยภูมิ ตามหลักพระพุทธศาสนา โดยการจัดเก็บข้อมูลในการรวมข้อมูล และจากการสัมภาษณ์กลุ่มเจ้าอาวาส ในอำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ จำนวน ๒๐ คน โดยมีผู้ปกครองเจ้าคณะจังหวัดเจ้าคณะอำเภอและเจ้าคณะตำบล จำนวน ๑๐ รูป พร้อมผู้เกี่ยวข้องในการบริหารวัดอีก จำนวน ๑๐ คน โดยใช้วิธีการเจาะจงตามประเด็นที่ต้องการศึกษาวิจัย</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยพบว่าจากการศึกษาพบว่า การศึกษาแนวคิดทฤษฎีและสภาพการบริหารจัดการวัดในจังหวัดชัยภูมิ มีรูปแบบที่เป็นแนวทางในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและยังต้องประยุกต์หลักธรรมและการจัดการบริหารวัดให้เป็นไปตามสมัยกาล การบริหารจัดการวัดตามหลักพระพุทธศาสนาต้องคำนึงถึงหลักการเดิมที่มีมา ถึงกาลเวลาจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรแต่พระพุทธศาสนาก็ยังมีหลักธรรมที่เป็นของเดิม ดังนั้นการบริหารจัดการวัดในจังหวัดชัยภูมิ จะต้องยึดหลักเดิมในการเดินหน้าบริหารจัดการวัดไปด้วย แนวทางการบริหารจัดการวัดในอำเภอเมืองชัยภูมิ ที่เป็นไปตามหลักพระพุทธศาสนานั้น ดำเนินการด้วยหลักวิธีการ ตามที่ศึกษาเก็บข้อมูลมามีการบริหารในรูปแบบต่าง ๆ ก็จริงแต่ก็ไม่ละเลยการบริหารแบบเดิม คือการบริหารแบบลูกโซ่ โดยใช้หลักการบริหารจัดการวัดตามหลักพระพุทธศาสนาที่มีอยู่เดิม เป็นแบบจะประยุกต์เปลี่ยนแปลงอย่างไรก็ต้องกลับมาศึกษารูปแบบเดิมก่อน แล้วค่อย ๆ ปรับการบริหารวัดให้เป็นรูปแบบที่ทันสมัยและใช้ได้จริง</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ดังนั้นเจ้าอาวาสในอำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ จึงมีการบริหารจัดการวัดที่ยังต้องปฏิบัติตามหลักเดิม แต่ก็ค่อยปรับเพื่อให้เข้ากันกับยุคสมัย ตามคำที่ว่าบริหารวัดให้ทันยุคสมัย โดยใช้หลักการบริหารเดิมเป็นฐานรากในการบริหารวัด</p> พระครูวิธานกิจโสภณ สิริปุญฺโญ บุญทิม กาญจนพงศ์ สุวรรณ Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-18 2024-07-18 7 2 38 47 ความต้องการศึกษาต่อปริญญาตรี หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัย (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2567) คณะรัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcr/article/view/271113 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. ความคาดหวังที่ต้องการเห็นผู้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัย 2. ความต้องการศึกษาต่อหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัย และ 3. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัย เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ประชากร คือ นักศึกษาชั้นมัธยมปลายและหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนที่คาดว่าสนใจศึกษาต่อระดับปริญญาตรีที่อยู่ในอำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 385 คน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 196 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ หน่วยงานภาครัฐ ผู้ประกอบการ นักเรียนมัธยมปลายหรือผู้ปกครอง ประชาชนทั่วไป อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร รวม 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สถิติวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>1.ความคาดหวังที่ต้องการเห็นผู้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตร ส่วนใหญ่มีความต้องการให้ผู้สำเร็จการศึกษามีความรู้ทางด้านการบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัย สามารถใช้ความรู้ที่เรียนมาให้เกิดประโยชน์ต่องานและต่อองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีคุณธรรม จริยธรรม ซื่อสัตย์ รับผิดชอบต่อหน้าที่ ปฏิบัติตามกฎระเบียบ มีภาวะผู้นำกล้าตัดสินใจและกระทำในสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม</p> <p>2.