ปัญหาเกี่ยวกับการกำหนดค่าเสียหายสำหรับความเสียหายต่อจิตใจ ตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดในสินค้าที่ไม่ปลอดภัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
ประเทศไทยได้มีการนำกฎหมายว่าด้วยความรับผิดในสินค้าที่ไม่ปลอดภัย (Product liability) มาใช้โดยการตราออกเป็นพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 ทั้งนี้มีเจตนารมณ์เพื่อให้การคุ้มครองประชาชนจากการนำสินค้าที่ไม่ปลอดภัยไปใช้ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย สุขภาพ อนามัย จิตใจ หรือทรัพย์สินของผู้บริโภคหรือบุคคลอื่นได้ รวมทั้งมีการนำหลักความรับผิดโดยเคร่งครัด (Strict liability) มาใช้ อีกทั้งมีการกำหนดให้ผู้ต้องเสียหายสามารถได้รับค่าชดเชยต่าง ๆเพื่อความเสียหายที่เหมาะสมต่อไป โดย ไม่รวมถึงความเสียหายต่อตัวสินค้าที่ไม่ปลอดภัยนั้นเอง ค่าเสียหายที่ได้รับความคุ้มครองจึงเป็นทั้งค่าเสียหายที่แท้จริง ค่าเสียหายสำหรับความเสียหายต่อจิตใจและค่าเสียหายเชิงลงโทษ อย่างไรก็ตาม ประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นและควรได้รับการพิจารณา ได้แก่ ปัญหาความไม่ครอบคลุมในความเสียหายสำหรับความเสียหายต่อจิตใจตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดในสินค้าที่ไม่ปลอดภัย นอกจากนี้ในการกำหนดค่าเสียหาย กฎหมายให้อำนาจศาลในการสงวนสิทธิที่จะแก้ไขคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลให้ครอบคลุมความเสียหายที่แท้จริงในอนาคตที่อาจเกิดต่อเนื่องมากขึ้นได้ แต่ก็ยังจำกัดและไม่ครอบคลุมความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อชีวิตหรือเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นกับทรัพย์ หรือความเสียหายต่อจิตใจที่ไม่ได้มีฐานที่มาจากความเสียหายทางร่างกาย ปัญหาการพิสูจน์ค่าเสียหายสำหรับความเสียหายต่อจิตใจสูจน์ ปัญหาเกี่ยวกับการกำหนดค่าเสียหายสำหรับความเสียหายต่อจิตใจ ตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดในสินค้าไม่ปลอดภัยของไทยที่ปัจจุบันการกำหนดค่าเสียหายสำหรับความเสียหายต่อจิตใจของไทย ยังไม่มีหลักเกณฑ์ในการกำหนดที่ชัดเจน ปัญหาเหล่านี้เป็นประเด็นที่ต้องแสวงหาคำตอบ เพื่อให้มีความชัดเจนและเป็นธรรมทั้งต่อผู้ประกอบการและผู้เสียหาย
Article Details
- วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาต CC Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) โดยต้องแสดงที่มา/การอ้างอิงจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลงเนื้อหา
- ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารฯ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ (ซึ่งหมายรวมถึง บรรณาธิการ ผู้ทรงคุณวุฒิในกองบรรณาธิการ หรือ บรรณาธิการรับเชิญ) แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ
- กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตัดทอน/ปรับแก้ถ้อยคำบางประการเพื่อความเหมาะสม
References
โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2562.
ธานิศ เกศวพิทักษ์. กฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค
พ.ศ.2551.กรุงเทพมหานคร: บริษัทยูเนียนอุตร้าไวโอเล็ต จำกัด 2551.
มานิตย์ จุมปา.คำอธิบายกฎหมายว่าด้วยความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าไม่
ปลอดภัย.พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2554.
มานิตย์ วงศ์เสรีและคณะ.รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ความรับผิดต่อความเสียหายที่
เกิดขึ้นจากสินค้า (product Liability) กรุงเทพมหานคร: มปท. 2558.
ศักดา ธนิตกุล ,คำอธิบายและคำพิพากษาเปรียบเทียบกฎหมายความรับผิดต่อความเสียหายที่
เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย กรุงเทพมหานคร : บริษัท สำนักพิมพ์วิญญูชน จำกัด ,2553,
อนันต์ จันทรโอภากร. กฎหมายว่าด้วยความรับผิดเพื่อความเสียหายที่เกิดจากสินค้าที่ขาดความ
ปลอดภัย. พิมพ์เพิ่มเติมครั้งที่ 1 :กรุงเทพมหานคร: โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2562.
จักรินทร์ โกเมศ รินทร์โกเมศ “ค่าเสียหายสำหรับความเสียหายทางจิตใจตามกฎหมายลักษณะ
ละเมิด”วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2552. หน้า 40
ภาคภูมิ พองชัยภูมิ, ปัญหาการกําหนดค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์, วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายเอกชน หาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2552.
ประยูร กันไพเราะ, ความรับผิดทางละเมิดในความเสียหายทางจิตใจที่เกิดกับผู้ได้รับความเสียหาย
ลําดับสอง, วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2554.
สุทธินันท์ บุญมณี ปัญหาภาระการพิสูจน์ตามพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น
จากสินค้าไม่ปลอดภัย พ.ศ.2551 วิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สาขากฎหมายเอกชน 2556.
พ.ร.บ. ความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ.2551
ภาษาต่างประเทศ
-David G.Owen. Product Liability Law. Second edition. MN. Thomson/West, 2008.
-David a Fishcher and Willaim Power Jr. Product Liability:Case and Materials St.Paul, Minn.West Publishing Co.1988.
-Denniss Campbel. (editor) International Personal Injury Compensation Sweet & Maxwell London. 1996.
-Isara Lovanich Personal injury and damages for non-pecuniary loss in the law of torts and the product liability law Faculty of Law Thesis Thammasart University 2011
-Vanessa Wilcox A Company’Right to Damages for Non-Pecuniary Loss. Cambridge University Press 2016.
-W.V. Horton Roger( ed ) Damages for Non-Pecuniary Loss in a Comparative Perspectives. New York Springger Wien. 2001.
Journals
-C.S. Wheatley, Jr., Annotation, “Future Pain and Suffering as Element of Damages for Physical Injury,” 81 A.L.R. 423, (1932).
-Harry Zavos Monetary Damages for Nonmonetary Losses: An Integrated Answer to the Problem of the Meaning, Function, and Calculation of Noneconomic Damages 43 Loy. L.A. L. Rev. 193 (2009) https://digitalcommons.lmu.edu/llr/vol43/iss1/3. -Michel Cannarsa, “Compensation for Personal Injury in France: apply to American context,” Retrieved on 12 May 2020 from http://www.jus.unitn.it/cardozo/review/
- The Law Commissions Working Paper No.41, Personal Injury Litigation Assessment of Damages, (18 October 1971).
-Phillip L. Merkel, “Pain and Suffering damages at Mid-twentieth Century: A Retrospective View of The Problem and The Legal Academy’s First Responses”, Cap. U. L. Rev , 34, p. 545, (2006).
-Ronald W. Eades, “Jury Instructions on Damage’s in Tort action” Tort & Insurance Law Journal, Vol. 36, No. 1 P. 19, (FALL 2000).