สภาพและผลการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้เสนอผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์การวิจัยข้อแรกคือ การศึกษาสภาพและผลการส่งเสริมนิสัย รักการอ่านของนักเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง การส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนและห้องสมุดโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เก็บรวบรวมข้อมูลหลายวิธี (Mixed methods) เพื่อให้ได้ข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพของสภาพการดำเนินงานและผลการดำเนินงานการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการลงสำรวจพื้นที่ศึกษา การสัมภาษณ์ และการสอบถามโดยใช้แบบสอบถามจากโรงเรียนต้นแบบส่งเสริมนิสัยรักการอ่านจากเขตพื้นที่ศึกษาทุกภูมิภาคของประเทศ รวม 16 โรงเรียน เป็นโรงเรียนในภาคเหนือ 4 โรงเรียน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4 โรงเรียน ภาคใต้ 4 โรงเรียน และภาคกลาง 4 โรงเรียน ในช่วงเดือนสิงหาคม 2561- มกราคม 2562 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลจากการศึกษา พบว่า
สภาพและผลการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจากการวิเคราะห์ความคิดเห็นต่อโครงการของผู้บริหาร ครูบรรณารักษ์และครูโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ความคิดเห็นต่อโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนในโรงเรียนต้นแบบส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานของนักเรียนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก สำหรับแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศในการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน ได้แก่ 1) โรงเรียนให้ความสำคัญกับการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน มีการรณรงค์ส่งเสริมการอ่านอย่างต่อเนื่องโดยการใช้กิจกรรมเป็นหลัก จัดให้มีสื่อต่างๆที่ดึงดูดให้นักเรียนเห็นความสำคัญและประโยชน์ของการอ่าน ต้องการอ่านมากขึ้น โดยอาศัยการเสริมแรงในรูปแบบต่างๆ มีต้นแบบและการถ่ายทอดตัวอย่างที่ดีในการสร้างนิสัยรักการอ่าน รวมทั้งมีหน่วยงานและผู้เกี่ยวข้อง เช่น หน่วยงานในระดับจังหวัด ภาคเอกชน รวมถึงผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมสนับสนุน 2) การพัฒนาแหล่งการอ่านและทรัพยากรการอ่านที่เอื้อต่อการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน โดยการพัฒนาห้องสมุดให้มีคุณภาพ เป็นแหล่งการเรียนรู้เพื่อการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน พัฒนาหนังสือและสื่อต่างๆที่เอื้อต่อการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน 3) การพัฒนาทักษะและความสามารถในการอ่าน ส่งเสริมนิสัยรักการอ่านในการเรียนการสอน เน้นการบูรณาการเรื่องการอ่านในทุกกลุ่มสาระ การจัดกิจกรรมการอ่านให้นักเรียนได้นำความรู้ความสามารถจากการอ่านมาใช้
Article Details
- วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาต CC Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) โดยต้องแสดงที่มา/การอ้างอิงจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลงเนื้อหา
- ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารฯ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ (ซึ่งหมายรวมถึง บรรณาธิการ ผู้ทรงคุณวุฒิในกองบรรณาธิการ หรือ บรรณาธิการรับเชิญ) แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ
- กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตัดทอน/ปรับแก้ถ้อยคำบางประการเพื่อความเหมาะสม
References
to Gain Reading Habit and Library Development 2018. Bangkok: Office of The Basic Education Commission. (in Thai)
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). คู่มือการดำเนินงานกิจกรรมโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านและ
พัฒนาห้องสมุดประจำปีงบประมาณ 2561. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
Chaiwiwutrakul, S. (2001). Implementation of Extensive Reading Activities to enhance English Reading-
Writing Abilities and Reading Habit of Mathayom Suksa 4 Students. Master of Education Thesis. Chiangmai University. (in Thai)
สุชาดา ชัยวิวัฒน์ตระกูล. (2544). การใช้กิจกรรมการอ่านแบบกว้างขวางเพื่อเพิ่มพูนความสามารถทางการอ่าน-เขียน
ภาษาอังกฤษและนิสัยรักการอ่านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต.
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Education, Ministry of. (2010). Education Reform of the Second Decade (2009-2018). (2nd ed.). Bangkok:
Ministry of Education. (in Thai)
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). การปฏิรูการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552-2561). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:
กระทรวงศึกษาธิการ.
Kattirat, W. (2007). An Evaluation of the Project of Encouraging Students to Gain Reading Habit,
Songvithaya School, Samut Prakan Province. Master of Education Thesis. Suandusit Rajabhat University. (in Thai)
วรรณนิภา ขัติรัตน์. (2550). การประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของโรงเรียนทรงวิทยา จังหวัดสมุทรปราการ.
วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัญฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
Khaemanee, T. (2011). The Method of Teaching. (14th ed.). Bangkok. Chulalongkorn University Printing
House.
ทิศนา แขมณี. (2554). ศาสตร์การสอน. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Mangmoon, J. (2004 Using Group Activities to Promote Reading Habit of Prathom Suksa 5 Students. Master
of Education Thesis. Chiangmai University. (in Thai)
จิรนนท์ มั่งมูล. (2547). การใช้กิจกรรมกลุ่มเพื่อเสริมสร้างนิสัยรักการอ่านของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5. เชียงใหม่:
วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Meeprasert, T. (2009). Research and Development of Reading Promotion to Improve the Quality of
Learners and Develop Academic Performance. Bangkok. Tharn Aksorn.
ธวัชชัย มีประเสริฐ (2552). การวิจัยและพัฒนาการส่งเสริมการอ่านเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนและการพัฒนาผลงานทาง
วิชาการ. กรุงเทพฯ: ธารอักษร.
National Economics and Social Development Council, Office of. (2016). 12th National Economic
and Social Development Plan (2017-2021). Bangkok: Office of The National Economics and Social Development Council. (in Thai)
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12
(พ.ศ. 2560-2564) .กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
Piaget, J. (1972). The Psychology of the Child. New York: Basic Books.
Tarian, J. (2011). Evaluation of Reading Formation Habit Project of Students at Schools under
KamphaengPhet Educational Service Area Office 2. Master of Education Thesis.
Kamphaengphet Rajabhat University. (in Thai)
จักรพันธ์ ต๊ะเรียน. (2554). การประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
กำแพงเพชร เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร.
Wongprasit, P. (2007). An Evaluation of the Project of Encouraging Students to Gain Reading Habit,
Naborkum wittayakom School under Educational Service Area Office 41. The National and International Conference on Interdisciplinary Research for Sustainable Community 15th, July 23, 2015. Nakhon Sawan: Nakhon Sawan Rajabhat University. (in Thai)
ปิยธิดา วงศ์ประสิทธิ์. (2558). การประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของโรงเรียนนาบ่อคำวิทยาคม สังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41. ในการประชุมสัมมนาวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ และนาชาติ
เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 15, 23 กรกฎาคม 2558. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัย
ราชภัฏนครสวรรค์.
Wuttipong, K. (2009). Organizing Constructivist Activities to Enhance Reading Skill and Habit Mathayom
Suksa 2 Students. Master of Education Thesis. Chiangmai University. (in Thai)
วุฒิพงษ์ คำเนตร. (2552). การจัดกิจกรรมตามแนวคิดการสร้างความรู้นิยมเพื่อส่งเสริมทักษะและ นิสัยรักการอ่านของ
นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.