เรขาคณิตวิเคราะห์และกฎเครื่องหมายของ เรอเน เดการ์ต
คำสำคัญ:
เรขาคณิตวิเคราะห์, กฎเดการ์ต, ระนาบพิกัดคาร์ทีเซียน, เหตุผลนิยมบทคัดย่อ
บทความวิชาการฉบับนี้ เป็นการอธิบายถึงเรขาคณิตวิเคราะห์และกฎเครื่องหมายของเดการ์ต พบว่า เรอเน เดการ์ต ได้แสดงวิธีการแปลงปัญหาในเรขาคณิตมากมาย ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของคณิตศาสตร์สมัยใหม่ ทั้งๆที่งานในส่วนนี้ เดการ์ตตั้งใจจะใช้เพื่อเป็นเพียงแค่ตัวอย่าง ในหนังสือ Discourse on Method เท่านั้น ซึ่งวิธีคิดวิเคราะห์ของเดการ์ต ได้แบ่งความคิด (Ideas) หรือมโนทัศน์ (Concepts) ซึ่งจุดกำเนิดแนวคิดเรขาคณิตวิเคราะห์และกฎเครื่องหมายของเดการ์ต เกิดขึ้นจากการจินตนาการของเดการ์ต ที่กำลังนอนอยู่บนเตียงเขาเห็นแมลงวันตัวหนึ่งคลานอยู่บนเพดานห้อง เดการ์ตได้แสดงให้เห็นว่าตำแหน่งของจุดทุกจุดบนระนาบพิกัดคาร์ทีเซียนยังสามารถใช้ได้ในปริภูมิสามมิติ (ซึ่งจะมี แกนZ และ พิกัดZ เพิ่มเข้ามา) หรือในมิติที่สูงกว่าอีกด้วย ต่อมาก็ได้คิดค้นกฎของเครื่องหมาย ซึ่งเกี่ยวกับคำตอบที่เป็นจำนวนจริงของสมการ และพหุนามที่มีสัมประสิทธิ์เป็นจำนวนจริง ข้อความในกฎของเครื่องหมายของเดการ์ต เราเรียงพจน์ของพหุนามจากกำลังมากไปหาน้อย พจน์ที่มีสัมประสิทธิ์เป็น 0 จะไม่เขียนแลค่าคงตัวไม่เป็นศูนย์ มีการแปรผันของเครื่องหมาย (Variation of Sign) ใน P(x) เมื่อสัมประสิทธิ์ที่เรียงติดกันมีเครื่องหมายต่างกัน เมื่อกำหนด P(x) เป็นพหุนามซึ่งมีสัมประสิทธิ์เป็นจำนวนจริง และค่าคงตัวไม่เท่ากับ 0
อย่างไรก็ตามคณะผู้เขียน สังเกตเห็นว่า เรขาคณิตวิเคราะห์และกฎเครื่องหมายของเดการ์ต มีหลักการที่คล้ายคลึงกับแนวคิดเหตุผลนิยมของเดดาร์ตในทิศทางเดียวกัน เพราะสุดท้ายแล้วก็คือการค้นหาความจริงที่ถูกซ้อนอยู่ในสถานการณ์ที่แตกต่างกันไป
Downloads
References
กวิยา เนาวประทีป.(2013).เทคนิคการเรียนคณิตศาสตร์ : เรขาคณิตวิเคราะห์.นครปฐม: สำนักพิมพ์ฟิสิกส์
เซ็นเตอร์.
ราชบัณฑิตยสถาน.(2525).พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525.(พิมพ์ครั้งที่ 1).กรุงเทพฯ:อักษรเจริญ
ทัศน์.
อมร โสภณวิเชษฐ์วงศ์.(2520).ปรัชญาเบื้องต้น.กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์รุ่งเรืองรัตน์.
Andy math.(2016). Descartes’ Rule of Signs.สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2566.จาก
https://andymath.com/descartes-rule-of-signs.
Chow,T.L.(2000).Mathematical Methods for Physicists A Concise Introduction.Cambridge
University Press, U.K.
David Eugene Smith, Marcia L. Latham.(1925).The Geometry of Rene Descartes.America:The
open court publishing company.
Desmond M. Clarke.(2006).Descartes A Biography.New York: Cambridge University Press.
Ian Maclean.(2006).A discourse on the method of correctly conducting one’s reason and
seeking truth in the sciences.New York: Oxford University Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความลิขสิทธิ์