ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมจิตอาสา: กรณีศึกษามูลนิธิสุขภาพไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) ศึกษาระดับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมจิตอาสาของ จิตอาสาในมูลนิธิสุขภาพไทย (2) ศึกษาระดับพฤติกรรมจิตอาสาของจิตอาสาในมูลนิธิสุขภาพไทย และ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมจิตอาสาของจิตอาสาในมูลนิธิสุขภาพไทย ประชากร ได้แก่ จิตอาสาในโครงการ “พัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กในสถานสงเคราะห์ด้วยพลังอาสาสมัคร” ที่ใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบบังเอิญ จำนวน 78 คน โดยเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมจิตอาสา
ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยทางสังคมมีความเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมจิตอาสาของจิตอาสาในมูลนิธิสุขภาพไทยระดับสูง (2) ระดับพฤติกรรมจิตอาสาของจิตอาสาในมูลนิธิสุขภาพไทยอยู่ในระดับสูง (3) ความสัมพันธ์ระหว่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมจิตอาสา ได้แก่ การเรียนรู้ด้วยการชี้นำตนเองมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมจิตอาสาในระดับปานกลางในทิศทางเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แรงจูงใจอาสามีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมจิตในอาสาระดับปานกลางในทิศทางเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ปัจจัยทางสังคมได้แก่ เครือข่าย การสนับสนุนจากครอบครัว และการมีตัวแบบด้านจิตอาสามีความสัมพันธ์ในระดับปานกลางในทิศทางเดียวกันกับพฤติกรรมจิตอาสาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การเรียนรู้ด้วยการชี้นำตนเองและเครือข่ายสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมจิตอาสาในมูลนิธิสุขภาพไทยได้ร้อยละ 34.7
Article Details
- วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาต CC Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) โดยต้องแสดงที่มา/การอ้างอิงจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลงเนื้อหา
- ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารฯ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ (ซึ่งหมายรวมถึง บรรณาธิการ ผู้ทรงคุณวุฒิในกองบรรณาธิการ หรือ บรรณาธิการรับเชิญ) แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ
- กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตัดทอน/ปรับแก้ถ้อยคำบางประการเพื่อความเหมาะสม
References
จำกัด.
เขมณัฏฐ์ มิ่งศิริธรรม. 2552. “การเรียนรู้ด้วยการนำตนเองบนเครือข่าย Self-directed Learning On
web-based Learning.” วารสารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น 32(1): 6-13.
เครือข่ายจิตอาสา (Volunteer Spirit Network). 2558. รายงานสถานการณ์งานอาสาสมัครประเทศ
ไทย นโยบายและส่งเสริมงานอาสาสมัครระดับชาติ งานประชุมระดับชาติด้าน
การอาสาสมัครครั้งที่ 1 วันที่ 8 พฤษภาคม 2558 (Online).
http://www.volunteerspirit.org/file/ncv/R8AMe.pdf, 20 กรกฎาคม 2560.
คมนา วัชรธานินท์. 2546. ปัจจัยเชิงเหตุและผลที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมอาสาสมัครพัฒนาของ
นักศึกษามหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคม,
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ชูศักดิ์ เอื้องโชคชัย และคณะ. 2559. “คุณลักษณะการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับเยาวชน
ไทย The Characteristics of Lifelong Learners for Thai Youth.” วารสารครุศาสตร์ 4(44): 63-80.
ณัฐณิชากร ศรีบริบูรณ์. 2550. การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของจิตอาสาของนักเรียนมัธยมศึกษา
ตอนปลายในโรงเรียนสังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์
ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยการศึกษา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดวงเดือน พันธุมนาวิน. 2538. ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรม: การวิจัยและการพัฒนาบุคคล.
กรุงเทพมหานคร: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ธิดาชนก วงค์พิทักษ์. 2556. ปัจจัยจิตสังคมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมจิตอาสาของนิสิตมหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาพัฒนาการ,
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พระไพศาล วิสาโล. 2550. ศาสตร์และศิลป์แห่งการจัดการความดี ศึกษากรณีมูลนิธิพุทธฉือจี้.
กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม และ สังคม สัญจร. 2543. สำนึกไทยที่พึงปรารถนา. กรุงเทพมหานคร:
มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย.
มิชิตา จำปาเทศ รอดสุทธิ. 2550. จิตอาสาคืออะไร. ประชาติธุรกิจ ตอนที่ 38 (online). http:
//www.hs1an.org/index.php?option=com_content&task=view&id=601&Itemid=49,
4 มีนาคม 2560
มูลนิธิสุขภาพไทย. 2559. อาสาสร้างสุขให้เด็กในสถานสงเคราะห์ (Online).
http://www.volunteerspirit.org/?event=, 9 สิงหาคม 2560.
ศุภารัตน์ รัตนมุขย์. 2546. อาสาสมัคร : การพัฒนาตนเองและสังคม (Online).
http://www.volunteerspirit.org/files/volunteer%20and%20human.pdf,
17 มิถุนายน 2560.
สมสุดา ผู้พัฒน์ และ จุฬารัตน์ วัฒนะ. 2544. “อิทธิพลของการอบรวมเลี้ยงดู การไปวัด
การรักษาศีล 5 และการนั่งสมาธิ ต่อความกตัญญูกตเวที.” วารสารเกษตรศาสตร์ (สังคม)
22: 126-138.
สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. 2539. ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2.
กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อรพินทร์ ชูชม และคณะ. 2549. “การวิเคราะห์ปัจจัยทางจิตสังคมที่สัมพันธ์กับจิตสำนึกทางปัญญาและ
คุณภาพชีวิตของเยาวชนไทย.” วารสารพฤติกรรมศาสตร์ 12(1): 15-35.
อนุ เจริญวงศ์ระยับ. 2552. การรับรู้สภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษาและลักษณะส่วนบุคคลที่
เอื้อต่อการเป็นอาสาสมัครอย่างยั่งยืนในนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วิทยานิพนธ์
วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์และการประยุกต์,
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อภิญญา ตันทวีวงศ์ และ ยุทธดนัย สีดาหล้า. 2557. อาสาสมัครในสถานสงเคราะห์พลังยกระดับ
อนาคตประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสุขภาพไทย.
อัปสรสิริ เอี่ยมประชา. 2542. การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเองของ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา
การศึกษา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Barry, P.D. and A.J. Morgan. 1985. Mental Health and Illness. 3rd ed. Philadelphia:
J.B. Lippincott Company.