ความต้องการศึกษาต่อในหลักสูตร พบว่า มีการวางเป้าหมายศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี เมื่อสำเร็จการศึกษาสามารถนำไปใช้ในการเลื่อนขั้น เลื่อนเงินเดือน</p> <p>3.ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในหลักสูตร ได้แก่ อาจารย์ผู้สอนเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ หลักสูตรตรงความต้องการของตลาด จัดการเรียนการสอนวันเสาร์-อาทิตย์ และมีรูปแบบค่าใช้จ่ายในการศึกษาที่เหมาะสม</p> ชลิดา กันหาลิลา วิภาส ทองสุทธิ์ ดิเรก แสสนธิ์ สำราญ บุญเจริญ Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-18 2024-07-18 7 2 72 84 ผลของการนำแอปพลิเคชันโมเดลธุรกิจวัยสีเงิน 4 มิติของระบบบริการสุขภาพ บนพื้นฐานพฤติกรรมสุขภาพและการมีส่วนร่วมของ 6 ภาคีขับเคลื่อนไปใช้ในเขตนำร่องเทศบาลเมืองและเทศบาลตำบลจังหวัดชัยภูมิ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcr/article/view/270363 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1.เพื่อการศึกษาผลของการนำแอปพลิเคชันโมเดลธุรกิจวัยสีเงิน 4 มิติของระบบบริการสุขภาพ บนพื้นฐานพฤติกรรมสุขภาพและการมีส่วนร่วมของ 6 ภาคีขับเคลื่อน ไปใช้ในเขตนำร่องเทศบาลเมืองและเทศบาลตำบลจังหวัดชัยภูมิ 2.เพื่อเสนอข้อเสนอเชิงนโยบายวัยสีเงิน 4 มิติของระบบบริการสุขภาพ บนพื้นฐานพฤติกรรมสุขภาพและการมีส่วนร่วมของ 6 ภาคีขับเคลื่อน</p> <p>จำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 388 คน ความถี่และร้อยละของเพศชาย 170 คน (43.8%) เพศหญิง 216 คน (55.7%) และไม่ต้องการระบุ 2 คน (0.5%) ผู้ตอบแบบสอบถามอายุน้อยที่สุด 24 ปี มากที่สุด&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; 89 ปี อายุเฉลี่ย 59.0+11.69 เขตพื้นที่เมืองชัยภูมิ เนินสง่า เทพสถิต คอนสวรรค์ บ้านแท่น หนองบัวแดง หนองบัวระเหว คอนสาร บำเหน็จณรงค์ ภูเขียว จัตุรัส บ้านเขว้า เกษตรสมบูรณ์ และแก้งคร้อ คิดเป็นร้อยละ 24.7 6.7 6.2 5.9 5.9 5.9 5.9 5.7 5.7 5.7 5.7 5.7 5.4 และ 4.9 ตามลำดับ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>1.ผลของการนำแอปพลิเคชันโมเดลธุรกิจวัยสีเงิน 4 มิติของระบบบริการสุขภาพ บนพื้นฐานพฤติกรรมสุขภาพและการมีส่วนร่วมของ 6 ภาคีขับเคลื่อน ไปใช้ในเขตนำร่องเทศบาลเมืองและเทศบาลตำบลจังหวัดชัยภูมิ โดยแอปพลิเคชัน“โมเดลธุรกิจวัยสีเงิน 4 มิติ”นี้มีความสำคัญในการวิจัย ซึ่งเป็นเครื่องมือในการให้คำแนะนำเกี่ยวกับสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ โดยให้คำแนะนำในมิติ 4 มิติ คือ สุขภาพร่างกาย สุขภาพจิต สุขภาพสังคม และสุขภาพสิ่งแวดล้อม</p> <p>2.ข้อเสนอเชิงนโยบายวัยสีเงิน 4 มิติของระบบบริการสุขภาพ บนพื้นฐานพฤติกรรมสุขภาพและการมีส่วนร่วมของ 6 ภาคีขับเคลื่อน ได้แก่ 1.ด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค โดยจัดตั้งศูนย์บริการสุขภาพผู้สูงอายุแบบครบวงจรในทุกพื้นที่ เพื่อให้ผู้สูงอายุเข้าถึงบริการสุขภาพได้สะดวกและรวดเร็ว ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุออกกำลังกายสม่ำเสมอ กินอาหารที่มีประโยชน์ และงดสูบบุหรี่ 2.ด้านการรักษาพยาบาล พัฒนาระบบบริการสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน (home-based care) เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายและเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้สูงอายุ จัดตั้งคลินิกโรคเรื้อรังสำหรับผู้สูงอายุ 3.