แนวทางความสำเร็จของโครงการตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดสมุทรสาคร

Main Article Content

เสรี วรพงษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสร้างแนวทางความสำเร็จของโครงการฯ ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดสมุทรสาคร  โดยมีวัตถุประสงค์รองคือเพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมทั่วไปของพื้นที่ตามแผนยุทธศาสตร์ จังหวัดสมุทรสาคร และเพื่อประเมินผลความสำเร็จของโครงการฯ ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา จังหวัดสมุทรสาคร โดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจาก 3 อำเภอ ซึ่งประกอบด้วยอำเภอเมือง อำเภอกระทุ่มแบน และอำเภอบ้านแพ้ว  จำนวน 400 คน และสัมภาษณ์ผู้ดำเนินการโครงการฯ ตามแผนยุทธศาสตร์ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 10 คน


ผลวิจัยพบว่าประชาชนที่ ได้รับประโยชน์จากการดำเนินงานโครงการตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา ทั้ง  6 ด้าน ของจังหวัดสมุทรสาคร ในระดับความสำเร็จด้านคิดเห็นเกี่ยวกับความพึงพอใจต่อแผนการดำเนินงานทั้ง 6 ยุทธศาสตร์ พบว่า ส่วนมากมีความชื่นชอบต่อแผนการดำเนินงานทั้งหมดของยุทธศาสตร์การพัฒนา โดยเมื่อวัดระดับความสำเร็จของการดำเนินการโครงการฯ และประโยชน์ต่อประชาชน อยู่ในระดับมากทั้ง 6 ยุทธศาสตร์ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ3.87 หรือร้อยละ 77.4 ของความพึงพอใจยุทธศาสตร์แต่ละด้านพบว่าพึงพอใจในระดับมากทุกด้าน  ทำให้ผลการวิจัยครั้งแสดงถึงความสำเร็จต่อการแผนการดำเนินการโครงการฯทั้งหมดทุกโครงการ  และความสำเร็จนี้จะนำผลความสำเร็จไปสู่การสร้างแนวทางความสำเร็จของโครงการฯ ได้ปีต่อๆ ไป


            ส่วนด้านแนวทางความสำเร็จของโครงการ ฯ จากการวิจัยพบว่า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียประกอบด้วย ผู้นำชุมชน, ผู้บริหารองค์กรปกครองท้องถิ่น, สมาชิกสภาองค์กรชุมชน, ภาคธุรกิจ/ เอกชน, หน่วยราชการ/ รัฐวิสาหกิจ และ ประชาชน ต่อแผนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาของจังหวัดสมุทรสาคร ทั้ง 6 ด้าน จากการสัมภาษณ์ พบว่า แนวทางความสำเร็จจะต้องถูกดำเนินการจากส่วนกลางตามนโยบายของจังหวัด คือ1) การวางแผน โครงการให้สามารถช่วยเหลือและแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประชาชนได้อย่างเป็นรูปธรรม  2) การนำแผนที่ได้ไปสู่การปฏิบัติอย่างแท้จริงตามแนวนโยบาย เพื่อตอบสนองควมต้องการของประชาชนทุกโครงการ 3) เมื่อดำเนินการแล้วจะต้องมีการตรวจสอบการทำงานทุกขั้นตอนเพื่อความถูกต้อง เป็นธรรม และโปร่งใสในการปฏิบัติงาน   4) สามารถทำให้ประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้ทราบว่าจังหวัดสมุทรสาคร ได้มีโครงการพัฒนาและกิจกรรมของโครงการตามแผนพัฒนายุทธศาสตร์ของจังหวัดด้านใดบ้าง และได้ให้แนวทางการพัฒนาเพิ่มเติมว่า จังหวัดสมุทรสาครควรปรับปรุงแผนการดำเนินการในปีถัดไปให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์กับประชาชนมากยิ่งขึ้น   


            จากการประเมินผลความสำเร็จของโครงการทำให้ผู้วิจัยได้ทราบว่า ผลการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ ทั้ง 6 ด้านของจังหวัดสมุทรสาคร สามารถตอบโจทย์ความต้องการขั้นพื้นฐานของประชาชน ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร ได้อย่างดีมากและเกิดประสิทธิภาพความสำเร็จในด้านการบริหารงานโครงการทั้งหมด ในทุกด้านของการพัฒนาจังหวัด โดยประเมินผลความสำเร็จจากความพอใจของประชาชนและคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนต่อแผนยุทธศาสตร์ และแนวทางความสำเร็จของการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ นี้ จะสามารถนำไปสู่การพัฒนายุทธศาสตร์ในด้านอื่น ๆ ของจังหวัดสมุทรสาครอีกต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาชุมชน. (2538). คู่มือการปฏิบัติงานสำหรับอาสาพัฒนาชุมชน. กรุงเทพ ฯ :
ยูไนเต็ดโปรดักชั่น
กองราชการส่วนตำบล กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2539). ศูนย์ข้อมูลการพัฒนาชนบท.
กรุงเทพมหานคร : อาสารักษาดินแดน.
กานดา พูนลาภทวี. (2539). สถิติเพื่อการวิจัย.กรุงเทพ: ฟิสิกส์เซ็นเตอร์.
จังหวัดสมุทรสาคร. (2560). แผนพัฒนาจังหวัด 5 ปี (พ.ศ.2561-2565 ฉบับทบทวน) สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2562 จาก https://drive.google.com/file/d/18Sx8l_PMLAfRBib5LOSfFQ_ql34ValUG/view
ชนะดา วีระพันธ์. (2555). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบล บ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี. ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ถวัลย์ วรเทพพุฒิพงษ์. (2536). นโยบายสาธารณะและการวางแผน + นโยบายสาธารณะ.

วีรพงษ์ เฉลิมจิรรัตน์. (2539). คุณภาพในงานบริการ (Quality in Service). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:
สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น.
สมวงศ์ พงศ์สถาพร. (2550). เคล็ดไม่ลับการตลาดบริการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ยูบีซีแอล บุ๊คส์.
สมิต สัชณุกร. (2542). การต้อนรับและการบริการที่เป็นเลิศ.กรุงเทพฯ : วัญญูชน.
สารานุกรมเสรี วิกีพีเดีย. (2555). โครงสร้างพื้นฐาน. สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2555
จาก th.wikipedia.org/wiki/โครงสร้างพื้นฐาน.
สำนักบริหารราชการส่วนท้องถิ่น และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและ
Cronbach, L. J. (1984). Essential of psychology testing. New York: Harper.
Easton, David (1965). The Political System. New York : Knopf.
_______. (1965). A framework for political analysis. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.
Good,Carter V. (1973). Dictionary of Education. New York: McGraw-Hill
Hinkle, D.E,William ,W. and Stephen G. J. (1998). Applied Statistics for the Behavior Sciences. (4th ed.). New York : Houghton Mifflin.
Rust, R. T. & Zahorik, A. J. (1993). Customer satisfaction, customer retention, and market share. Journal of Retailing, 69, pp.193-215.