การบูรณาการหลักพรหมวิหารธรรมเพื่อส่งเสริมภาวะผู้นำทางการปกครองของผู้ปกครองท้องที่ ในอำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • พระครูสุวรรณจันทรังษี คำมุ โคตรโนนกอก
  • ไพฑูรย์ มาเมือง
  • พระมหานรินทร์ สุรปญฺโญ สุรปญฺโญ

คำสำคัญ:

การบูรณาการ, หลักพรหมวิหารธรรม, ภาวะผู้นำของผู้ปกครองท้องถิ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับการบูรณาการหลักพรหมวิหารธรรมเพื่อส่งเสริมภาวะผู้นำทางการปกครองของผู้ปกครองท้องที่ 2) เพื่อเปรียบเทียบการบูรณาการหลักพรหมวิหารธรรมเพื่อส่งเสริมภาวะผู้นำทางการปกครองของผู้ปกครองท้องที่ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) เพื่อนำเสนอการบูรณาการหลักพรหมวิหารธรรมเพื่อส่งเสริมภาวะผู้นำทางการปกครองของผู้ปกครองท้องที่ในอำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ โดยมีระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญจำนวน 9 รูป/คน และการวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 399 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที่และค่าเอฟ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาความ

ผลวิจัยพบว่า 1. ระดับการบูรณาการหลักพรหมวิหารธรรมเพื่อส่งเสริมภาวะผู้นำทางการปกครองของผู้ปกครองท้องที่ โดยรวม อยู่ในระดับมาก (  =3.79, S.D.=1.02) ตามลำดับ 2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชน พบว่า ประชาชนที่มี เพศ และการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็น ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย ส่วนประชาชนที่มี อายุ อาชีพ และรายได้ต่างกัน มีความคิดเห็น แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย 3. ผลการนำเสนอการบูรณาการหลักพรหมวิหารธรรม พบว่า 1) ด้านคุณลักษณะตามหลักพรหมวิหารธรรม ผู้ปกครองท้องที่ควรมีคุณธรรมจริยธรรมในการปกครอง 2) ด้านพฤติกรรมตามหลักพรหมวิหารธรรม ผู้ปกครองท้องที่ ควรมีความรักความเมตตาต่อประชาชน 3) ด้านตามสถานการณ์ตามหลักพรหมวิหารธรรม ผู้ปกครองท้องที่ ควรรู้จักการปรับตัวให้ทันยุคทันสมัย มีวิสัยทัศน์กว้างไกลในการปกครอง 4) ด้านการเปลี่ยนแปลงตามหลักพรหมวิหารธรรม ผู้ปกครองท้องที่ควรเปลี่ยนแปลงพัฒนาชุมชนให้เจริญขึ้น ควรผสมผสานแนวคิดสมัยใหม่กับสมัยเก่าให้กลมกลืนกัน อันจะเป็นประโยชน์ต่อความก้าวหน้าในองค์กรและชุมชนนั้น ๆ อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม

Downloads

Download data is not yet available.

References

ชัญญาดา โพนสิงห์. (2561). การประยุกต์ใช้หลักพรหมวิหาร 4 ตามจรรยาบรรณวิชาชีพครูโรงเรียนเทศบาล 4 (ฉลองรัตน์) อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูสุตวรธรรมกิจ ดร. (2561). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ. กรุงเทพฯ: บริษัทน้ำทิพย์ทัวร์. พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2558). ภาวะผู้นำ และจริยธรรมนักการเมือง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์ ในเครือบริษัท สำนักพิมพ์เพ็ทแอนด์โฮม.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 34. กรุงเทพฯ: มูลนิธิการศึกษาเพื่อสันติภาพ พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต).

พระครูปลัดวัชรพงษ์ วชิรปญฺโ (ปล้องขัน). (2560). ภาวะผู้นำเชิงพุทธเพื่อบูรณาการพัฒนาชุมชนในจังหวัดน่าน. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระประเสริฐ เตชโก (ชาภักดี). (2563). คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้นำทางการเมืองขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตำบลสนับทึบ อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาประมาณ อุชุจาโร (เรืองมะเริง). (2558). ภาวะผู้นำตามหลักพุทธธรรมของผู้บริหารเทศบาลตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระบัณฑิต ญาณธีโร (สุธีระตฤษณา). (2553). ภาวะผู้นำของพระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร

ธมฺมจิตฺโต) ในการบริหารกิจการคณะสงฆ์. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสมพร กลฺลยาโณ (พันธ์เชียงชา) และคณะ. (2566). การประยุกต์หลักอิทธิบาทธรรมเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการบริหารงานของผู้บริหารท้องถิ่นในอำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ. วารสารชัยภูมิปริทรรศน์, 6 (2), 11.

พระมหาโสฬส ชนุตฺตโม (พรมมา) และคณะ. ( 2563). พรหมในทัศนะพุทธปรัชญา. วารสารชัยภูมิปริทรรศน์, 3 (1), 53.

พรเศรษฐี วุฒิปัญญาอิสกุล. (2564). การบูรณาการหลักธรรมาธิปไตยเพื่อส่งเสริมภาวะผู้นำทางการเมืองของนักการเมืองในจังหวัดนครราชสีมา. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เจ้าอธิการวิชัย วิชโย (พลโยธา). (2566). ภาวะผู้นำทางการปกครองของเจ้าอาวาสตามความคิดเห็นของประชาชนในตำบลธาตุทอง อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ. สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักบริหารการปกครองท้องที่. ประวัติสำนักบริหารการปกครองท้องที่. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://multi.dopa.go.th/pab/info_organ/about1 [1 มีนาคม. 2566].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-26