การพัฒนาสมรรถภาพผู้นำชุมชนตามหลักธรรมาภิบาลในอำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • เกตุสุดา แพ่งฉิมพลี นักวิชาการอิสระ 382 ม.9 ต.นาเสียว อ.เมือง จ.ชัยภูมิ
  • นิรุช จันทร์สว่าง
  • พวงพยอม ภิพากร
  • ศุภฤกษ์ โพธิ์ศรี

คำสำคัญ:

การพัฒนา, ผู้นำชุมชน, หลักธรรมาภิบาล

บทคัดย่อ

“การพัฒนาสมรรถภาพผู้นำชุมชนตามหลักธรรมาภิบาลในอำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา” มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยคือ 1) เพื่อศึกษาถึงปัญหา-อุปสรรคของการพัฒนาสมรรถภาพผู้นำตามหลักธรรมาภิบาลในเขตพื้นที่อำเภอปักธงชัย 2) เพื่อศึกษาหลักธรรมาภิบาลในการพัฒนาสมรรรถภาพผู้นำชุมชนตามหลักธรรมาภิบาลในเขตพื้นที่อำเภอปักธงชัย 3) เพื่อวิเคราะห์การพัฒนาสมรรถภาพผู้นำตามหลักธรรมาภิบาลในเขตพื้นที่อำเภอปักธงชัย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed  Methodology) ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ทำการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จำนวน 9 คน ซึ่งเป็นประชาชนและผู้บังคับบัญชาในพื้นที่ 3 ตำบล อำเภอปักธงชัยจังหวัดนครราชสีมา

1. สภาพปัญหาและอุปสรรค จากการสัมภาษณ์เชิงลึกวิเคราะห์แล้วนั้น พบว่า ไม่มีปัญหา อุปสรรคของการพัฒนาสมรรถภาพด้านพฤติกรรมและด้านปัญญามากนัก การแก้ไขปัญหาด้านพฤติกรรมและด้านปัญญาต้องมีการฝึกอบรม ให้ผู้นำรู้หน้าที่ และสามารถรู้หลายๆเรื่องในเวลาเดียวกัน เพราะเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้นำ ต้องปฏิบัติภารกิจอื่นๆที่ได้รับมอบหมายด้วย เช่น การปฏิบัติงานเร่งด่วนตามหนังสือราชการเร่งด่วน การทำโครงการต่างๆ ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้นำ ที่จะต้องเรียนรู้งาน และยังต้องรู้จักพิจารณาอย่างมีเหตุมีผล ต้องสมารถปฏิบัติภารกิจ และตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย 2. การนำทฤษฎีและหลักธรรมาภิบาลที่เหมาะการบริหารจัดการที่ดี เป็นหลักในการนำมาปกครองประเทศให้เกิดความสงบสุขโดยยึดหลักพื้นฐาน 6 ประการ คือ  หลักนิติธรรม หลักคุณธรรมหลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบและหลักความคุ้มค่า 3. จุดประสงค์สำคัญคือ การสร้างความพึงพอใจอย่างสูงสุดให้กับประชาชน โดยปัจจัยสำคัญประการแรกที่หน่วยงานต้องคำนึงถึงในการบริหารการจัดการเพื่อสร้างผลประโยชน์สูงสุดให้กับประชาชน ได้แก่ การกำหนดนโยบายต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน การเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีบทบาทและมีส่วนร่วมในการให้ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ตลอดจนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นที่อยู่อาศัยเพื่อให้ความรู้สึกความเป็นเจ้าของร่วมกันและมีจิตสำนึกสาธารณะที่จะสร้างสรรค์งานพัฒนาต่าง ๆ ตามลักษณะของปัญหาและความต้องการ โดยในปัจจุบันนี้ประชาชนให้ความสำคัญในการมีส่วนร่วมมากขึ้น ซึ่งนับเป็นโอกาสที่ดีที่จะให้ตัวแทนประชาชนเหล่านี้เข้ามามีส่วนร่วมให้เข้ามามีบทบาทมากยิ่งขึ้น ทำให้เกิดความสงบสุขและมีความสามัคคีได้ในที่สุด

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-01-30