ด้านการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว จัดตั้งศูนย์ดูแลผู้สูงอายุระยะยาวทั้งภาครัฐและภาคเอกชน พัฒนาระบบการฝึกอบรมบุคลากรในการดูแลผู้สูงอายุ 4.ด้านการมีส่วนร่วมของภาคีต่างๆ ส่งเสริมให้ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และผู้สูงอายุ ร่วมมือกันในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพผู้สูงอายุ จัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาระบบบริการสุขภาพผู้สูงอายุในทุกพื้นที่ 5.ด้านการพัฒนาบุคลากร พัฒนาระบบการฝึกอบรมบุคลากรด้านการบริการสุขภาพผู้สูงอายุ ส่งเสริมให้บุคลากรด้านการบริการสุขภาพผู้สูงอายุมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และทักษะที่จำเป็น 6.ด้านงบประมาณ จัดสรรงบประมาณที่เพียงพอสำหรับการพัฒนาและระบบบริการสุขภาพผู้สูงอายุ ติดตามและประเมินผลการใช้จ่ายงบประมาณ&nbsp;&nbsp; 7.ด้านกฎหมาย ออกกฎหมายคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุ ออกกฎหมายควบคุมคุณภาพการบริการสุขภาพผู้สูงอายุ8.ด้านการวิจัย สนับสนุนให้มีการวิจัยเกี่ยวกับระบบบริการสุขภาพผู้สูงอายุ เผยแพร่ผลการวิจัยแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ9.ด้านการศึกษา บรรจุเนื้อหาเกี่ยวกับระบบบริการสุขภาพผู้สูงอายุในหลักสูตรการศึกษา จัดอบรมให้ความรู้แก่ครู</p> ณัฐดนัย แก้วโพนงาม ภัททิรา ก้านทอง อณัญญา ลาลุน กฤตเมธ นิติวัฒนะ เสกศักดิ์ ปราบพาลา รัชวุฒิ สุทธิ Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-18 2024-07-18 7 2 98 104 ปัญหาอายุความยื่นฟ้องคดีละเมิดเพื่อเรียกค่าเสียหายทางแพ่ง https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcr/article/view/270957 <p>การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี แนวคำพิพากษาของศาลและปัญหาการกำหนดอายุความกรณีความรับผิดทางละเมิด รวมถึงเปรียบเทียบกฎหมายจากต่างประเทศ และ 2. นำผลการวิเคราะห์มาเป็นแนวทางในการเสนอแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย เพื่อแก้ไขปัญหาในการกำหนดอายุความยื่นฟ้องคดีละเมิดเรียกค่าเสียหายทางแพ่ง วิธีดำเนินการวิจัยใช้วิธีวิจัยเอกสารโดยใช้หลักนิติศาสตร์เป็นฐานในการวิเคราะห์จากตัวบทกฎหมาย วิทยานิพนธ์ งานวิจัย บทความ และคำพิพากษา</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า อายุความฟ้องคดีละเมิดของไทยมีระยะเวลาที่สั้นกว่ากฎหมายของประเทศเยอรมันและประเทศญี่ปุ่น ในมาตรา 448 วรรคแรกของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้มีการกำหนดอายุความเรียกร้องค่าเสียหายจากมูลละเมิดจะขาดอายุความเมื่อพ้นปีหนึ่งนับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่วันทำละเมิด ซึ่งกฎหมายนี้ใช้มาแล้วกว่า 99 ปี ควรขยายระยะเวลาในการยื่นฟ้องให้นานขึ้นเพื่อสอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน และมาตรา 426 ไม่มีการกำหนดอายุความในการฟ้องไล่เบี้ยผู้กระทำละเมิดไว้โดยเฉพาะยังใช้อายุความตามหลักทั่วไปอยู่ ควรบัญญัติอายุความการฟ้องไล่เบี้ยให้ชัดเจนลงในมาตราดังกล่าว</p> ณภัทร ใจเอ็นดู ศศิธร ถีสูงเนิน Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-18 2024-07-18 7 2 105 117 ส่งเสริมความรักความสามัคคีปรองดองเพื่อความมั่นคงของสถาบันและการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcr/article/view/270365 <p>งานวิจัยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษา1)ปัจจัยที่ส่งผลต่อการ ส่งเสริมความรักความสามัคคีเพื่อความมั่นคงของสถาบันและการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข2)รูปแบบในการส่งเสริมความรักความสามัคคีของประชาชนในจังหวัดชัยภูมิ และ 3)ปัญหาและอุปสรรคในการส่งเสริมความรักความสามัคคีของประชาชนในจังหวัดชัยภูมิ และหาแนวทางแก้ไข โดยการสัมภาษณ์จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 100 คน โดยการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>1.ปัจจัยที่ส่งผลต่อการส่งเสริมความรักความสามัคคีเพื่อความมั่นคงของสถาบันและการปกครองใน ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้แก่ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ประสบการณ์ตรงในอดีตของแต่ละบุคคล ความสามัคคีใน องค์กรและในหน่วยงาน ความร่วมมือร่วมแรงใจกัน ค่านิยม การสื่อสารในองค์กร ทัศนคติ แรงจูงใจ ภาวะผู้นำ การมองโลกในแง่ดี การเสียสละ สิทธิ เสรีภาพ หน้าที่ ความเป็นอิสระในการแสดงความคิดเห็น การเสริมสร้างความเข้มแข็งในการปกครองระบอบประชาธิปไตย และการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร</p> <p>2.รูปแบบในการส่งเสริมความรักความสามัคคีของประชาชนในจังหวัดชัยภูมิ ได้แก่การประชุมระดมความ คิดเห็น การอบรมให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง กำหนดมาตรการบังคับใช้ เช่น กฎหมาย การพูดคุย การดำเนิน โครงการหรือกิจกรรมต่างๆในชุมชนร่วมกัน การให้ความเป็นอิสระแก่ชุมชนท้องถิ่นในการดำเนินงานด้านต่างๆ มีส่วนร่วมในการตัดสินใจเชิงนโยบายที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของตนเองและชุมชน และการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล</p> <p>3.ปัญหาและอุปสรรคในการส่งเสริมความรักความสามัคคีของประชาชนในจังหวัดชัยภูมิ และแนวทาง แก้ไข ได้แก่ การขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องและขาดทัศนคติที่ดี แนวทางแก้ไขให้ความรู้ความเข้าใจ การเล่นพรรคเล่นพวกและยึดติดกับระบบอุปถัมภ์ แนวทางแก้ไขการดำเนินกิจกรรมหรือโครงการร่วมกัน การใช้ ระบบคุณธรรมแทนระบบอุปถัมภ์</p> ณัฐดนัย แก้วโพนงาม Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-18 2024-07-18 7 2 118 128 การกล่อมเกลาทางการเมืองตามแนวพระพุทธศาสนาของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาในอำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcr/article/view/271488 <p>บทความวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาระดับการกล่อมเกลาทางการเมืองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในอำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา 2. เพื่อเปรียบเทียบการกล่อมเกลาทางการเมืองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในอำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3. เพื่อนำเสนอการกล่อมเกลาทางการเมืองตามแนวพระพุทธศาสนาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในอำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา โดยการประยุกต์ตามหลักสังคหวัตถุธรรม โดยมีระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่า t-test ค่า F-test และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาความ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>ระดับการกล่อมเกลาทางการเมือง โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.08, S.D. = 0.53) จำแนกเป็นรายด้านดังนี้ คือ ด้านสถาบันครอบครัว ( = 4.23, S.D. = 0.58) ด้านสถาบันทางการเมือง ( = 4.21, S.D. = 0.57) ด้านสถาบันการศึกษา ( = 4.06, S.D. = 0.66) ด้านชุมชนและกลุ่มเพื่อน ( = 4.01, S.D. = 0.69) และด้านสถาบันศาสนา ( = 3.92, S.D. = 0.76) ตามลำดับ 2. ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบ พบว่า นักเรียนที่มีเพศต่างกันมีความคิดเห็น ไม่แตกต่างกันจึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย ส่วนนักเรียนที่มีอายุ และการศึกษาต่างกันมีความคิดเห็น แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย 3. ผลการวิเคราะห์การนำเสนอ พบว่า 1) ด้านสถาบันครอบครัว นักเรียนควรมีการติดตามรับฟังข่าวสารทางการเมือง 2) ด้านสถาบันการศึกษา นักเรียนควรเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมือง 3) ด้านชุมชนและกลุ่มเพื่อน นักเรียนควรมีความสนใจและติดตามข่าวสารทางการเมือง 4) ด้านสถาบันศาสนา นักเรียนควรได้รับการปลูกฝังและการสอนให้ยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม และ 5) ด้านสถาบันทางการเมือง นักเรียนควรได้รับการถ่ายทอด ค่านิยม และอุดมการณ์ทางการเมือง</li> </ol> พระมหามรกต ธมฺมปาโล พิรักษา ไพทูรย์ มาเมือง พระนรินทร์ เอมพันธ์ ผศ.ดร. Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-18 2024-07-18 7 2 129 139 การมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยตามแนวพระพุทธศาสนาของประชาชนในอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcr/article/view/271476 <p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนในอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ 2. เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนในอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล</p> <ol start="3"> <li>เพื่อนำเสนอการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยตามแนวพระพุทธศาสนาของประชาชนในอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ประยุกต์ตามหลักสาราณียธรรม มีระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ 9 รูปหรือคน ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก และการวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง 400 คน เครื่องมือที่ใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์วิเคราะห์ข้อมูล หาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าทีเทส ค่าเอฟเทส และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาความ</li> </ol> <p><strong>ผลการวิจัยพบว่า </strong>1) ระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนในอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =3.95) จำแนกรายด้าน ดังนี้ การออกเสียงเลือกตั้ง ( =4.09) การเปลี่ยนผู้ที่ดำรงตำแหน่งหน้าที่สำคัญของรัฐ ( =4.08) การออกเสียงประชามติ ( =3.91) การมีสิทธิ์เสนอร่างกฎหมาย ( =3.88) ตัดสินปัญหาสำคัญเกี่ยวกับนโยบายของรัฐ ( =3.78) ตามลำดับ 2. ผลการเปรียบเทียบพบว่า มีเพศต่างกันมีความคิดเห็น ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย ส่วนมีอายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ต่างกัน มีความคิดเห็น แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย 3. ผลการนำเสนอ พบว่า การออกเสียงเลือกตั้ง มีความเข้าใจในหน้าที่ของตน การเปลี่ยนผู้ที่ดำรงตำแหน่งหน้าที่สำคัญของรัฐ มีการทำงานที่เปิดเผย การออกเสียงประชามติ มีการพิจารณาเรื่องต่างๆ ร่วมกัน การมีสิทธิ์เสนอร่างกฎหมาย ยึดมั่นตามกฎกติกาเพื่ออยู่ร่วมกัน และตัดสินปัญหาสำคัญเกี่ยวกับนโยบายของรัฐ ปรับความเห็นไปในทางเดียวกัน</p> พระอธิการปณัฐสิชฐ์ ปภากโร ศรีทิพย์ พระนรินทร์ เอมพันธ์ ผศ.ดร. สุเนตร ธนศิลปพิชิต Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-18 2024-07-18 7 2 140 151 รูปแบบการพัฒนานักเรียนโดยวิธีชี้แนะเพื่อเสริมสร้างวินัยในการเรียนของนักเรียน โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต ๑ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcr/article/view/271850 <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างรูปแบบการพัฒนานักเรียนโดยวิธีชี้แนะเพื่อเสริมสร้างวินัยในการเรียนของนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 และ 2) หาประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนานักเรียนโดยวิธีชี้แนะเพื่อเสริมสร้างวินัยในการเรียนของนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 โดยดำเนินการวิจัยในรูปแบบการวิจัยและพัฒนา แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดกรอบของรูปแบบการพัฒนานักเรียนโดยวิธีชี้แนะโดยศึกษาข้อมูลพื้นฐาน เอกสารและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอนที่ 2 การร่างรูปแบบการพัฒนานักเรียนโดยวิธีชี้แนะ ขั้นตอนที่ 3 การตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนานักเรียนโดยการจัดสนทนากลุ่ม และขั้นตอนที่ 4 การหาประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนานักเรียนโดยวิธีชี้แนะเพื่อเสริมสร้างวินัยในการเรียนของนักเรียน โดยนำรูปแบบไปทดลองใช้กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 6 โรงเรียน เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 รวมทั้งสิ้นจำนวน 30 คน เป็นเวลา 30 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามความรู้ 2) แบบประเมินความสามารถ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจแล้วทำการประเมินประสิทธิผลของรูปแบบ วิเคราะห์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปหาค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และค่า t-test</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1.รูปแบบการพัฒนานักเรียนโดยวิธีชี้แนะเพื่อเสริมสร้างวินัยในการเรียนของนักเรียน มีโครงสร้าง 3 ส่วน ส่วนแรกคือ องค์ประกอบของรูปแบบ ซึ่งองค์ประกอบของรูปแบบมี 6 ประการ ได้แก่ 1) หลักการเสริมสร้างวินัยในการเรียน 2) วัตถุประสงค์การเสริมสร้างวินัยในการเรียนโดยวิธีชี้แนะ 3) วินัยในการเรียนที่ต้องการพัฒนา 4) วิธีดำเนินการเสริมสร้างวินัยในการเรียนโดยวิธีชี้แนะ 5) การประเมินผลการพัฒนา และ 6) องค์กรรับผิดชอบ ส่วนที่ 2 คือ แผนการดำเนินการพัฒนานักเรียนโดยวิธีชี้แนะ ประกอบด้วย 5 ข้อได้แก่ 1) วินัยในการเรียน 2) วัตถุประสงค์ 3) การจัดกิจกรรมพัฒนานักเรียน 4) สื่อการพัฒนา 5) การวัดและประเมินผลการพัฒนา ส่วนที่ 3 เงื่อนไขการใช้รูปแบบการพัฒนานักเรียน</p> <p>2.โดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีความรู้หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองใช้รูปแบบ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตนมีวินัยในการเรียนได้ในระดับดี มีความสามารถเกี่ยวกับวินัยในการเรียนได้ในระดับดี และมีความพึงพอใจต่อการพัฒนาอยู่ในระดับมาก</p> ดร.ณรงค์ศักดิ์ บัวอ่อน สุรศักดิ์ พันธุ์สง่า พระปลัดณรงค์เดช อธิมุตฺโต เดชาดิลก Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-18 2024-07-18 7 2 152 164 มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ของผู้สูงอายุที่ไร้ที่พึ่ง https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcr/article/view/270849 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ของผู้สูงอายุที่ไร้ที่พึ่งและเสนอแนวทางการออกแบบมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ของผู้สูงอายุที่ไร้ที่พึ่ง โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)</p> <p>จากการศึกษาพบว่า ในปี 2579 ประเทศไทยจะมีสัดส่วนผู้สูงอายุมากถึงร้อยละ 30 และ มีถึง 1.3 ล้านครัวเรือน ที่ผู้สูงอายุอาศัยอยู่เพียงลำพัง “คนเดียว” ในขณะเดียวกันยังไม่มีมาตรการทางกฎหมายที่เป็นรูปธรรม ชัดเจน บทความนี้จึงได้เสนอแนวทางการออกแบบมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ของผู้สูงอายุที่ไร้ที่พึ่ง ในการกำหนดให้มีการลงทะเบียนก่อนถึงเกณฑ์อายุ 60 ปี และเสนอให้ออกหลักเกณฑ์ วิธีการโดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อให้การจัดสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุที่ไร้ที่พึ่งมีความชัดเจนและนำไปสู่การปฏิบัติได้จริง</p> ศศิธร ถีสูงเนิน ณภัทร ใจเอ็นดู Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-18 2024-07-18 7 2 165 175 การบริหารจัดการวัดที่มีโบราณสถานเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcr/article/view/268238 <p>การศึกษาครั้งนี้เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจในเรื่องการบริหารการจัดการของวัดโดยมีรูปแบบการบริหารองค์กรและรูปแบบของการบริหารแบบอนุรักษ์โดยเจาะจงที่เจ้าอาวาสเป็นผู้ขับเคลื่อนในการบริหารจัดการวัดที่มีโบราณสถานเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เป็นแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมชุมชน</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ดังนั้น การบริหารจัดการวัดที่มีโบราณสถานจึงต้องการการมีส่วนร่วมและมีการอนุรักษ์เชิงวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ของสถานที่นั้น ๆ จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากในการที่จะเข้าใจบริบทของถิ่นนั้น และการร่วมมือของเจ้าของท้องถิ่นอันมีประชาชนและองค์กรท้องถิ่นนั้นโดยมีเจ้าอาวาสเป็นผู้นำและสร้างความเข้าใจให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในการบริหารจัดการเพื่อความเจริญรุ่งเรือง</p> พระมหามงคลกานต์ ฐิตธมฺโม พระวรพนธ์ วรธมฺโม ตัณฑ์พูนเกียรติ พระสุขีศม สีลเตชปุตฺติโย จิรมหาสุวรรณ Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-18 2024-07-18 7 2 1 11 องค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการพื้นที่ชุมชนตำบลบ่อแก้ว https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcr/article/view/270188 <p>บทความวิชาการนี้เป็นส่วนหนึ่งจากการศึกษาเอกสาร และโครงการบริการวิชาการเรื่อง พัฒนาศักยภาพและถอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาพื้นที่ป่าสมุนไพร ในอุปภัมภ์ของพระเทพญาณวิศิษฏ์ (ชัยทวี คุตฺตจิตฺโต) บ้านบ่อแก้ว ตำบลบ่อแก้ว อำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการหลักยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 กับการเลือกกิจกรรมภาคสนามแบบเจาะในจังหวัดสกลนครของสาขาวิชาการพัฒนาชุมชน เพื่อบูรณาการเรียนการสอนให้กับนักศึกษาและคณาจารย์ ประยุกต์ใช้ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติในการจัดทำแผนพัฒนาพื้นที่ป่าสมุนไพรอย่างมีส่วนร่วมและการสร้างนวัตกรรมเชิงพื้นที่ฐานข้อมูลองค์ความรู้ด้านสมุนไพรและสูตรยา บทความนี้จึงสะท้อนความเข้าใจและวิเคราะห์บริบทชุมชนท่ามกลางสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของชุมชน ที่ส่งผลต่อการพัฒนารูปแบบการจัดการพื้นที่ที่เชื่อมโยงต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น การจัดการพื้นที่ป่าและการแปรรูปสมุนไพร เกษตรอินทรีย์และเกษตรผสมผสาน (กลุ่มนอนนา) และการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน ที่เป็นชุดความรู้บนพื้นฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นสะท้อนความพยายามในการจัดการพื้นที่โดยภาพรวมของชุมชนได้เป็นอย่างดี เหมาะสำหรับการพัฒนาประเด็นการวิจัยเชิงพื้นที่อย่างต่อเนื่อง</p> ภัชราภรณ์ สาคำ ธนวัฒน์ พันทา สุวัฒชัย พ่อเกตุ อุทุมพร หลอดโค พงษ์ศักดิ์ ฐานสินพล ปฏิมาภรณ์ กังวานศรีเพชร เทพรักษ์ สุริฝ่าย Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-18 2024-07-18 7 2 60 71 การศึกษาวิเคราะห์ศูนย์กลางในพุทธปรัชญาเถรวาท https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcr/article/view/270244 <p>จากอดีตถึงปัจจุบัน ความสงสัยในเรื่องโลกและชีวิตยังอยู่ในใจของนักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญาและศาสนิกชนของศาสนา นำมาสู่การค้นคว้าหาความจริงตั้งแต่เรื่องเอกภพอันกว้างใหญ่สู่อะตอมที่เล็กที่สุด รวมถึงการศึกษาสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่ามนุษย์</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; คำว่า ‘ศูนย์กลาง’ นับว่ามีความน่าสนใจที่จะนำมาค้นคว้าให้กระจ่างมากขึ้น เนื่องจากศูนย์กลางเป็นจุดสำคัญของคน สัตว์และสิ่งของ เมื่อได้ศึกษาแล้วพบว่าดวงดาวโคจรรอบศูนย์กลางของกาแลกซี โลกและดาวอีกหลายดวงโคจรรอบศูนย์กลางมวลของระบบสุริยะ สสารในโลกก็ดึงดูดกันด้วยแรงโน้มถ่วงและสนามแม่เหล็กในอยู่บริเวณศูนย์กลางโลก &nbsp;ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม โคจรรอบศูนย์กลางมวลของสิ่งนั้นๆ จากการคำนวณทางวิทยาศาสตร์การแพทย์พบว่าจุดศูนย์กลางมวลภายในร่างกายมีตำแหน่งที่ใกล้เคียงกับจุดศูนย์กลางกายที่ปรากฎในคำสอนของพระมงคลเทพมุนี(สด จนฺทสโร) เนื่องจากการนึกถึงนิมิตเพื่อให้ใจสงบนั้นต้องวางใจไว้ตรงจุดที่สมดุลซึ่งในที่นี้ คือ ศูนย์กลางมวลของร่างกาย</p> พระอรรถชาติ เดชดำรง Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-18 2024-07-18 7 2 48 59 บทบาทครูสังคมศึกษากับการพัฒนาสมรรถนะในยุคดิจิทัล https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcr/article/view/270623 <p>ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้ามามีบทบาทสำคัญในการดำรงชีวิต ครูผู้สอนจึงจำเป็นต้องเปลี่ยนวิธีคิด วิธีการสอน พัฒนาให้ผู้เรียนมีทักษะที่เพียงพอในการดำเนินชีวิตในยุคที่ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่าง ๆ อย่างรวดเร็วได้อย่างเท่าทันและเป็นสุข ครูสังคมศึกษามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลของนักเรียน โดยการเป็นแบบอย่างในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและสนับสนุนโอกาสการเรียนรู้ รวมถึงการพัฒนาทักษะการเรียนรู้แบบโต้ตอบ การเรียนรู้ร่วมกัน และการเรียนรู้อย่างอิสระให้กับนักเรียน เพราะฉะนั้นสมรรถนะครูในยุคดิจิทัลนี้ มุ่งเน้นพัฒนาครูและอาจารย์ รวมถึงบุคลากรทางการศึกษา ให้มีความรู้ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องบริบทการเรียน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนรวมในกระบวนการจัดการเรียนการสอน เพื่อผู้เรียนเกิดทักษะที่จะเป็น เช่น ทักษะการคิด ความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ และการใช้สังคมออนไลน์แบบสร้างสรรค์ อันจะช่วยให้ครูมีสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะต่าง ๆ โดยบทความนี้ผู้เขียนมีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ครูเกิดการเรียนรู้ดิจิทัล และแก้ไขปัญหาด้วยเครื่องมือดิจิทัล 2. เพื่อให้รู้เท่าทันสังคมในยุคดิจิทัลอย่างมีสติ ดังนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นและให้สอดคล้องกับบริบทความต้องการในสังคมยุคดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อไป</p> พระมหากวีพัฒน์ ฐิตโสภโณ (ยารังษี) พระแดนชัย สุริยวํโส (สุริยวงศ์) ศาสินี ผ่องศรี อธิเมศร์ ด้วงเงิน พระมหาอภิพงค์ ภูริวฑฺฒโน (คำหงษา) พระมหาโยธิน มหาวีโร (มาศสุข) Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-18 2024-07-18 7 2 85 97