รูปแบบการพัฒนาศาสนทายาทอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษาวัดเกียรติแก้วสามัคคี อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • พระอธิการอำพน จารุโภ ดาราศาสตร์
  • พระครูสุตธรรมาภิรัต ยืนยง
  • พระครูปริยัติกิตติวรรณ ได้ทุกทาง
  • พระเสกสรรค์ ฐานยุตฺโต ศรีทน
  • ธนรัฐ สะอาดเอี่ยม

คำสำคัญ:

การพัฒนา, ศาสนทายาท, อย่างยั่งยืน, วัดเกียรติแก้วสามัคคี, จังหวัดศรีสะเกษ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาหลักการพัฒนาศาสนทายาทตามแนวทางพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และ3) เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการพัฒนาศาสนทายาทของวัดแก้วสามัคคี อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ/ภาคสนาม โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง และการสนทนากลุ่ม (Focus Group) แล้วนำเสนอเชิงพรรณนาวิเคราะห์

           ผลการศึกษาพบว่า 1) หลักการพัฒนาศาสนทายาทตามแนวทางพระพุทธศาสนานั้น คือ คันถธุระ และวิปัสสนาธุระ อันเป็นหลักการที่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำให้พระภิกษุทั้งหลายได้ทำหน้าที่ เป็นกิจธุระ ที่พึงกระทำและศึกษาในด้าน ศีล สมาธิ และปัญญา ให้สมบูรณ์ต่อการดำเนินชีวิต2) แนวคิดเรื่อง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน คือ การฝึกอบรมเป็นการเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจ จากกระบวนการศึกษา อันเป็นความรู้ที่จะเกิดขึ้นกับทุกคน แล้วนำมาพัฒนาตนใช้ในการดำเนินชีวิต ตามความเหมาะสมของสถานการณ์ในปัจจุบัน 3) รูปแบบการพัฒนาศาสนทายาทของวัดแก้วสามัคคี อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน คือ เน้นศึกษาพระบาลีเป็นหลักส่วนวิชาสามัญจะเป็นวิชารอง โดยยึดแนวทางในพระพุทธศาสนา คือ คันถธุระอันเป็นหน้าที่หลักของพระภิกษุสามเณร ที่ต้องเรียนด้านปริยัติ ศึกษาหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า และวิปัสสนาธุระอันเป็นกิจที่เนื่องจากคันถธุระ นำมาปฏิบัติเรียนรู้ให้เข้าใจ ตามความเป็นจริง

Downloads

Download data is not yet available.

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก. (2556). 45 พรรษาของพระพุทธเจ้า. พิมพ์ครั้งที่ 6. นครปฐม: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2561). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 32. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ บริษัท สหธรรมิก จำกัด.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2549). พุทธธรรม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ บริษัท สหธรรมิก จำกัด.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2559). สถานการณ์พระพุทธศาสนา พลิกหายนะเป็นพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์ ในเครือ บริษัท สำนักพิมพ์เพ็ทแอนด์โฮม จำกัด.

พระครูอาทรยติกิจ และคณะ. (2563). รูปแบบการพัฒนาศานทายาทของคณะสงฆ์จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ 9 (ฉบับที่ 2), 51.

พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2545). ทิศทางการศึกษาของคณะสงฆ์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูสุตชยาภรณ์. (2560). “รูปแบบการพัฒนาศาสนทายาทตามแนวพระพุทธศาสนา”. ดุษฎีนิพนธ์หลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ศิริศักดิ์ นันตี. (2556). “การบูรณาการหลักการทางพระพุทธศาสนาในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์”. ดุษฎีนิพนธ์หลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักศาสนศึกษาวัดเกียรติแก้วสามัคคี (พระครูศรีรัตนาภิรักษ์). (2566). งานฉลองเปรียญธรรม. ม.ป.ท.

กองพุทธศาสน (2553). แผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการการพัฒนาการศึกษาโรงเรียน พระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา พ.ศ. 2553 - พ.ศ. 2562. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. (2542). พระราชดำริ แนวปฏิบัติที่ดีในการพัฒนาเด็กละเยาวชน. กรุงเทพมหานคร: การศาสนา.

พระราชปริยัติกวี. (2562). “การศึกษาสงฆ์สมัยพุทธกาล”. สารนิพนธ์พุทธศาสตรบัณฑิต ประจำปี 2562.โรงพมิพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

UNESCO. (1993). Quality of life improvement programmes. Bangkok: UNESCO regional office.

WHOQOL Group. (1996). WHOQOL-BREF introduction administration scoring and generic version of assessment field trail version. Geneva: World Health Organization.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-27