การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ในการจัดการเรียนการสอนระหว่างการใช้การเรียนการสอน แบบ Active Learning โดยใช้นวัตกรรมการสอน Google Classroom กับการเรียนการสอนแบบปกติ (Passive Learning) กรณีศึกษา การจัดการเรียนการสอนรายวิชา ประวัติศาสตร์ไทย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ในการจัดการเรียนการสอนระหว่างการใช้การเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้นวัตกรรมการสอน Google Classroom กับการเรียนการสอนแบบปกติ (Passive Learning) และเพื่อให้ข้อเสนอแนะและแนวทางในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาประวัติศาสตร์ไทย (ส 33101) นักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทพมิตรศึกษา ในอนาคต
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็นกลุ่มทดลอง (Experimental) ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/3
ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 และเข้าร่วมการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาประวัติศาสตร์ไทย
(ส 33101) ซึ่งใช้การเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้นวัตกรรมการสอน Google Classroom จำนวน 40 คน และกลุ่มควบคุม (Control) ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/7 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 และเข้าร่วมการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาประวัติศาสตร์ไทย (ส 33101) ซึ่งใช้การเรียนการสอนการเรียนการสอนแบบปกติ (Passive Learning) จำนวน 40 คน และได้รับการคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบวิธีการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้นวัตกรรมการสอน Google Classroom 2) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบวิธีการเรียนการสอนแบบ Passive Learning 3) แบบทดสอบ
วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 4) แบบสังเกตพฤติกรรมการใช้รูปแบบวิธีการเรียนการสอน ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนก 0.2 ขึ้นไป ค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.2–0.8 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.8 และนำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยการทดสอบค่าที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้นวัตกรรมการสอน Google Classroom มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการแบบปกติ (Passive Learning) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีข้อเสนอแนะคือ 1) ครูผู้สอนควรนำการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้นวัตกรรมการสอน Google Classroom ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนและสามารถทำการเผยแพร่กับครูผู้สอน
ในรายวิชาอื่น ๆ หรือในนักเรียนกลุ่มอื่น ๆ ข้อเสนอแนะการวิจัย 2) ควรมีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview)
กับครูผู้สอนเพื่อเป็นข้อมูลเพิ่มเติมในการจัดการเรียนการสอนในอนาคต และ 3) ควรมีการทำแบบสอบถาม (Questionnaire) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการใช้งาน Google Classroom ของครูผู้สอนและนักเรียน
Article Details
- วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาต CC Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) โดยต้องแสดงที่มา/การอ้างอิงจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลงเนื้อหา
- ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารฯ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ (ซึ่งหมายรวมถึง บรรณาธิการ ผู้ทรงคุณวุฒิในกองบรรณาธิการ หรือ บรรณาธิการรับเชิญ) แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ
- กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตัดทอน/ปรับแก้ถ้อยคำบางประการเพื่อความเหมาะสม
References
การประชุมสัมมนา การติดตาม ทบทวนและต่อยอดการจัดทำองค์ความรู้ เรื่อง กลยุทธ์การจัดการเรียนการสอนนักศึกษาในชั้นเรียน (น.1-15 ). (2554). เชียงใหม่: สำนักพัฒนาคุณภาพการศึกษา.
กิตติศักดิ์ สิงห์สูงเนิน และณมน จีรังสุวรรณ. (2558). การจัดการเรียนรู้ด้วย Active Learning
เพื่อการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ การจัดการเรียนรู้ด้วย Active Learning เพื่อการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์. วารสารคุรุศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 หน้า 35-43. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ดุษฎี โยเหลา และคณะ. (2557). การศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบ PBL ที่ได้จากโครงการสร้าง
ชุดความรู้เพื่อสร้างเสริมทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของเด็กและเยาวชน: จากประสบการณ์ความสำเร็จของโรงเรียนไทย. กรุงเทพฯ: ทิพย์วิสุทธิ์.
นีรบล อนุกูล และคณะ. (2561). การเปรียบเทียบการสอนภาษาแบบเน้นภาระงานกับการสอนภาษาแบบปกติที่มีผลต่อพัฒนาการด้านการเรียนรู้คำศัพท์. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ปีที่ 14 เล่ม 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2561 หน้า 27-49. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
นุชนาฏ วัฒนศิริ (2561). ผลของการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิคห้องเรียนกลับด้านร่วมกับกูเกิ้ล คลาสรูม ที่มีต่อความคงทนของความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองและผลสัมฤทธิ์ในการเรียนในวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ. Veridian E-Journal ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ ปีที่ 11 ฉบับที่ 3เดือนกันยายน–ธันวาคม 2561 หน้า 1641-1659 มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ปัณฑิตา อินทรักษา. (2562). การพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้ที่ประยุกต์ใช้ในการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน และแนวคิดเมตาคอกนิชัน เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ การกำกับตนเองในการเรียน และผมสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัย
ราชภัฏอุดรธานี
ผกามาศ ชูสิทธิ์. (2557). การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ความคงทนทางการเรียนและความชอบจากการสอนโดยใช้เกมกับการสอนปกติ : ในวิชาเขียนแบบ. วารสารวิชาการและวิจัย ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 มีนาคม 2557. หน้า 97-109. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
ลาภวัต วงศ์ประชา. (2561). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้วรรณคดีไทยด้วยวิธีการสัมมนาตามแนวคิด Active Learning สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. Veridian E-Journal ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ ปีที่ 12 ฉบับที่ 4 กรกฎาคม-สิงหาคม 2562 หน้า 53-67 มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). งานปฏิรูปการศึกษา. (ออนไลน์) ที่มา http://www.onec.go.th
สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย สพฐ. (2559). ตัวขับเคลื่อนในการเรียนรู้. (ออนไลน์) ที่มา https://secondary.obec.go.th/newweb/
สุธิดา เลขะวัฒนะ. (2560). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาด้วยสื่อความจริงเสมือนโดยการเรียนรู้แบบ Active Learning. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ฉบับที่ 1