การพัฒนาตัวชี้วัดสุขภาพและการประเมินสภาวะสุขภาพของประชาชนจังหวัดนนทบุรี

Main Article Content

ประเสริฐ เล็กสรรเสริญ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวชี้วัดสุขภาพ เพื่อประเมินสภาวะสุขภาพของประชาชน และเพื่อกำหนดรูปแบบ/ทิศทางการพัฒนาระบบสุขภาพของประชาชนจังหวัดนนทบุรี วิธีดำเนินการวิจัยมีการดำเนินงานทั้งในส่วนของข้อมูลเชิงปริมาณ ที่เก็บข้อมูลจากฐานข้อมูลและเอกสารของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และจากการสำรวจสภาวะสุขภาพของประชาชนด้วยแบบสอบถาม โดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนกับประชาชนในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี จำนวนทั้งสิ้น 2,650 คน และการเก็บข้อมูลในเชิงคุณภาพด้วยการสนทนากลุ่มย่อยกับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับระบบสุขภาพของประชาชน จำนวน 30 คน โดยการจัดการสนทนากลุ่มย่อยในพื้นที่ 6 อำเภอ ๆ ละ 1 ครั้ง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ตัวชี้วัดสุขภาพแบ่งออกเป็น 3 ตัวชี้วัด ได้แก่ 1) ตัวชี้วัดทางด้านสถานะสุขภาพ ซึ่งเป็นข้อมูลเกี่ยวกับสถานะสุขภาพทางกายและสุขภาพจิต ประกอบไปด้วย 7 ตัวชี้วัด และมี 3 ตัวชี้วัดที่เป็นปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไข 2) ตัวชี้วัดปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสุขภาพอนามัย เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสถานะสุขภาพของประชาชน ซึ่งรวมถึงทักษะส่วนบุคคลในการรับรู้ต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ รวมทั้งพฤติกรรมในการดำเนินชีวิต ปัจจัยทางด้านชีววิทยาและสิ่งแวดล้อม ประกอบไปด้วย 19 ตัวชี้วัด และมี 12 ตัวชี้วัดที่เป็นปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไข และ 3) ตัวชี้วัดระบบสุขภาพ เป็นตัวชี้วัดที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงาน ใช้ในการจัดสรรทรัพยากร ประเมินแผนงาน ประเมินผลการปฏิบัติงาน และปรับปรุงผลงาน รวมทั้งผลกระทบที่เกิดจากการจัดบริการสาธารณสุข นโยบายสาธารณะ ระบบข้อมูลข่าวสาร และการวิจัย ประกอบไปด้วย 16 ตัวชี้วัด และมี 3 ตัวชี้วัดที่เป็นปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไข มีข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้ คือ ในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพของประชาชนจังหวัดนนทบุรีนั้น ควรเน้นไปที่การจัดการโรค การเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิต และรูปแบบการดำเนินงานนั้นควรมีทั้งเชิงรับและเชิงรุกลงไปในพื้นที่แบบบูรณาการ เป็นองค์รวม และควรสร้างโอกาสการเข้าถึงบริการสุขภาพตามความจำเป็นในกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ปรีดา ทัศนประดิษฐ์ และคณะ. (2546). ระบบสุขภาพและการประเมินผลการดำเนินการ. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

ปาริชาต เทพอารักษ์ และ อมราวรรณ ทิวถนอม. (2550). การสร้างองค์ความรู้ และตัวชี้วัด: สุขภาวะของคนไทยจุดเริ่มต้นของการอยู่เย็นเป็นสุข. วารสารเศรษฐกิจและสังคม, (มกราคม-มีนาคม 2550), 12-17.

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), และสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.). (2564). รายงานสุขภาพคนไทย 2564: COVID-19 มหันตภัยร้ายเขย่าโลก. บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่งจำกัด (มหาชน).

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (2551). พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 (พิมพ์ครั้งที่ 5). ห้างหุ้นส่วนจำกัดสหพัฒนไพศาล.

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (2556). ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2552 (พิมพ์ครั้งที่ 1). บริษัท วิกิ จำกัด.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี. (2565). เอกสารประกอบการตรวจราชการ กรณีปกติ รอบที่ 2 ปีงบประมาณ 2565. https://ssjnonthaburi.moph.go.th/nont/#

สํานักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2559). แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). http://dmsic.moph.go.th/index/detail/6991

Brady, T. J., Murphy, L., O’Colmain, B. J., Beauchesne, D., Daniels, B., Greenberg, M., House, M., & Chervin, D. (2013). A meta-analysis of health status, health behaviors, and health care utilization outcomes of the chronic disease self-management program. Preventing Chronic Disease, 10, 120112. https://doi.org/10.5888/pcd10.120112

Fall, A. K. D. J., Migot-Nabias, F., & Zidi, N. (2022). Empirical analysis of health assessment objective and subjective methods on the determinants of health. Frontiers in Public Health, 10, 796937. https://doi.org/10.3389/fpubh.2022.796937

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

McHorney, C. A. (1999). Health status assessment methods for adults: Past accomplishments and future challenges. Annual Review of Public Health, 20(1), 309–335. https://doi.org/10.1146/annurev.publhealth.20.1.309