การมีส่วนร่วมของประชาชนในนโยบายกองทุนหลักประกันสุขภาพภาครัฐศึกษาเฉพาะกรณีองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโสกอำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วม, กองทุนหลักประกันสุขภาพ, ภาครัฐบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในนโยบายกองทุนหลักประกันสุขภาพภาครัฐ 2) เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในนโยบายกองทุนหลักประกันสุขภาพภาครัฐ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในนโยบายกองทุนหลักประกันสุขภาพภาครัฐ ศึกษาเฉพาะกรณีองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโสก อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ โดยมีระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญจำนวน 9 รูปหรือคน และการวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 378 คน จากจำนวน 6,996 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที่และค่าเอฟ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาความ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการการมีส่วนร่วมของประชาชนในนโยบายกองทุนหลักประกันสุขภาพภาครัฐ ศึกษาเฉพาะกรณีองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโสก อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.02, S.D.=0.86) 2) เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีเพศต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในนโยบายกองทุนหลักประกันสุขภาพภาครัฐ ศึกษาเฉพาะกรณีองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโสก อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย ส่วนประชาชนที่มีอายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในนโยบายกองทุนหลักประกันสุขภาพ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย 3) แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในนโยบายกองทุนหลักประกันสุขภาพภาครัฐ (1) ด้านการตัดสินใจ ประชาชนได้ประชุมวิเคราะห์สภาพปัญหาสาธารณสุขในชุมชน มีส่วนร่วมวางแผนการบริหารแก้ปัญหาในชุมชน มีส่วนร่วมในการกำหนดวัตถุประสงค์การ (2) ด้านการดำเนินงาน ประชาชนได้มีส่วนร่วมกำหนดแนวทางติดตามการดำเนินงาน มีส่วนร่วมในการแต่งตั้งผู้รับผิดชอบการดำเนินงาน มีส่วนร่วมดำเนินงานตามแผนงาน (3) ด้านการรับผลประโยชน์ ประชาชนได้เข้าใช้บริการสุขภาพจากกองทุนสุขภาพ มีความพึงพอใจในการบริการสุขภาพมากขึ้น ได้รับสิ่งตอบแทนอย่างเหมาะสมจากกองทุนสุขภาพ (4) ด้านการติดตามและประเมินผล ประชาชนมีส่วนร่วมในการควบคุมกำกับการดำเนินงาน มีส่วนร่วมในการเบิกจ่ายงบประมาณดำเนินงาน มีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางการติดตามงาน
Downloads
References
นันท์วัฒน์ บรมานันท์. (2541). การบริการสาธารณะในระบบกฎหมายปกครองของฝรั่งเศส, กรุงเทพมหานคร : สำนักนิติธรรม.
พระเฉลิมวุฒิ จิตฺตสํวโร (น้อยโจม). (2562). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลบึงพะไลอำเภอแก้งสนามนาง จังหวัดนครราชสีมา. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาณรงค์ ธมฺมเมธี (ศรีพันลม). (2563). การมีส่วนร่วมของประชาชนกับการเลือกตั้งทั่วไปของชุมชนท่าเตียน กรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พระมหาวรพงศ์ กุสลชโย (มหาจันทร์). (2563). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินโครงการรถไฟรางเบาของเทศบาลนครขอนแก่น. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระสุชาติ สุชาโต (สวน). (2534). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของบุคลากรเทศบาลนครรังสิต จังหวัดปทุมธานี ในการไปใช้สิทธิเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ.2562”. สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระปลัดคณิศร ขนฺติพโล (รัตนทองพันธ์). (2564). การมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนในเขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระนิคม จนฺทธมฺโม (สุขเจริญ). (2563). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาการเมืองการปกครองตามแนวแห่งธรรมาธิปไตยในเขตเทศบาลนครระยอง จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ณฐมน หมวกฉิม. (2564). การตื่นตัวทางการเมืองของเยาวชนในระบอบประชาธิปไตยที่มีผลต่อการเลือกตั้งทั่วไปของไทย. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สุมาลี บุญเรือง. (2564). การพัฒนาการตื่นตัวทางการเมืองของประชาชนในระบอบประชาธิปไตยที่มีผลต่อการเลือกตั้งทั่วไป. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูรัตนสุตากร (ปราโมทย์ ล่องแก้ว). (2565). นโยบายของพรรคการเมืองที่มีผลต่อการตัดสินใจของประชาชนจังหวัดสงขลาในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2562. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545”. ราชกิจจานุเบกษา 119. (18 พฤศจิกายน 2545) : 15.
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโสก. (2566). สภาพและข้อมูลพื้นฐาน. [ออนไลน์], แหล่งที่มา: http://www.khonsawansao.go.th/data.php?content_id=2 [14 มิถุนายน 2566].
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความลิขสิทธิ์