การประยุกต์หลักอิทธิบาทธรรมเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการบริหารงาน ของผู้บริหารท้องถิ่นในอำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ
คำสำคัญ:
การประยุกต์, ส่งเสริมประสิทธิภาพการบริหารงาน, ผู้บริหารท้องถิ่นบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับการประยุกต์หลักอิทธิบาทธรรมเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการบริหารงานของผู้บริหารท้องถิ่นในอำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ
2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อการประยุกต์หลักอิทธิบาทธรรมเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการบริหารงานของผู้บริหารท้องถิ่นในอำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อนำเสนอการประยุกต์หลักอิทธิบาทธรรมเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการบริหารงานของผู้บริหารท้องถิ่นในอำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ โดยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ 9 รูปหรือคน ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก และการวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 399 คน จากประชาชนผู้ที่มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปซึ่งอาศัยอยู่ในอำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 98,561 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที่ (t-test) และค่าเอฟ (F-test) และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาความ (descriptive interpretation)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการประยุกต์หลักอิทธิบาทธรรมเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการบริหารงานของผู้บริหารท้องถิ่นในอำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ โดยรวมอยู่ในระดับมาก
( =4.04) เมื่อจำแนกเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านสภาพแวดล้อมของการปฏิบัติงาน ( =4.05) ด้านสัมฤทธิผลของงาน ( =4.05) ด้านการบริหารจัดการ ( =4.04) และด้านทรัพยากรในการดำเนินงาน ( =4.04) อยู่ในระดับมากตามลำดับ
2) ประชาชนที่มีเพศ และอายุต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการประยุกต์หลักอิทธิบาทธรรมเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการบริหารงานของผู้บริหารท้องถิ่นในอำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย ส่วนประชาชนที่มีการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการประยุกต์หลักอิทธิบาทธรรมเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการบริหารงานของผู้บริหารท้องถิ่นในอำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย 3) หลักอิทธิบาท 4 คือ ฉันทะ ผู้บริหารท้องถิ่นเป็นผู้มีความพึงพอใจยินดีทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน และประชาชนได้รับประโยชน์นั้นโดยทั่วถึงกันทุกคน เป็นผู้สร้างสรรค์ให้ชุมชนมีความอยู่ดี กินดี และสนับสนุนให้ปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ วิริยะ ผู้บริหารท้องถิ่นของท่านเป็นผู้มุ่งมั่นผลักดันพยายามให้เยาวชนในชุมชนเหินห่างจากยาเสพติดให้โทษที่เป็นภัยต่อสังคม ให้หมดไปจากชุมชน มุ่งมั่นผลักดันพยายามในการปฏิบัติงานหาทางแก้ไขปัญหาปากท้องของประชาชนในชุมชนให้มีความอยู่ดีกินดี จิตตะ ผู้บริหารท้องถิ่นของท่านเป็นผู้มีความตั้งมั่นติดตามในการปกครองชุมชนด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และเป็นธรรมแก่ประชาชนทุกคนในชุมชน ตั้งมั่นติดตามในการทำหน้าที่โดยตั้งใจจะพัฒนาชุมชนที่ตนเองปกครองอยู่ให้มีความเจริญรุ่งเรืองต่อไป วิมังสา ผู้บริหารท้องถิ่นของท่านเป็นผู้มีการพิจารณาไตร่ตรองในการรับผิดชอบว่าสิ่งที่ตนทำมาเกิดประโยชน์แก่ส่วนรวมอย่างไร เพื่อความผาสุกของประชาชนในชุมชน พิจารณาไตร่ตรองในการปฏิบัติงานมีการพัฒนาปรับปรุงถนน แหล่งน้ำ สิ่งสาธารณประโยชน์ให้ดีขึ้น
Downloads
References
กระมล ทองธรรมชาติ. (2540). “การกระจายอำนาจการปกครองท้องถิ่น”. รัฐสภาสาร. ปีที่ 23 ฉบับ
ที่ 525 (มีนาคม 2540) : 1-7.
ชนิตา ศรีมหันโต. (2550). “คุณลักษณะผู้บริหารท้องถิ่นที่ประชาชนพึงประสงค์ของเทศบาลนคร
ยะลา อำเภอเมือง จังหวัดยะลา”. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง
ท้องถิ่น. บัณฑิตวิทยาลัย : วิทยาลัยปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ธนพรรณ คชาชัย. (2554). “ประสิทธิภาพการบริหารงานของผู้บริหารเทศบาลตำบลโพธิ์พระยา
อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี”. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการ
ปกครองท้องถิ่น. บัณฑิตวิทยาลัย : วิทยาลัยปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
นิตยา เงินประเสริฐศรี. (2540). ทฤษฎีองค์การ : แนวการศึกษาเชิงบูรณาการ. กรุงเทพมหานคร :
สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
นฤมล เมืองเดช. (2550). “บทบาทสตรีกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นในอำเภอสันกำแพง
จังหวัดเชียงใหม่”. ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์การปกครอง. บัณฑิต
วิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
สุกัญญา อนุสกุล. (2548). “ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานเทศบาลตำบลดอยสะเก็ด
จังหวัดเชียงใหม่”. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว.
บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สันติ โกเศยโยธิน. (2554). “ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลใน
สังกัดส่วนโยธาในจังหวัดสระบุรี”. วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา.
บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
Silverman. D. (2000). Doing Qualitative Research: A Practical Handbook. London:
Sange.
Yamane. Taro. (1967). Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harpen and Ro
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความลิขสิทธิ์