ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรด้านเวชระเบียน ระหว่างโรงพยาบาลรัฐบาลและโรงพยาบาลเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความสุข เปรียบเทียบระดับความสุข และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรด้านเวชระเบียนระหว่างโรงพยาบาลรัฐบาลและโรงพยาบาลเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร โดยวิจัยเชิงสำรวจภาคตัดขวาง จากกลุ่มตัวอย่างบุคลากรด้านเวชระเบียนโรงพยาบาลรัฐบาลและโรงพยาบาลเอกชนจำนวน 176 คน ด้วยแบบสอบถาม ที่ใช้การวิเคราะห์ค่าที และสมการถดถอยพหุ พบว่า มิติด้านสุขภาพของบุคลากรด้านเวชระเบียนโรงพยาบาลเอกชนดีกว่าของโรงพยาบาลรัฐ ส่วนในด้านมิติอื่นๆ ซึ่งได้แก่ มิติผ่อนคลายดี, มิติน้ำใจดี , มิติจิตวิญญาณดี, มิติครอบครัวดี, มิติสังคมดี, มิติใฝ่ รู้ดี, มิติการเงินดี , มิติการงานดี ไม่มีความแตกต่างกัน อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรด้านเวชระเบียนในโรงพยาบาลรัฐบาล คือ ปัจจัยด้านการรับรู้คุณลักษณะงาน และ ด้านสภาพแวดล้อมภายในหน่วยงาน ตามลำดับ ส่วนในโรงพยาบาลเอกชนมีเพียงปัจจัยด้านคุณลักษณะงานเท่านั้น และจากตัวแปรทั้งหมดในปัจจัยด้านการรับรู้คุณลักษณะงานและด้านสภาพแวดล้อมภายในหน่วยงาน พบว่า หากมีการหมุนเวียนงานไปสู่ตำแหน่งใหม่ และกลุ่มตัวอย่างสามารถทำได้ เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสุขในการทำงานมากที่สุด ถัดมาคือ แผนปฏิบัติงานในหน่วยงานมีความชัดเจน ปฏิบัติได้ง่าย เพื่อนร่วมงานและผู้มารับบริการมีส่วนสำคัญต่องานที่ปฏิบัติ สถานที่ทำงานกว้างขวางเพียงพอกับจำนวนบุคลากร การกำหนดบทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานมีความชัดเจน และ งานที่ปฏิบัติมีความสำคัญต่อการอยู่รอดของหน่วยงานรองลงมาตามลำดับ
Article Details
- วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาต CC Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) โดยต้องแสดงที่มา/การอ้างอิงจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลงเนื้อหา
- ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารฯ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ (ซึ่งหมายรวมถึง บรรณาธิการ ผู้ทรงคุณวุฒิในกองบรรณาธิการ หรือ บรรณาธิการรับเชิญ) แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ
- กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตัดทอน/ปรับแก้ถ้อยคำบางประการเพื่อความเหมาะสม
References
(พ.ศ. 2550-2554). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์ . (2553ก). การจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคล. พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์
พิมพ์ดีการพิมพ์ .
อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์. (2553ข). ระบบการบริหารผลงาน. กรุงเทพฯ: เอชอาร์ เซ็นเตอร์.
Warr, P. (1990). The measurement of well-being and other aspects of mental health. Journal
of Occupational Psychology, 63, 193-210.
รัชนี หาญสมสกุล. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมใน การทำงาน ลักษณะงานกับ
ความสุขในการทำงานของบุคลากรพยาบาลประจาสถานพยาบาลสังกัด กรมราชทัณฑ์. [วิทยานิพนธ์พยาบาล
ศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการพยาบาล] . บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
แสงเทียน อยู่เถา. (2560). การบริหารงานเวชระเบียน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
แสงเทียน อยู่เถา. (2556). เวชระเบียน. กรุงเทพฯ: มิสเตอร์ก๊อปปี้ (ประเทศไทย).
Hackman R.J. and Oldham G.R. (1980). Work Redesign. Massachusetts: Addison-Wesley.
Warr P. (2007). Happiness and Unhappiness. New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates.
ประทุมทิพย์ เกตุแก้ว.(2551). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้คุณลักษณะงาน ความสามารถในการเผชิญ และ
ฟันฝ่าอุปสรรคกับความสุขในการทำงานของพยาบาลงานการพยาบาลผ่าตัด:กรณีศึกษาโรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่ง.[วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อภิศฎา แก้วมีศรี .(2556). ความสุขในการทำงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับปฐมภูมิ จังหวัสมุทรปราการ.
[วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเอกบริหารสาธารณสุข].บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหิดล.
เสาวภา จตุทอง . (2556) .พฤติกรรมผู้นาและสภาพแวดล้อมการทำงานที่ส่งผลต่อความสุขในการปฏิบัติงานของพยาบาล
วิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดสุราษฎ์ธานี . [วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขานโยบายสาธารณสุขและการจัดการภาครัฐ].บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล . (2553) . แบบสารวจความสุขด้วยตนเอง : HAPPINOMETER ความสุข
วัดเองก็ได้ . (เอกสารออนไลน์). ค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2562. ค้นจากhttp://cstproject.exteen.com/20100926/entry.
Diener E., Suh M.E., Lucas R.E. and Smith H.L. (1999). Subjective Well-being: Three Decades of Progress.
Psychological Bulletin; 125(2): 276-302.