ความอ่อนน้อมในพระพุทธศาสนาเถรวาทกับศาสนาเต๋า

ผู้แต่ง

  • พระมหามงคลกานต์ ฐิตธมฺโม
  • พระครูปลัดสัมพิพัฒนธีราจารย์ กิตติเชษฐ์ สิริวฑฺฒโก
  • พระวิระชัย เมตฺตาธีโร
  • พระวรพนธ์ วรธมฺโม
  • พระสุขีศม สีลเตชปุตฺติโย
  • นฤมล จิวัฒนาสุข

คำสำคัญ:

ความอ่อนน้อม, ธรรมชาติ, ศาสนาเต๋า

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการคือ (๑) เพื่อศึกษาคำสอนเรื่องความอ่อนน้อมในพระพุทธศาสนาเถรวาท (๒) เพื่อศึกษาคำสอนเรื่องความอ่อนน้อมของศาสนาเต๋า (๓) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความเหมือนความต่างเรื่องความอ่อนน้อมของพระพุทธศาสนาเถรวาทกับศาสนาเต๋า ผลการวิจัยพบว่า

          ความอ่อนน้อมในพระพุทธศาสนาเถรวาท เกิดจากการเรียนรู้ประเพณีวัฒนธรรมอย่างถูกต้องเป็นพื้นฐานก่อนเพื่อ สร้างความอ่อนน้อมให้เกิดขึ้นในครอบครัวและสังคม ด้วยการกระทำความอ่อนน้อมให้เข้าถึงความจริงแท้ของชีวิต

          ความอ่อนน้อมของศาสนาเต๋าสอนให้เกิดความสำนึก เข้าใจความอ่อนน้อมที่เกิดจากการฝึกฝน อบรมให้เรียนรู้ธรรมชาติของชีวิต ของสังคม ของสิ่งแวดล้อม มีความเมตตารู้จักพอ เช่น ความอ่อนของน้ำ น้ำใช้หล่อเลี้ยงชีวิต แต่น้ำทำให้หินกร่อนได้

          เปรียบเทียบความเหมือนและความต่าง เหมือนกันโดยเนื้อหา ต่างกันที่ ความอ่อนน้อมพุทธศาสนามีชาดก มีพระสูตรรองรับ มีแนวคิด มีบทบาทหน้าที่ วิธีปฏิบัติ และมีเป้าหมายอย่างเป็นระบบชัดเจน เข้าใจง่าย ศาสนาเต๋าเน้นสอนให้อ่อนน้อมต่อธรรมชาติ ความรู้สึกดี สำนึกดีจะเกิดเอง มีความอ่อนน้อมโดยธรรมชาติเมื่อเริ่มเรียนรู้ ฝึกฝนตนให้คล้อยตาม

Downloads

Download data is not yet available.

References

พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฎกํ ๒๕๐๐, มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร

: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๕.

พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราช

วิทยาลัย, ๒๕๓๙.

พระไตรปิฎกอรรถกถา ฉบับมหามงกุฎราชวิทยาลัย, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหามงกุฎราชวิทยาลัย.

คัมภีร์เต๋าเต๋อจิงฉบับรากฐานก่อเกิดสิ่งปาฏิหาริย์ (๒๕๓๗) อาจารย์จ้าวเมี่ยวกอ, แปลโดย

กลิ่นสุคนธ์ วงศ์สุนทร : กรุงเทพมหานคร, บริษัทเหล่าจื้อเต้าเต๋อซิ่นซีสากล จำกัด,

พระพรหมมุนี (พิมพ์ ธมฺมธโร),(๒๕๐๕).พระ.สากลศาสนา.กรุงเทพ ฯ : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ศาสตราจารย์พิเศษ จำนงค์ ทองประเสริฐ (๒๕๕๘).ราชบัณฑิต,

ปรีชา ช้างขวัญยืน ศาสตราจารย์, (๒๕๕๙).ปรัชญากับวิถีชีวิต, กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์,

พระกวีวรญาณ (จำนงค์ ชุตินฺธโร ป.ธ.๙) (๒๕๕๖). พรหมชาลสูตร, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ สหธรรมิก, พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) (๒๕๔๖) พจนานุกรม ฉบับประมวลศัพท์, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์

มหาจุฬาฯ,

พระพรหมคุณาภรณ์ (ปยุตฺโต) (๒๕๕๑).พุทธธรรม, กรุงเทพฯ : บริษัท สหธรรมิก,

สมด็จมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร) (๒๕๓๗).มงคลยอดชีวิต, กรุงเทพฯ, โรงพิมพ์ คุรุสภา,

ศาสตราจารย์พิเศษเสฐียร พันธรังษี (มปป) ราชบัณฑิต ศาสนาเปรียบเทียบ, โรงพิมพ์มหาจุฬาฯ,

กทม.

สุวรรณา สถาอานันท์.(๒๕๕๖) กระแสธารปรัชญาจีน : ข้อโต้แย้งเรื่องธรรมชาติ อำนาจ และจารีต,

กรุงเทพฯ : สยามปริทัศน์,

แสง จันทร์งาม,รศ.(๒๕๒๙).ศาสนศาสตร์.เขียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,

สุจิตรา รณรื่น,ดร.(๒๕๓๘).ศาสนาเปรียบเทียบ.กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ดวงกมล,

สุชีพ ปุญญานุภาพ. (๒๕๔๑).ประวัติศาสตร์ศาสนา.กรุงเทพฯ: รวมสาสน์,

สุชีพ ปุญญานุภาพ (๒๕๑๓).ศาสนาเปรียบเทียบ,พระนคร: เกษมบรรณกิจ.

พระมหาหมวด สุกฺกธมฺโม (โฉมศรี) (๒๕๔๗) การศึกษาเชิงวิเคราะห์แนวความคิดเรื่องความเคารพ

ในพระพุทธศาสนา, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาจุฬาลงกร

ราชวิทยาลัย

นพรัตน์ พัฒนสัญญา (๒๕๕๔) หลักการพัฒนาบุคคล เพื่อความเป็นผู้นำตามหลักอธิปไตยและ

หลักสัปปุริสธรรม, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ

ราช วิทยาลัย,

สุรศักดิ์ ม่วงทอง (๒๕๕๔).พุทธรรมกับภาวะผู้นำที่พึงประสงค์ เฉพาะกรณี กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน

จังหวัดนครศรีธรรมราช, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัยมหาจุฬาลง

กรณราช วิทยาลัย,

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-27