บทบาทของหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์กับการเสริมสร้างความเป็นมืออาชีพให้แก่กำนันและผู้ใหญ่บ้าน: กรณีศึกษาหลักสูตรความร่วมมือระหว่างกระทรวงมหาดไทยและมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

Main Article Content

ปุริมปรัชญ์ คณิณพศุตย์
วรรณธรรม กาญจนสุวรรณ
ปรีชา วัชราภัย
ชูเกียรติ มุทธากาญจน์
นิพัทธา อมรรัตนเมธา
สุจริต ปัจฉิมนันท์
มานิต ศุทธสกุล
ศศิธร ชุตินันทกุล

บทคัดย่อ

หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต วิชาเอกการบริหารการปกครองท้องที่ ตามโครงการความร่วมมือระหว่างกระทรวงมหาดไทยกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความเป็นมืออาชีพของนักปกครองท้องที่ ด้วยการจัดหลักสูตรที่มีความจำเพาะ เน้นการสร้างความรู้ด้านรัฐประศาสนศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานในบทบาทหน้าที่ของกำนันและผู้ใหญ่บ้าน เพื่อนำไปสู่การอยู่มีสุขของประชาชนในท้องถิ่น รวมทั้ง เน้นการฝึกทักษะของความเป็นมืออาชีพใน 5 องค์ประกอบ คือ 1) ด้านความรอบรู้เกี่ยวกับนักปกครองท้องที่ 2) ด้านมาตรฐานของงานและมาตรฐานจริยธรรมวิชาชีพ 3) ด้านความทุ่มเท มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน 4) ด้านความเชี่ยวชาญชำนาญ ฝึกให้มีประสบการณ์ ทำชิ้นงานในบริบทของพื้นที่จริง และ 5) ด้านการผลงานเป็นที่ประจักษ์ผ่านการทำชิ้นงาน ตามมาตรฐานวิชาชีพนักบริหารการปกครองท้องที่มืออาชีพ (Professional Provincial Governance Officer Standards) บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแนะนำหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต วิชาเอกการบริหารการปกครองท้องที่ และการนำเสนอตัวอย่างความสำเร็จเชิงประจักษ์ของหลักสูตรฯ ที่ได้สร้างบัณฑิตที่สามารถบูรณาการองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์และบริบทของแต่ละพื้นที่ เพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนในด้านการพัฒนาความเป็นอยู่ พัฒนาอาชีพ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในท้องถิ่นอย่างมืออาชีพได้อย่างแท้จริง

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมการปกครอง. (2550). หนังสือด่วนมากที่ มท 0310.2/9306.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2549). เป็น “มืออาชีพ” อย่าเป็นเพียง “อาชีพ” สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. http://www.kriengsak.com/A-professional-Do-not-be-a-profession

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2560). หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต วิชาเอกการบริหารการปกครองท้องที่หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560 [เอกสารไม่ได้ตีพิมพ์].

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2564). เอกสารแนวทาง การจัดทำผลงานตามมาตรฐาน “นักบริหารการปกครองท้องที่วิชาชีพ P.P.G.O” และการแสดงผลงานสาธิตสำหรับการเข้าอบรม “ชุดวิชา 33445 ประสบการณ์วิชาชีพการบริหารการปกครองท้องที่” [เอกสารไม่ได้ตีพิมพ์].

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2565). ข้อมูลสถิติผู้จบการศึกษา โครงการความร่วมมือระหว่างกระทรวงมหาดไทยและมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช [เอกสารไม่ได้ตีพิมพ์].

ราชกิจจานุเบกษา. (2551). พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2551). เล่ม 125 ตอนที่ 27 ก ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2551.

สำนักบริหารการปกครองท้องที่. (ม.ป.ป.). กรมการปกครอง คู่มือกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน. กรุงเทพมหานคร.

Awasthi, P., & Mastracci, S. H. (2021). Integrating emotive competencies in public affairs education. Journal of Public Affairs Education, 27(4), 472–489.

Haupt, B., Kapucu, N., & Hu, Q. (2017). Core competencies in Master of Public Administration Programs: Perspectives from local government managers. Journal of Public Affairs Education, 23(1), 611–624.

Lazenby, S. (2010). The adequacy of MPA course content in preparing local government managers. Journal of Public Affairs Education, 16(3), 337–360.

Nalbandian, J. (1990). Tenets of contemporary professionalism in local government. Public Administration Review, 50(6), 654.

Raadschelders, J. C. N. (1999). A coherent framework for the study of public administration. Journal of Public Administration Research and Theory, 9(2), 281–304.

Rubaii, N. (2016). Bringing the 21st-century governance paradigm to public affairs education: Reimagining how we teach what we teach. Journal of Public Affairs Education, 22(4), 467–482.