การใช้สมาธิเพื่อการยกระดับจิตใจสำหรับนักท่องเที่ยว กรณีศึกษา Monk Chat Programของโรงเรียนสามัคคีวิทยาทาน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • sanjaya Thiposot -
  • พิทักษ์ แฝงโกฏิ
  • วราภรณ์ ชนะจันทร์ตา

คำสำคัญ:

การใช้สมาธิ, การยกระดับจิตใจสำหรับนักท่องเที่ยว, Monk Chat Program ของโรงเรียนสามัคคีวิทยาทาน

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

   

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาวิธีการฝึกสมาธิตามแนวทางพระพุทธศาสนา

2) เพื่อวิเคราะห์การใช้สมาธิเพื่อการยกระดับจิตใจสำหรับนักท่องเที่ยว กรณีศึกษา Monk Chat Program ของโรงเรียนสามัคคีวิทยาทาน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และสรุปผลการวิจัยดังนี้

           ผลการวิจัยพบว่า 1) วิธีการฝึกสมาธิตามหลักพระพุทธศาสนาเป็นการฝึกใจให้จดจ่อกับสิ่งใดสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อให้จิตมีสติมีประโยชน์ต่อการทำงาน วิธีการฝึกคือการกำหนดลมหายใจเข้า - ออก เพื่อให้จิตใจเกิดความสงบส่งผลให้เกิดปัญญา เกิดสันติภาพภายในจิตใจ 2) การใช้สมาธิเพื่อการยกระดับจิตใจทำให้เห็นคุณค่าของตนเองเข้าใจโลกตามความเป็นจริง มีสติมากขึ้นนำมาใช้ในการแก้ปัญหา มองทุกอย่างเป็นอนิจจังมีความเคารพเชื่อและปฏิบัติตามให้ดี สำรวจตนเพื่อรู้ตนเตือนตนเองไม่ให้หลงตนเอง ใช้สมาธิในการเอาชนะความเครียดและอารมณ์ที่หดหู่ใช้สติปัญญาความอดทนความตั้งใจ ใช้หลักการสัมมาสมาธิ เชิญชวนนักท่องเที่ยวฝึกสมาธิเพื่อการผ่อนคลายทางจิตใจ พูดให้กำลังใจนักท่องเที่ยวให้มีกำลังใจในการทำงานต่าง ๆ ทำอะไรควรมีสติอยู่เสมอ และมีเมตตารักในสรรพสัตว์ทั้งหลาย เพื่อให้เกิดสันติสุขเกิดแก่สังคมและโลกต่อไป การสร้างความเข้าใจเรื่องสมาธิให้กับนักท่องเที่ยวเป็นการเผยแผ่พระพุทธศาสนา และเป็นการฝึกภาษาอังกฤษให้กับนักเรียนที่จะสนทนากับนักท่องเที่ยว เป็นการพัฒนาการเรียนรู้นอกห้องเรียนดังนั้นการแนะนำเรื่องสมาธิให้แก่นักท่องเที่ยวได้ประโยชน์ เช่น ด้านการทำสมาธิ สร้างความเข้าใจในมนุษย์ สร้างความเข้มแข็งทางด้านจิตใจด้วยการเจริญสมาธิวิปัสสนากรรมฐานและทำให้นักท่องเที่ยวรู้จักพระพุทธศาสนามากขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

References

ชูชีพ อ่อนโคกสูง. (2522). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.

สมปราชญ์ จอมเทศน์. (2515). “ทฤษฎีและพฤติกรรมในองค์การ”. คณะรัฐประศาสนศาสตร์สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

โสภา ชูพิชัยกุล. (2522). จิตวิทยาสังคมประยุกต์. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2553). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ. พิมพ์ครั้งที่20. กรุงเทพมหานคร : บริษัท สหธรรมิก จำกัด.

เจริญ ช่วงชิต. (2557). การศึกษาสมาธิในพระพุทธศาสนาเถรวาท. สารนิพนธ์ตามหลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาพระพุทธศาสนา บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูธรรมธรศิริวัฒน์ สิริวฒฺฑโนและคณะ. (2563). กระบวนการพัฒนาจิตใจและปัญญาของพระสงฆ์สายวัดป่าเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงพุทธในภาคตะวันออกเฉียงเหนือThe Mental and Wisdom Development Process of the Forest Monks for Promoting Buddhist Tourism in the North-Eas.วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์ ปีที่ 5ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม2563. น.47.

พระครูวินัยธร สัญชัย ญาณวีโร. (2565). หลักธรรมและแนวทางการเจริญกรรมฐานในอานาปานสติสูตรของนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา. รายการวิจัยหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา.

พระณรงค์ คุณธาโร (สีสุวัน)และคณะ. (2564). ศึกษาแนวทางการนำสมาธิไปประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่4-6 โรงเรียนดงสวรรค์วิทยา ตำบลดงสวรรค์ อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู. Journal of Modern Learning Development Vol. 6 No. 3 May - June 2021. น.96.

พระชญานันท์ กิตฺติปัญโญและคณะ. (2562). การประยุกต์ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาในการดูแลผู้สูงอายุ : ศึกษาเฉพาะกรณีผู้สูงอายุชุมชนบ้านไร่ ตำบลทุ่งต้อม อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 | กรกฎาคม - ธันวาคม 2562. น.306.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-26