การพัฒนาความสามารถการอ่านและเขียนวิเคราะห์ วิจารณ์วรรณกรรม ของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย โดยใช้การจัดการเรียนรู้กลวิธี REAP

ผู้แต่ง

  • Phatthanant Phapor Faculty of Education, Chaiyaphum Rajabhat University
  • พัทธนันท์ พาป้อ

คำสำคัญ:

การอ่านและเขียน, การวิเคราะห์, การวิจารณ์, วรรณกรรม, การจัดการเรียนรู้กลวิธี REAP

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถการอ่านและเขียนวิเคราะห์ วิจารณ์วรรณกรรมของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทยก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้กลวิธี REAP .2) เพื่อประเมินพัฒนาการความสามารถการอ่านและเขียนวิเคราะห์ วิจารณ์วรรณกรรมของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย ภายหลังที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้กลวิธี REAP และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้กลวิธี REAP ภายหลังที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้กลวิธี REAP กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย ชั้นปีที่ 3 ปีการศึกษา 2566 ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาวรรณกรรมกับการวิจารณ์อย่างสร้างสรรค์ จำนวน 54 คน โดยได้มาจากวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) แผนการสอนอ่านและเขียนวิเคราะห์วิจารณ์วรรณกรรมด้วยการจัดการเรียนรู้กลวิธี REAP 2) แบบทดสอบความสามารถการอ่านและเขียนวิเคราะห์ วิจารณ์วรรณกรรม และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษามีต่อการสอนอ่านและเขียนวิเคราะห์ วิจารณ์วรรณกรรมด้วยการจัดการเรียนรู้กลวิธี REAP สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลความแตกต่างของคะแนนผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังเรียนของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตร t-test แบบ Dependent

           ผลการวิจัยพบว่า

  1. ผลการเปรียบเทียบความสามารถการอ่านและเขียนวิเคราะห์ วิจารณ์วรรณกรรมของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทยก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้กลวิธี REAP พบว่า คะแนนการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
  2. ผลการประเมินพัฒนาความสามารถการอ่านและเขียนวิเคราะห์ วิจารณ์วรรณกรรมของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย ภายหลังที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้กลวิธี REAP โดยใช้สูตรคำนวณหาค่าระดับคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ พบว่า นักศึกษาภายหลังที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้กลวิธี REAP มีพัฒนาการความสามารถการอ่านและเขียนวิเคราะห์ วิจารณ์วรรณกรรมอยู่ในระดับ สูง
  3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้กลวิธี REAP ภายหลังที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้กลวิธี REAP โดยรวมพบว่า นักศึกษามีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด

Downloads

Download data is not yet available.

References

กีรติกา ขุลีดี และจุฬามาศ จันทร์ศรีสุคติ. (2564). ผลของกลวิธีอาร์ อี เอ พี เสริมด้วยการตั้งคำถามตามกลวิธีคิว เอ อาร์ ต่อความสามารถในการอ่านภาษาไทยอย่าง

มีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย. 11(3), 75-82.

จิตต์นิภา ศรีไสย์. (2549). ภาษาไทยเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2557). ศาสตร์การสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 18). กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.

บันลือ พฤกษะวัน. (2545). แนวพัฒนาการอ่านเร็ว คิดเป็น. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ศิริพร แสงสึก, วรรณา บัวเกิด และสุภมาส อังศุโชติ. (2566). ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยกลวิธีอาร์ อี เอ พี ที่มีต่อความสามารถในการเขียนสรุปความ และความพึงพอใจ

ต่อการเรียนด้วยกลวิธีอาร์ อี เอ พีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอ่าวลึกประชาสรรค์ จังหวัดกระบี่. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 10(5), 85-94.

สิทธา พินิจภูวดล. (2546). การวิจารณ์หนังสือ : ทฤษฎีวรรณคดีวิจารณ์และหลักปฏิบัติสำหรับนักวิจารณ์หนังสือ. กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.

สุรีรัตน์ อักษรกาญจน์. (2559). การพัฒนาการสอนการอ่านแบบเน้นมโนทัศน์ร่วมกับกลวิธี อาร์ อี เอ พี เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาไทยอย่างมี

วิจารณญาณของนักศึกษาคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. วารสารราชพฤกษ์. 14(3), 18-25.

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2551). “รู้ รัก ภาษาไทย”, บทวิทยุรายการ ออกอากาศทางสถานี วิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551

เวลา 07.00-07.30 น.

อิสริยาภรณ์ พึ่งจิตร และกาญจนา วิชญาปกรณ์. (2566). การจัดการเรียนรู้โดยใช้วรรณคดีเป็นฐาน ร่วมกับกลวิธี REAP เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิด

วิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 34(2), 83-98.

Eanet, M.G. & Manzo,A.V. (1976). Content area reading: a heuristic approach. Merill 1 Publishing. Saltouthwest Lake City: Company

Bingham, F. A. (2001).

Fitri Rayani Siregar, Eka Sustri Harida, Miranti, Rayendriani Fahmei Lubis and Sokhira Linda Vinde Rambe. (2023). The implementation of

REAP strategy to improve students reading comprehension of analytical expositional text in digital era. in 2nd Paris Van Java

International Seminar on Health, Economics, Social Science and Humanities, KnE Social Sciences, pages 208–215.

Ya’acob, R. A. Latiff, Taufik Rashid, Shazleena Othman, Raja Hanani Raja Mushahar. (2020). R.E.A.P Strategy: Developing Esl Learners As

Critical Readers. International journal of scientific & technology research. 9(3), 1227-1233.

Yurnia PutrI and Hera Hartati. (2019). Reading, Encode, Annotate and Ponder (REAP) strategy to improve students’ reading

comprehension at the twelfth grade students of sman 18 merangin academic year 2018/2019. SELECTing journal. 1(1), 30-39.

Zasrianita, F. (2016). Using of reading, encoding, annotating, and Pondering (REAP) technique to improve students’ Reading

comprehension. Ta’dib. 19(2), 147-164.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-27