แนวทางการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านเวชระเบียน ของบัณฑิต สาขาวิชาเวชระเบียน คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้จึงมุ่งศึกษาให้เห็นปัญหา อุปสรรค และหาแนวทางการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านเวชระเบียน ของบัณฑิต โดยใช้รูปแบบวิธีการศึกษาแบบผสมผสานทั้งจากแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ เพื่อการพัฒนาการดำเนินการของหลักสูตรต่อไป ซึ่งพบว่า มีระดับปัญหาในการปฏิบัติงานด้านเวชระเบียนจากสมรรถนะงานเวชระเบียนทั้ง 11 ด้าน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีด้านงานเวชระเบียนที่เกี่ยวข้องกับการคัดกรองผู้ป่วยอยู่ในระดับสูงสุด มีความแตกต่างจากด้านอื่นๆ ทั้งหมด รองลงมาคือ ด้านการจัดการเวชระเบียนค้างสรุป, ด้านการบริหารจัดการระบบงานเอกสารของงานเวชระเบียน, ด้านมาตรฐานการปฏิบัติงานเวชระเบียน, ด้านการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดการใบชันสูตรบาดแผล/พลิกศพ, ด้านความรู้ความเข้าใจในงานเวชระเบียน, ด้านความถูกต้องแม่นยำของงานเวชระเบียน, ด้านความสมบูรณ์ของงานด้านเวชระเบียน, ด้านความสมบูรณ์ของเวชระเบียน, ด้านการประสานงานของงาน/หน่วยงานด้านเวชระเบียน, และด้านการบริการงานเวชระเบียนที่ดี ตามลำดับ ส่วนแนวทางการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านเวชระเบียนที่สำคัญคือการส่งเสริมความรู้ด้านการคัดกรองผู้ป่วย, การจัดอบรมขั้นตอนการปฏิบัติงาน, การสร้างแรงจูงใจและแลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็น, การพัฒนาด้านอารมณ์, การพัฒนาจิตบริการ, และการกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงาน
Article Details
- วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาต CC Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) โดยต้องแสดงที่มา/การอ้างอิงจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลงเนื้อหา
- ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารฯ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ (ซึ่งหมายรวมถึง บรรณาธิการ ผู้ทรงคุณวุฒิในกองบรรณาธิการ หรือ บรรณาธิการรับเชิญ) แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ
- กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตัดทอน/ปรับแก้ถ้อยคำบางประการเพื่อความเหมาะสม
References
ไทย).
เพ็ญจันทร์ แสนประสาน และคณะ. (2549). การจัดการทางการพยาบาลสู่การเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สุขุมวิทการ
พิมพ์.
แสงเทียน อยู่เถา. (2560). การบริหารงานเวชระเบียน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธรรญชนก ศรีทิพย์รัตน์. (2558). ภาวะผู้นำกระบวนการในการวางแผน การประสานงานและการดำเนินงาน
ที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานในองค์กร กรณีศึกษา: พนักงานบริษัท เทเลคอม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
จุรีพร บวรผดุงกิตติ. (2542). สภาพปัจจุบัน ปัญหา ความต้องการ และแนวทางการพัฒนาบุคลากร
โรงพยาบาลขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการพัฒนาบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น.
แสงเทียน อยู่เถา. (2555). ปัญหาและแนวทางการพัฒนางานเวชระเบียนและวิชาชีพเวชระเบียนในประเทศ
ไทย. การประชุมวิชาการคณะสังคมศาสตร์ประจำปี 2554. คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล. นครปฐม.
ปรัชญา ชุ่มนาเสียว. (2548). การพัฒนาภาวะผู้นำในองค์กรด้วย E.Q. วารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, 11(1),
131-152.
ปิยะพร มิ่งแนน. 2554. การพัฒนาการบริการของฝ่ายเวชระเบียน:กรณีศึกษากองบังคับการอำนวยการ
โรงพยาบาลตำรวจ. บทนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต.
กลุ่มงานการพยาบาลโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. (2557). แฟ้มไม่ค้าง สร้างรายได้. ปทุมธานี:
โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ.
วรัทพร สิทธิจรูญ. (2554). ภาระงานด้านนิติเวชศาสตร์ของแพทย์ใช้ทุนปีที่ 1 ที่จบจากคณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. นครนายก: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วิไลรัตน์ จตุสุวรรณศรี. (2546). การตรวจสอบความครบถ้วนของการบันทึกข้อมูลในเวชระเบียนศูนย์
วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์, 11(1), 9-11.
พิริยะ ผลพิรุฬห์. (2558). ทำงานไม่ตรงวุฒิ จบมาไม่ตรงสาย. ค้นเมื่อ 30 กันยายน 2559, จาก http://piriya-
pholphirul.blogspot.com/2015/10/blog-post.html
มหาวิทยาลัยมหิดล. (2561). หลักสูตรวิทยาศาตรบัณฑิต สาขาวิชาเวชระเบียน หลักสูตรปรังปรุง พ.ศ. 2561.
คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.
แสงเทียน อยู่เถา. (2556ข). การวัดสมรรถนะงานเวชระเบียนและบุคลากรด้านเวชระเบียนในโรงพยาบาล
ของ.ประเทศไทย. การประชุมวิชาการประจำปี สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ ประจำปี พ.ศ. 2556 วิกฤติหรือโอกาสสำหรับไทย, 21 - 22 กุมภาพันธ์ 2556. คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. นครปฐม: เอเชียรุ่งโรจน์.