การอ้างสิทธิในการฆ่าตัวตายกับหลักกรรมในพระพุทธศาสนา
คำสำคัญ:
ฆ่าตัวตาย, หลักธรรม, พระพุทธศาสนนาบทคัดย่อ
ชีวิตของมนุษย์เป็นของขวัญที่พระเจ้าทรงประทานให้แก่มนุษย์ด้วยความรัก ในทัศนะของพระพุทธศาสนาก็ถือว่าการได้เกิดมาเป็นมนุษย์เป็นสิ่งที่ประเสริฐอย่างยิ่ง และกว่าจะเกิดมาเป็นมนุษย์ก็ยากลำบากดังนั้นการเกิดมาเป็นมนุษย์ที่แปลว่า สัตว์ประเสริฐนั้นจะต้องอาศัยเหตุที่ตนได้เกิดมาเป็นมนุษย์หรือเป็นคนนี้แหละ พัฒนาตนตามหลักไตรสิกขา คืออธิศีล อธิสมาธิ อธิปัญญา เป็นเหตุปัจจัยในการเป็นผู้ที่ประเสริฐอย่างแท้จริง คือการดำเนินชีวิตของตนเพื่อประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่น
ในพระพุทธศาสนามีรากศัพท์หลายคำที่มีความหมายว่า “ฆ่า” เช่น ปหร, เฉทน, วธก, ชีวิตา, โวโรเปน, หนฺตุ, มาร, ฆาต และวินิปาต การฆ่าในความหมายว่า อัตวินิบาตนั้นมีปรากฏใน ตติยปาราชิกสิกขาบท วินัยปิฏก มหาวิภังค์ ที่ใช้ในบาลีโดยตรงก็คือ “อตฺตวินิปาต” แปลว่า การปลงชีวิตตนเอง
การที่มีคำที่มีความหมายตรงกันคำว่าฆ่าตัวตาย หรืออัตวินิบาตกรรม ในทัศนะพระพุทธศาสนาก็เห็นได้ว่าเรื่องเหล่านี้ก็คงมีความสำคัญ และเป็นเรื่องที่คงจะมีเรื่องที่พอจะเทียบเคียงหรือวินิจฉัยเหตุการณ์ได้
ความตายจึงไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัวดังที่ไอน์สไตน์ได้เคยกล่าวว่า “การกลัวความตายคือความกลัวที่ไม่มีเหตุผลที่สุดในบรรดาความกลัวทั้งปวง” จึงกล่าวได้ว่าเรื่องการอ้างสิทธิการตายเป็นเรื่องที่มีการถกเถียงและโต้แย้งกันอยู่ และเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสนใจ เพื่อจะได้นำเอาหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนามาแก้ปัญหา ดังที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ธรรม
Downloads
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความลิขสิทธิ์