การเสริมสร้างเครือข่ายการจัดการขยะโดยชุมชนเชิงพุทธบูรณาการ ในจังหวัดพะเยา
คำสำคัญ:
การเสริมสร้างเครือข่าย, การจัดการขยะ, เชิงพุทธบูรณาการบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างเครือข่ายการจัดการขยะโดยชุมชนเชิงพุทธบูรณาการในจังหวัดพะเยา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 5 กลุ่ม รวมทั้งสิ้น 35 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบอ้างอิงด้วยบุคคลและผู้เชี่ยวชาญ ใช้พื้นที่จังหวัดพะเยาเป็นพื้นที่ในการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา และการนำเสนอภาพกิจกรรม
ผลการวิจัยพบว่า การเสริมสร้างเครือข่ายการจัดการขยะโดยชุมชนเชิงพุทธ บูรณาการ เป็นการผลักดันและสนับสนุนกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะในระดับชุมชนด้วยหลัก 4 ประการ คือ 1) การติดต่อประสานงานกับหน่วยงาน หรือองค์กรในพื้นที่ เป็นการสร้างความร่วมมือกันโดยได้มีการดำเนินการติดต่อหน่วยงานท้องถิ่น 2) การบริหารจัดการขยะในชุมชน โดยได้รับการสนับสนุน หรือได้รับงบประมาณ 3) การบริหารจัดการในการลงทุน หรือวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่ได้รับจากหน่วยงานหรือองค์อื่นๆ 4) การส่งเสริม และอุปสรรคในการดำเนินงานในการจัดการขยะโดยชุมชน โดยที่การส่งเสริม ได้แก่ การเข้าใจและการกำหนดเป้าหมาย การสร้างความตระหนักรู้ และการเปิดโอกาสในการมีส่วนร่วม ส่วนทางด้านอุปสรรค ได้แก่ ข้อจำกัดทางทรัพยากร และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของประชาชน
Downloads
References
กนกรัตน์ นาวีการ พรทิพย์ หนักแน่น สุวิทย์ จิตรภักดี และอนันต์ ปัญญาศิริ. (2561). การศึกษาพฤติกรรม และความคิดเห็นการจัดการขยะของประชาชนในพื้นที่เกาะ ลิบง จังหวัดตรัง. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. 2552. 1 (2), 45-61.
กรมควบคุมมลพิษ. (2561). การจัดการขยะมูลฝอยชุมชนอย่างครบวงจร, กรุงเทพมหานคร :กระทรวงวิทยาศาสตร์.
จิรนนท์ พุทธา และ สยัมภู ใสทา. (2560). การพัฒนาเครือข่ายการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชนอย่างยั่งยืน: บ้านตีนโนนเหนือ ตำบลห้วยป่าหวาย อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี. (รายงานการวิจัย). โครงการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนฐานรากเครือข่ายวิจัยเครือข่ายอุดมศึกษาภาคกลางตอนบน :สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
จุฑาภรณ์ตาแก้ว. (2561). การจัดการขยะมูลฝอย, กรุงเทพมหานคร : วิญญูชน. จำลอง โพธิ์บุญ. (2556). การประเมินด้านสิ่งแวดล้อม Environmental Assessment. กรุงเทพมหานคร : บางกอกบล๊อก.
พระมหาจรรยา สุทฺธิณาโณ. (2536). พุทธศาสนากับสิ่งแวดล้อม, กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ธรรมสภา
พระมหาสุทิตย์ อาภากโร, (2547) เครือข่าย: ธรรมชาติ และการจัดการ, กรุงเทพมหานคร : โครงการเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.).
แววดาว พรมเสน, การวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณ. วารสาร มทร.อีสาน, ปีที่ 4 ฉบับที่ 1
(มกราคม มิถุนายน 2557) : 99-112.
วีระศักดิ์ เครือเทพ. (2550). เครือข่าย : นวัตกรรมการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
สหัทยา วิเศษ. (2554). ภูมิปัญญาชาวบ้านในการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าต้นน้ำ ศึกษาเฉพาะกรณีกลุ่มฮักป่าศรีถ้อย ตำบลศรีถ้อย อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา, กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อมรสิทธิ์ เทียนชุบ. (2560). การจัดการธนาคารขยะสำหรับชุมชน กรณีศึกษา ชุมชนอยู่เจริญบุญมา เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร, รายงานการประชุม. การประชุมวิชาการเพื่อนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาครั้งที่ 6, 2560, หน้า 391-403.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความลิขสิทธิ์