การศึกษาอิทธิพลของลักษณะงาน ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในองค์กร ระบบการบริหารจัดการภายใน และสภาพแวดล้อมในที่ทำงาน ที่มีต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19: กรณีศึกษาบริษัท XYZ จำกัด

Main Article Content

ชุติเนตร บัวเผื่อน
หทัยกานต์ กุลวชิราวรรณ์
กัญชพร ศรมณี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน บริษัท XYZ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำในธุรกิจอุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศไทย รวมถึงศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อระดับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน บริษัท XYZ จำกัด โดยพาะในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 การวิจัยนี้ใช้วิธีการเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเพื่อรวบรวมข้อมูลจากพนักงานบริษัท จำนวน 261 คน ผลการวิจัยพบว่า ระดับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน บริษัท XYZ จำกัด ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อระดับความผูกพันต่อองค์กร ได้แก่ ลักษณะงาน (b = .367, p < .001) สัมพันธภาพระหว่างผู้ร่วมงาน (b = .166, p < .01) และด้านสภาพแวดล้อมในที่ทำงาน (b = .322, p < .01) ส่วนปัจจัยด้านระบบการบริหารภายในองค์กรไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับระดับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน (b = .062, p = .327) ในตอนท้าย ผู้วิจัยได้จัดทำข้อเสนอแนะเพื่อการประยุกต์ใช้ผลการวิจัยในการปรับปรุงกลยุทธ์ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของบริษัทฯ ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2550). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสําหรับบริหารและวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 10). โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนวัฒน์ วิภาวัฒนกุล. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันองค์กรของพนักงานบริษัท XYZ จำกัด. (การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์.

ธีรนวล จารุสมบัติ. (2563). การเสริมสร้างความผูกพันของสมาชิกที่มีต่อสหภาพแรงงาน: ศึกษากรณีสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน). วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล, 7(1), 191–213.

ณาฐยา ม่วงเงิน. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันในองค์กรของพนักงาน กรณีศึกษา บริษัท เอสเอ็มจี จำกัด. (การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์.

ประคอง สุคนธจิตต์. (2562). ทรัพยากรมนุษย์ ยุค 4.0. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์นายเรืออากาศ, 7(ธันวาคม), 18-28.

ยสบวร อำมฤต (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัท MM Logistics. (สารนิพนธ์การศึกษาการจัดการมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล.

รัตนสุคนธ์ สมนึก. (2558). ความสัมพันธ์ของการรับรู้วัฒนธรรมองค์การกับความผูกพันกับองค์การ: กรณีศึกษา กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.). วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล, 2(2), 101–118.

เรือนขวัญ อยู่สบาย และกีรติกร บุญส่ง. (2560). การศึกษาเปรียบเทียบระดับความผูกพันของพนักงานตามเกณฑ์ช่วงอายุ กรณีศึกษา กลุ่มบริษัทธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ ABC. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 9(1), 121-134.

เลิศชัย สุธรรมานนท์ และเกศยา โอสถานุเคราะห์. (2558). แนวคิดความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร: กรณีศึกษาธุรกิจบริการรับชำระ บริษัท XYZ จำกัด. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 7(2), 96-107.

Aon Hewitt. (2013). Trends in global employee engagement. https://www.scribd.com/document/269480077/2013-Trends-in-Global-Employee-Engagement-Highlights

Baron, R. A. (1986). Behavior in organization. Allyn & Bacon.

Gubman, L. E. (1998). Aligning strategy and people to achieve extraordinary results. McGraw-Hill.

Fazzi, R. A. (1994). Management plus: Maximizing productivity through motivations, performance, and commitment. Irwin Professional.

Harter, J. K., Schmidt, F. L., Agrawal, S., Blue, A., Plowman, S. K., Josh, P., & Asplund, J. (2020). Q12 meta-analysis: The relationship between engagement at work and organizational outcomes. Gallup.

Herzberg, F., Mausner, B., & Snyderman, B. B. (1959). The motivation to work (2nd ed.). John Wiley and Sons.

Kahn, W. A. (1990). Psychological conditions of personal engagement and disengagement at work. Academy of Management Journal, 33(4), 692–724.

McGregor, M. D. (1960). The human side of enterprise. McGraw-Hill Kogakusha.

Nunnally, J. C. (1978). Psychometric theory (2nd ed.). McGraw-Hill.

PricewaterhouseCoopers (PwC). (2017). Employee engagement survey. https://wp-cpr.s3.amazonaws.com/uploads/2019/08/2017-Employee-Engagement-Survey.pdf

Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Tijdschrift voor Onderwijsresearch, 2(2), 49–60.

Sheldon, M. (1971). An empirical analysis of organizational identification. Academy of Management Journal, 14, 149-226.

Steers, R. M. (1977). Antecedents and outcomes of organizational commitment. Administrative Science Quarterly, 22(1), 46-56.

Willis Towers Watson. (2022). The power of three: Taking engagement to new heights. https://www.wtwco.com/en-US/Insights/2016/02/the-power-of-three-taking-engagement-to-new-heights.