การศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลต่อการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนานักศึกษา

Main Article Content

จุฬารักษ์ เครือจันทร์
เพชรัต คุณาพันธ์
สืบพงษ์ วงศ์ภิรมย์
อัมวะรินทร์ ประทุมสิทธิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลต่อการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนานักศึกษา ในด้านกีฬา ด้านศิลปวัฒนธรรม ด้านวิชาการ และด้านบำเพ็ญประโยชน์ (2) เปรียบเทียบความคิดเห็นรายด้านของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลต่อการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนานักศึกษา (3) หาแนวทางในการพัฒนากิจกรรมพัฒนานักศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดลให้เหมาะสมกับความถนัดและความสนใจของนักศึกษา โดยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่นักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล ที่กำลังศึกษาอยู่ระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1- 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวนทั้งสิ้น 392 คน จาก 23 ส่วนงาน ได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย โดยคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างตามสูตรของ Yamane (1973, p. 52) ที่ว่าความน่าจะเป็นของความผิดพลาดที่ยอมให้เกิดได้ เท่ากับ 0.05 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ ตามแบบของ (Likert. 1932, pp. 42-48).


            ผลการวิจัย พบว่า 1) นักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลมีความคิดเห็นต่อการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนานักศึกษาในแต่ละด้านอยู่ในระดับมาก 2) นักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลเพศชายและเพศหญิง มีความคิดเห็นต่อการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนานักศึกษาในภาพรวมและรายด้านที่ไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ .05 3) นักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลที่มีหลักสูตรที่ศึกษาแตกต่างกันจะมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนานักศึกษาในภาพรวมและรายด้านที่ไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ .05  4) นักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลที่ศึกษาในชั้นปีที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนานักศึกษาในแต่ละด้านที่ไม่แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญ .05 5) นักศึกษามีความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาใน 4 ด้าน ที่พบว่าความถี่สูงสุด คือให้เพิ่มจำนวนกิจกรรมมากขึ้นและมีรูปแบบที่หลากหลาย ควรมีการประชาสัมพันธ์กิจกรรมอย่างทั่วถึงหลากหลายช่องทาง โดยด้านบำเพ็ญประโยชน์ ควรจัดกิจกรรมในพื้นที่บริเวณชุมชนโดยรอบที่มหาวิทยาลัยตั้งอยู่ ด้านศิลปวัฒนธรรม ควรมีรูปแบบกิจกรรมที่เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมประจำชาติหรือวัฒนธรรมนานาชาติ ด้านกีฬา เน้นกิจกรรมกีฬาเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และด้านวิชาการ ควรสนับสนุนให้นักศึกษาไปเข้าร่วมกิจกรรมหรือการแข่งขันในเวทีระดับชาติและนานาชาติอย่างต่อเนื่อง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chidthong, P., Kosito, P. (2017). The Role of Teachers in Promoting Learning Skill in the 21st Century for Thai
Graduates. Ganesha Journal, 13(1), 1-11. (in Thai)
พวงพยอม ชิดทอง และปวีณา โฆสิโต. (2560). บทบาทของอาจารย์ในการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับ
บัณฑิตไทย. วารสารพิฆเนศวร์สาร, 13(1), 1-11.

Kaewkong, C. (2018). Factors Affecting to Extra Curriculum Activities Participation of Undergraduate Students
at Kasetsart University, Kamphaeng Saen. Journal of Interdisciplinary Research: Graduate Studies,
7(1), 93-102. (in Thai)
โชติมา แก้วกอง. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมกิจกรรมภายในมหาวิทยาลัยของนิสิตระดับปริญญาตรี
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา, 7(1), 93-101.

Likert, R.A. (1932). Technique for the Measurement of Attitudes. Arch Psychological. 3(1), pp. 42-48.

Ministry of Education. (2002). National Education Act B.E. 2542 as amended (No.2) B.E. 2545and as
amended (No.3) B.E. 2553. Bangkok: Kurusapa Printing Ladphrao. (in Thai)
กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545
และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

Ministry of Tourism and Sports. (2017). National Sports Development Plan 2017-2021 (No.6). (in Thai)
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2564 (ฉบับที่ 6).

Premtaweetanachot, V. (2014). Study Characteristics of Participation in Student Activities and Characteristics
of Volunteer Spirit of Students in University. Veridian E-Journal, 7(3), 819-833 (in Thai)
วลัยทิพย์ เปรมทวีธนโชต. (2557). การศึกษาลักษณะของการมีส่วนร่วมในกิจกรรมนักศึกษากับคุณลักษณะด้านจิตอาสาของ
นิสิตนักศึกษา. วารสาร Veridian E-Journal, 7(3), 819-833.




Ruamjit, S. (2013). Students Opinions towards the Activity Participation in Rambhai Barni Rajabhat University.
Independent Study in M.B.A. (Business Administration). Rambhai Barni Rajabhat University. (in Thai)
ศุภลักษณ์ ร่วมจิตร. (2556). ความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการเข้าร่วมกิจกรรมนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
ภาคนิพนธ์ บธ.ม. (การบริหารธุรกิจ). มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

Seenuansung, A., (2016). Students’ Opinions on Participating in Extra Curriculum Activities at Rajamangala
University of Technology Krungthep. Veridian E-Journal, 9(1), 1053-1065. (in Thai)
อมรเทพ สีนวนสูง (2559). ความคิดเห็นต่อการเข้าร่วมกิจกรรมนักศึกษาของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
ราชมงคลกรุงเทพ. วารสาร Veridian E-Journal สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ, 9(1), 1053-1065.

Yamane, T. (1973). Statistics and introduction analysis. 3rdEd. New York: Harper & Row Publications.