แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ ศาสนาและวัฒนธรรม จังหวัดชัยภูมิ ในยุคขอม
คำสำคัญ:
แหล่งเรียนรู้, ประวัติศาสตร์, ขอมบทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสำรวจแหล่งเรียนรูทางประวัติศาสตร์ ศาสนาและวัฒนธรรม จังหวัดชัยภูมิในยุคขอม 2) เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ ศาสนาและวัฒนธรรม จังหวัดชัยภูมิในยุคขอม 3) เพื่อเชื่อมโยงแหล่งเรียนรูทางประวัติศาสตร์ ศาสนาและวัฒนธรรม ในยุคขอม ของจังหวัดชัยภูมิ โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยค้นหาข้อมูลปฐมภูมิจากการสำรวจ การสนทนากลุ่ม ด้วยการลงพื้นที่สัมภาษณ์
ผลการศึกษาพบว่า 1) สำรวจแหล่งเรียนรูทางประวัติศาสตร์ ศาสนาและวัฒนธรรม จังหวัดชัยภูมิในยุคขอม สร้างขึ้นในสมัยพุทธศตวรรษที่ 18 ในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรขอม ปรางค์กู่ทั้งสามที่ กรมศิลปากรได้สำรวจและขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานไว้แล้ว ผู้วิจัยสำรวจพบว่า 1. ปรางค์กู่ อำเภอเมืองชัยภูมิ มีลักษณะเป็นศิลปะขอมแบบบายน ทับหลังมีรูปหน้ากาลอยู่ตรงกลาง ด้านบนเป็นรูปพระพุทธรูปและพระโพธิสัตว์ประทับยืน 2. ปรางค์กู่ อำเภอบ้านแท่น เป็นโบราณสถานสมัยวัฒนธรรมขอม สร้างด้วยศิลาแลง 3. ปรางค์กู่แดง อำเภอเขว้า เป็นโบราณสถานกู่แดงเทวาลัยศิลปะขอม ศตวรรษที่ 16 ราว พ.ศ.1650-1725 ก่อสร้างด้วยศิลาแลง ทรายและอิฐเผา
ส่งเสริมการอนุรักษ์แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ ศาสนาและวัฒนธรรม จังหวัดชัยภูมิในยุคขอม เป็นการส่งเสริม ด้านวิชาการ คือการเขียนประวัติศาสตร์ต่างๆ ศาสนาและวัฒนธรรมให้ปรากฎอยู่ในหนังสือ เวปไซค์ รวมทั้งเข้าร่วมส่งเสริมกิจกรรมบุญประเพณี ประจำปี ทุกปี เพื่อให้ประชาชน ตระหนักถึงแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ ศาสนาและวัฒนธรรมของขอม
เชื่อมโยงแหล่งเรียนรูทางประวัติศาสตร์ ศาสนาและวัฒนธรรม จังหวัดชัยภูมิในยุดขอม โดยใช้กิจกรรมในการเชื่อมโยง เป็นกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา คือ รักษาศีล การทำบุญตักบาตร เจริญจิตภาวนา สวดมนต์ไหว้พระ และการบูชาด้วยดอกไม้ธูปเทียน เพื่อสักการะ ปรางค์กู่แดงอำเภอเข้วา ปรางค์กู่อำเภอบ้านแท่น ปรางค์กู่อำเภอเมืองชัยภูมิ ทำให้จิตใจสงบ ชุมชนสามัคคี มีสติยิ่งขึ้น
Downloads
References
นิพนธ์ ศศิธรเสาวภา. (2560). ภาวะผู้นำกับการปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สมบูรณ์ สุขสำราญ. (2530). การพัฒนาชนบทตามแนววิธีพุทธ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พิมพ์สวย จำกัด.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2546). ภูมิธรรมชาวพุทธ. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2546). ภาวะผู้นำ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท วอง ออโตโมบิล จํากัด.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2543). การพัฒนาที่ยั่งยืน. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิพุทธรรม.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2540). ภาวะผู้นำ. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา.
พิชาภพ พันธุ์แพ, (2555). ผู้นำกับการจัดการการเปลี่ยนแปลง. พิมพฺครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: บริษัทแอคทีฟ พริ้นท์ จำกัด.
ยอดชาย ทองไทยนันท์. (2526). เทคนิคการจูงใจให้ทำงาน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์และทำปกเจริญผล
บทสัมภาษณ์
พระครูใบฎีกาบุญจันทร์ กมฺมสุทโธ. (12 ธันวาคม 2563). เจ้าอาวาสวัดศรีมงคล ตำบลหนองบัวแดง อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ. สัมภาษณ์.
นายเกษม ทาขามป้อม. (10 พฤษภาคม 2565). ผอ.กศน.อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ. สัมภาษณ์.
พ.ต.อ.สรวิศ มาอินทร์. (10 พฤษภาคม 2565). นายก อบต.นาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. สัมภาษณ์.
นายเทศา รณไพรี. (10 พฤษภาคม 2565). กำนันตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. สัมภาษณ์.
นายประเทือง พรมลา. (5 เมษายน 2565). รองนายก อบต.นาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ สัมภาษณ์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความลิขสิทธิ์